25 พ.ย. 2564 717 0

เอ็นทีที รายงานผลสำรวจ Global Workplace Report 2021 ระบุนายจ้างและลูกจ้างมีความเห็นต่างเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน

เอ็นทีที รายงานผลสำรวจ Global Workplace Report 2021 ระบุนายจ้างและลูกจ้างมีความเห็นต่างเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน

 


• 79% ขององค์กรเชื่อว่าพนักงานชอบทำงานในสำนักงานมากกว่า แต่จากความคิดเห็นของพนักงานมีเพียง 39% ที่ต้องการทำงานเต็มเวลาในสำนักงาน

• 41% ของซีอีโอ ซึ่งมากกว่าพนักงานปฏิบัติการ มักจะพึงพอใจในเรื่องศักยภาพและประสบการณ์การทำงานของพนักงานมากกว่า 

• 57% ของพนักงานจะตัดสินใจเลือกนายจ้างที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างทำงานและชีวิตส่วนตัว



บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.,) ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจระดับโลก เอ็นทีที ได้เผยแพร่รายงาน Global Workplace Report ฉบับปี 2021 ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานในอนาคต ในขณะที่ธุรกิจทั่วโลกเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นจริงหลังเกิดโรคระบาดโควิด-19 โดยในรายงานพบว่าผู้นำธุรกิจมีความพึงพอใจอย่างมากในการปรับวิธีให้เข้ากับบรรทัดฐานการทำงานรูปแบบใหม่ และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการให้ข้อมูลเชิงลึกขององค์กรที่ชัดเจนขึ้นว่าพนักงานได้ประเมินสิ่งที่พวกเขาต้องการจากที่ทำงานของตนอย่างไรบ้าง

การรับรู้ร่วมกันในมุมมองที่แตกต่าง

จากการสำรวจ 1,146 ความคิดเห็น ใน 23 ประเทศ เอ็นทีทีพบว่าความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการทำงานจากนอกสำนักงาน (Remote Working) ก่อให้เกิดปัญหา โดย 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ามีความท้าทายต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรอย่างมาก และ 81% บอกว่าเป็นความท้าทายการทำงานของพนักงาน และอีก 63% ของผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล (CHROs)  บอกว่าสวัสดิภาพของพนักงานนั้นแย่ลงตลอดช่วงการระบาดครั้งใหญ่นี้

อย่างไรก็ตามจากประเด็นดังกล่าวไม่ได้แปลว่าการประเมินความสามารถขององค์กรจะเป็นจริงเสมอไปเมื่อเทียบกับพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ โดยซีอีโอมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าองค์กรของตนมีประสิทธิภาพมากในการจัดการชั่วโมงทำงานถึง 20% และเชื่อว่าสามารถกระตุ้นภาวะหมดไฟในการทำงานได้มากกว่าปกติถึง 28% และมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจต่อศักยภาพด้านประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience : EX) ในองค์กรมากกว่า 41%

ช่องว่างของการรับรู้เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการขาดความมั่นใจอย่างร้ายแรงของพนักงาน โดยมีเพียง 38% ที่บอกว่านายจ้างให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างเต็มที่ และมีเพียง 23% เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขามีความสุขมากที่ได้ทำงานให้นายจ้าง


 


การประเมินชีวิตการทำงานครั้งใหญ่

จากช่องว่างความพึงพอใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในงานวิจัยพบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อความชอบในการทำงานในอนาคตของพวกเขามีความหลากหลายอย่างมาก จากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน (Voice of the Employee : VoE) แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเสนอทางเลือกในการทำงานที่บ้าน หรือการทำงานแบบไฮบริด หรือทำงานในสำนักงาน ซึ่งพนักงานต่างเลือกที่จะแบ่งรูปแบบการทำงานอย่างเท่าเทียมกันอยู่ที่ 30%, 30% และ 39% ตามลำดับ

การสำรวจครั้งนี้พบว่ามีความเชื่อที่ขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างและพนักงาน ซึ่งจากรายงานความคิดเห็นขององค์กรระบุว่ามีถึง 79% ที่พนักงานชอบทำงานในสำนักงาน แต่เมื่อผลสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน VoE ออกมา กลับพบว่ามีพนักงานเพียง 39% ที่ต้องการทำงานเต็มเวลาในสำนักงาน


อเล็กซ์ เบนเน็ตต์ รองประธานอาวุโสระดับโลกฝ่าย GTM Solutions ของ NTT Ltd. กล่าวว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องของการทำงานจากนอกสำนักงานแบบ remote working แต่ความเป็นจริงแล้วความต้องการของพนักงานนั้นซับซ้อนมากกว่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความพึงพอใจเพียงเล็กน้อย เราพบว่าความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและเวลาในการเดินทางเป็นสองปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้คนพิจารณาต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกทำงานที่ไหน ดังนั้นการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ด้านกำลังคนและสถานที่ทำงานซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างแท้จริง



จำเป็นต้องมีผู้นำที่เป็นแบบอย่าง

การดำเนินการบนพื้นฐานของมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มของพนักงานจะทำให้ยากขึ้นเนื่องจากขาดข้อมูลและการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียด ในแง่ของลำดับความสำคัญของข้อมูลมี 52% ของธุรกิจรายงานว่า VoE เป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจเป็นหลัก รองจากการวิเคราะห์ข้อมูลในที่ทำงานอยู่ที่ 54% อย่างไรก็ตามมีองค์กรเพียง 39% เท่านั้นที่มีโครงสร้างโปรแกรม VoE และ 37% ใช้การวิเคราะห์ความรู้สึกแบบเรียลไทม์ โดยเทียบกับการใช้แบบสำรวจพนักงานอยู่ที่ 54% 




ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลประเภทนี้เพื่อปรับปรุง EX ขององค์กรที่จำเป็นต้องมองไปไกลกว่าการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในแต่ละวันอยู่ที่ 40% โดยวัตถุประสงค์และค่านิยมของบริษัทเป็นปัจจัยสำคัญอันดับสามในการเลือกสถานที่ทำงาน ซึ่งความเห็นของพนักงานและผู้นำธุรกิจมีความสอดคล้องกัน โดย 89% เห็นด้วยว่าวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) เป็นหัวใจสำคัญขององค์กร

ผมมองว่านี่เป็นการเรียกร้องให้เปลี่ยนความคิดของเรา ซึ่งสิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องของการปรับปรุงสถานที่ทำงาน แต่ให้เราคำนึงถึงว่ามันมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อพนักงานอย่างไรบ้าง น่าแปลกที่ 2 ใน 3 ของพนักงานกล่าวว่าพวกเขายังไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำงานจากที่บ้าน และมีเพียง 55% ขององค์กรกล่าวว่าพวกเขาพอใจอย่างยิ่งที่มีพื้นที่สำนักงานพร้อมสำหรับการทำงานแบบผสมผสาน อย่างไรก็ตาม 82% ขององค์กรต่างมีส่วนร่วมในการปรับโฉมพื้นที่สำนักงานของพวกเขาในช่วง 12 เดือนข้างหน้านี้เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมและการเชื่อมต่อทางโซเชียล เห็นได้ชัดว่ามีความตระหนักในระดับหนึ่งว่ากลยุทธ์ในการเลือกบุคลากรที่ไม่เหมาะสมจะนำไปสู่ความไม่พอใจของพนักงาน และงานนั้นควรจะถูกทำโดยผู้ที่ต้องการจริงๆ” เบนเน็ตต์ กล่าวสรุป