4 ส.ค. 2564 972 4

AIS 5G ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric - TKK ทีเคเค เปิดเทคโนโลยี e-F@ctory บนศักยภาพ 5G ครั้งแรกของไทย

AIS 5G ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric - TKK ทีเคเค เปิดเทคโนโลยี e-F@ctory บนศักยภาพ 5G ครั้งแรกของไทย


ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของการขยายศักยภาพ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรมนอกเหนือจากความแข็งแกร่งของการมีเครือข่ายที่พร้อมใช้งานแล้ว การมีพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเดินหน้าพลิกโฉมการเปลี่ยนแปลงของโรงงานให้มีศักยภาพสอดรับกับโลกยุคใหม่ก็เป็นแนวทางสำคัญที่ AIS ยึดถือมาโดยตลอด โดยเฉพาะความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรในการนำโซลูชั่น Smart Manufacturing ไปใช้งานบนเครือข่าย 5G พัฒนาการทำงานในโรงงาน บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ครั้งนี้ก็เป็นอีกก้าวสำคัญที่เราจะยกเอาต้นแบบที่ได้พัฒนามาตลอดในช่วงที่ผ่านมา สู่การใช้งานจริง ผ่านความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ที่มีความแข็งแรงในด้านสายการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ผู้จำหน่ายสินค้าและดำเนินการใช้งานระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงานชั้นนำ ที่จะมาร่วมกันนำเสนอโซลูชั่น e-F@ctory ที่พร้อมให้บริการและยกระดับภาคการผลิตด้วย Smart Manufacturing ที่ใช้งานจริงบนเครือข่าย AIS 5G ที่จะมาเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในภาคการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และตอบรับความต้องการการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ความเร็ว ลดความหน่วง เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ”
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถให้กับภาคอุตสาหกรรมบนโครงข่าย 5G ที่มีศักยภาพดีที่สุดในประเทศไทย ผสมผสานกับความเป็นผู้นำด้าน Factory Automation ของ Mitsubishi Electric และความเชี่ยวชาญในการจำหน่ายและดำเนินการใช้งานสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน ของ TKK โดยนอกเหนือจากโซลูชั่น Factory Automation ที่เป็นพื้นฐานแล้ว โซลูชั่นที่ตอบสนองการทำงานที่แตกต่าง และเหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 ที่การทำงานแบบระยะไกลมีความสำคัญมากขึ้น ก็ต้องการ Network 5G ที่เป็น Network ไร้สายที่มีศักยภาพและมีความเสถียร อาทิ
Remote Monitoring – จะช่วยให้ ผู้บริหาร, หัวหน้างาน หรือ ผู้ดูแลเครื่องจักร สามารถตรวจสอบสถานะการผลิต สถานะเครื่องหรือ ประสิทธิภาพการผลิต ได้จากทุกที่ ทำให้สามารถบริหารจัดการการผลิตในภาพรวมได้ชัดเจน และยังมองเห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อแก้ไขต่อไป

Remote Maintenance – สามารถลดระยะเวลาการเข้าหน้างานไปซ่อมบำรุงรักษา หรือตรวจสอบการทำงานเครื่องจักร และสามารถทำงานจากที่บ้านได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาส ที่สายการผลิตจะต้องหยุดลง

Remote Development – จะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในโรงงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และจากที่ไหนก็ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างแผนก

Remote Service – บริการให้คำปรึกษาแบบทางไกลได้ทันทีผ่าน Mobile Network จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ Mitsubishi และ Partners เมื่อเครื่องจักรมีปัญหาสามารถ เข้าแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้จากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว
วิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายต่อไปอีกว่า “ประเทศไทยนับว่าเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกมาอย่างยาวนาน ทำให้วันนี้ถึงเวลาที่ต้องนำเทคโนโลยีโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อรักษาตำแหน่งนี้ไว้ สำหรับ Mitsubishi Electric เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยวันนี้เราร่วมพัฒนาโซลูชั่น และนำไปใช้งานจริงแล้วมากกว่า 10,000 โซลูชั่นทั่วโลก ซึ่งเราเรียกว่า e-F@ctory และความร่วมมือครั้งนี้ก็ทำให้การใช้งานจริงเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรม เชื่อมต่อข้อมูลทุกระดับด้วยอุปกรณ์ IoT ทั้งหมด ทำให้เกิดประโยชน์กับการทำงานในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพโรงงานและสนับสนุนระบบการผลิตในอนาคตทั้งกระบวนการผลิต”
กัลยาณี คงสมจิตร ประธานบริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า “จากความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเป็นผู้นำด้านผู้จัดจำหน่ายสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงานและประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมอย่างยาวนาน ผนวกกับความร่วมมือของ AIS และ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ในครั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบมอบโซลูชั่นให้กับโรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความพร้อมของเราและพันธมิตรโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ายกระดับการทำงาน เข้าใจปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง”
ธนพงษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า “ความมุ่งมั่น ตั้งใจของเราและพันธมิตรในครั้งนี้ ต้องการสร้างความร่วมมือแบบ End-to-End เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรม และตอกย้ำเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกต่อไป ด้วยความโดดเด่นของการนำเทคโนโลยี ระบบการทำงาน และโครงข่ายอัจฉริยะเข้ามาเสริมศักยภาพการทำงาน ที่ไม่ใช่เพียงแค่ต้นแบบของการพัฒนาแต่วันนี้เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถทัดเทียมกับโรงงานภาคการผลิตชั้นนำด้วยโซลูชั่น สินค้า และบริการที่ใช้งานได้จริง ”
สำหรับภาคการผลิต หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียกการให้บริการได้ที่ https://business.ais.co.th/
จากการสอบถามข้อมูลจาก adslthailand พบว่า ซอฟต์แวร์ระบบการควบคุมโดย e-F@ctory Alliance เป็นโซลูชั่น IoT ต่างๆ ประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ของ Mitsubishi Electric และเหล่าพันธมิตร ช่วยเติมเต็มศักยภาพของโซลูชั่น FA Remote ครอบคลุมการทำงานทุกด้านในอุตสาหกรรม ตั้งแต่การตรวจสอบ, การบำรุงรักษา, การบริการ และการพัฒนาระยะไกล โดยระบบทั้งหมดจะทำงานร่วมกันและเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง Cloud Computing ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ทั้งหมด 5 ตัว ได้แก่

GENESIS64 เป็นซอฟต์แวร์รวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถควบคุม KPI แบบรวมศูนย์

FACTORIUM เป็นแอปพลิเคชัน CMMS ของ Partner ในการสร้างระบบสนับสนุนกิจกรรมงานซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงานด้วยคอมพิวเตอร์

GOT Mobile เป็นซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบระยะไกลถึงสถานะของเครื่องจักร หรือสายการผลิตได้แบบ Real-time ผ่าน Smart Device โดยข้อมูลจะเชื่อมต่อกับ HMI รุ่น GOT2000

GX Works3 เป็นซอฟต์แวร์การบำรุงรักษาระยะไกลของอุปกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่การทำงาน ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ Industrial Remote Access Gateway ของ HMS และ MELSEC iQ-R รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
Remote Expert ระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสามารถตอบโต้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นได้ทันที

ส่วน คุณสมบัติของโซลูชั่น FA Remote ดังต่อไปนี้
- การยืนยันสถานะไลน์การผลิตแบบ Real-time
- มองเห็นสถานะการทำงานและคุณภาพของโรงงานได้ตลอดเวลา ทุกที่
- ตรวจจับปัญญหาได้แบบ Real-time รวมถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า
- ตรวจสอบ KPI ของโรงงานได้ทุก Site ของเครือข่ายการผลิต
- รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสายเชื่อมต่อและอุปกรณ์ในพื้นที่การผลิต

ทางมิตซูบิชิเชื่อมทุกระบบในโรงงาน ให้กลายเป็น Ecosystem e-F@ctoryAutomation เชื่อม AIS 5G รองรับเครือข่ายเฉพาะ 5G Private Network ย่าน 700 MHz 2600 MHz 2.6GHz เลือกคลื่นได้ตามความต้องการของอุปกรณ์ ตามปริมาณลูกค้าที่ต้องการใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตสูง เพื่อเชื่อมต่อทุก ioT ตามต่อการ

ปัญหาของอุตสหกรรมไทยต้องเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มต้นตั้งแต่การสร้างคนให้มีความรู้ให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีทางดิจิตอลให้ได้ ขีดความสามารถในแต่ละแห่งคือ
1. คน ต้องเพิ่มทักษะแรงงานเพิ่มมากขึ้น
2. เครื่องจักร
3. ระบบ การเชื่อมต่อ 5G
4. เงินทุน เรื่องเงินเป็นเรื่องที่สำคัญโดยต้องเสนอโครงการให้เป็นโครงการตามขั้นตอน ให้เหมาะสมกับงาน