22 ก.ค. 2564 3,620 4

AIS Academy เดินหน้ายกระดับภาคการศึกษาไทย ครบทั้ง Ecosystem จับมือ ก.ศึกษาธิการ พร้อมบุคลากรชั้นนำของประเทศ เปิดตัวโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND” เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย ในยุคดิจิทัล

AIS Academy เดินหน้ายกระดับภาคการศึกษาไทย ครบทั้ง Ecosystem จับมือ ก.ศึกษาธิการ พร้อมบุคลากรชั้นนำของประเทศ เปิดตัวโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND” เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย ในยุคดิจิทัล

ภายใต้บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ทุกภาคส่วนต้องพร้อมตั้งรับเพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาคธุรกิจเองนอกเหนือจากการต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคแล้ว การจัดเตรียมกำลังพลในแง่ของทรัพยากรบุคคลก็เป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ที่องค์กรควรนึกถึงเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ AIS Academy ลุกขึ้นมามีบทบาทต่อภาคการศึกษาไทยอีกครั้งด้วยการมองไปที่บุคลากรต้นน้ำของระบบการศึกษาอย่างวิชาชีพครู จึงจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และบุคลากรวงการศึกษาชั้นนำของประเทศ เพื่อเชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย พัฒนาหลักสูตรต่อยอดทักษะการออกแบบสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดรับกับการศึกษาในยุคดิจิทัลแบบครบวงจรตั้งแต่ การวางโครงสร้างหลักสูตร เครื่องมือสื่อการสอน และการวัดประเมินผลผู้เรียน ในโครงการ THE EDUCATORS THAILAND



           



โดยโครงการ “
THE EDUCATORS THAILAND” นับเป็นครั้งแรกที่ได้เปิดเวทีให้บุคลากรด้านการศึกษากว่า 1,000 คน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น นักการศึกษา, ครูผู้สอน, บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกสอน มาเข้าร่วม Un Learn และ Re Learn ทักษะการสอน ผ่านหลักสูตรที่ถูกออกแบบและพัฒนาโดย AIS Academy ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรชั้นนำในวงการ ที่มีเนื้อหาในการพัฒนาทักษะ การสร้างนวัตกรรมการสอน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษายุคใหม่ให้สอดคล้องกับการบ่มเพาะนักเรียนยุค LFH ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของบุคลากรที่ร่วมสร้างประเทศในอนาคต จนท้ายที่สุดจะได้มาซึ่งผลงานจากผู้เข้าร่วมโครงการในลักษณะต้นแบบของสื่อการสอนที่จะสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต



ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของคุรุสภาคือการเป็นองค์กรที่มุ่งสนับสนุน พัฒนาวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีศักยภาพเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้คุณภาพของการศึกษาไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำให้แนวทางดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลได้นั้นต้องเกิดจากความตั้งใจและความร่วมมือของหลายภาคส่วนทั้งรัฐ และเอกชน อย่างการทำงานร่วมกับ AIS ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำเอาเทคโนโลยีรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านดิจิทัลมาเสริมทักษะให้กับบุคลากรทางการศึกษา ในยุคที่เราทุกคน และครูทุกคน ไม่ว่าจะรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือรวมถึงสื่อการสอนแบบใหม่ๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนตอบโจทย์และช่วยพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ในหลายเรื่องทั้งการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการสอนให้มีคุณภาพภายใต้สถานการณ์ปัจุบัน”


สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวถึงที่มาของโครงการ THE EDUCATORS THAILAND ว่า “AIS มองเห็นผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ COVID-19 ไม่ใช้แค่ในมุมของเศรษฐกิจ สังคม แต่ภาคการศึกษาก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ห้องเรียนถูกปรับมาเป็นแบบออนไลน์เกือบ 100% ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปรับตัวเข้ามาเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแน่นอนว่า ความไม่คุ้นชินกับชีวิตวิถีใหม่ย่อมส่งผลให้ต้องมีการปรับตัว ดังนั้น AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นนำเอาศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลไปยกระดับการทำงานของภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น จึงตั้งใจที่จะเข้ามาร่วมเชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย สนับสนุนภาคการศึกษา ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการบ่มเพาะ “คน” ที่จะเป็นพลังของสังคมต่อไป”  


“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราเชื่อว่า ท่ามกลางบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปในทุกด้าน บุคลากรจะต้องมีการพัฒนาทักษะ เสริมองค์ความรู้ ติดอาวุธใหม่ตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง AIS Academy เพื่อเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมองค์ความรู้ทั้งเพื่อภายในองค์กรเอไอเอส จนถึงร่วมคิดเผื่อให้แก่ประเทศไทยด้วยผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับภาคการศึกษาของไทยให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยศักยภาพของดิจิทัลเทคโนโลยี ดังเช่นโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND"


กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และ กลุ่มอินทัช กล่าวเสริมว่า ภารกิจคิดเผื่อ เพื่อคนไทย ของ AIS Academy ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการยกระดับการเรียนรู้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ วันนี้บริบทภาคการศึกษามีการปรับเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก การจะพัฒนาระบบต้องเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคน เวที THE EDUCATORS THAILAND จึงเกิดขึ้น ด้วยความตั้งใจของเราคือการนำเอาทักษะ องค์ความรู้ใหม่ๆ รวมถึงศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล เทคโนโลยี เข้ามาช่วยผลักดันตามแนวทางที่ AIS Academy เดินหน้าเรื่อง EdTech มาตลอด เพื่อช่วยพัฒนาให้เหล่าบุคลากรทางการศึกษา ครูอาจารย์ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมสร้างความแข็งแกร่งและนำศักยภาพการศึกษาโดยการพัฒนาวิธีการสอน และเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานสื่อการสอน ภายใต้แนวคิด มากกว่าความเป็น...ครูผู้สอน นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต


โดยเราได้ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศพัฒนาหลักสูตรผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์บนแพลตฟอร์ม LearnDi พร้อมกิจกรรมกระบวนการพัฒนาผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ Professional Learning Community (PLC) ทั้งภาคทฤษฏีและเรียนรู้จากประสบการณ์ผ่านกิจกรรมออนไลน์ THE EDUCATORS THAILAND จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะปลุกพลังของภาคการศึกษา บุคลากร และครูไทย ที่จะมาร่วมเปลี่ยนหน้าตากระบวนทัศน์การศึกษาในยุคดิจิทัลให้มีความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด โดย AIS จะเดินหน้าใช้ความแข็งแกร่งของเราที่จะ เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย ไปพร้อมกับคนไทย


THE EDUCATORS THAILAND

“มากกว่าความเป็น...ครูผู้สอน นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต”

 

เนื้อหาหลักสูตร


หลักสูตรของโครงการ THE EDUCATORS THAILAND ได้ถูกออกแบบและพัฒนาโดย AIS Academy ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรชั้นนำในวงการ ที่มีเนื้อหาในการพัฒนาทักษะ การสร้างนวัตกรรมการสอน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษายุคใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาภาคทฤษฎีทั้งหมด 5 หลักสูตร ได้แก่


1.        ภูมิทัศน์ของการเรียนในอนาคต องค์ประกอบของการเรียนออนไลน์ สือการสอนออนไลน์  ระบบ LMS และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน


2.        การวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีการเรียนออนไลน์


3.        กลยุทธ์การสอนออนไลน์ การสอนแบบผู้เรียนอิสระ การสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม  การออกแบบการสอน


4.        การผลิตวิดีโอออนไลน์ สำหรับการศึกษา


5.        การวัดประเมินผลออนไลน์ การวัดความรู้ การวัดทักษะ การวัดทัศนคติ


ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมโครงการ THE EDUCATORS THAILAND เท่านั้น โดยจะได้เรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์บนแพลตฟอร์ม LearnDi  และเมื่อผู้เรียนผ่านการอบรมหลักสูตร  จะได้รับ ใบประกาศนียบัตร และ Digital Credential Badge จาก AIS Academy ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณวุฒิระดับสากล


นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเวิร์คช๊อปการผลิตสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสในการฝึกฝนการผลิตสื่อการสอน และเตรียมความพร้อมในการผลิตผลงานในการแข่งขัน  

  

กำหนดการโครงการฯ


1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2564 ลงทะเบียนรับสมัครออนไลน์ : https://www.aisacademy.com/educatorsthailand


1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2564 ร่วมกิจกรรมออนไลน์ และร่วมเรียนรู้ภาคทฤษฎี "การจัดการเรียนการสอนออนไลน์"


1 – 20 กันยายน 2564 จัดส่งหัวข้อผลงาน และผลงานคลิปวิดีโอ 1 หน่วยการสอน


30 กันยายน 2564 ประกาศรายชื่อ ผู้ผ่านการคัดเลือก รอบที่ 1


20 – 22 ตุลาคม 2564 ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 ร่วมกิจกรรมโครงการฯ ภาคปฏิบัติ "การผลิตวิดีโอสำหรับการสอนออนไลน์"


19 พฤศจิกายน 2564 จัดส่งผลงานคลิปวิดีโอ เพื่อการคัดเลือกรอบชิงชนะเลิศ


6 – 10 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ คัดเลือกผลงานรอบชิงชนะเลิศ


15 ธันวาคม 2564 ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประจำปี 2564


** หมายเหตุ :    กำหนดการ วัน เวลาและสถานที่ อาจมีการเปลี่ยนแปลง และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งแก่


ผู้สมัคร / ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ ณ เฟสบุ๊คกลุ่มโครงการฯ : https://www.facebook.com/groups/educatorsthailand



คุณสมบัติผู้สมัคร หรือ ผู้ส่งผลงาน


1.        เป็นนักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอน ในทุกกลุ่มสาระวิชา และในทุกหน่วยงานการศึกษา อาทิ


-           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)


-           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)


-           สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร (กทม.)


-      กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)


-           สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


-         นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยในประเทศไทย


2.        เป็นนักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอน ที่มีผลงานวิชาการ ด้านสื่อนวัตกรรมการสอนในรูปแบบคลิปวิดีโอ ที่นักเรียนสามารถดูและศึกษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง


3.    มีสถานะเป็น นักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอน ในหน่วยงานการศึกษา, โรงเรียน, วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ณ วันที่สมัคร, วันที่ทำกิจกรรมฯ วันที่ประกาศผล และวันที่รับรางวัล โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND

**ผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน หมายถึง นักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4 - 5 หรือนักศึกษาฝึกสอน

รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงาน


1. ผลงานอยู่ในรูปแบบคลิปวิดีโอ ภายใต้แนวคิด “มากกว่าความเป็น...ครูผู้สอน “นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต”


2. ผลงานที่ส่งต้องแนบเอกสาร “แผนการสอน” หรือ “หลักสูตร” เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ


3. คลิปวิดีโอ โดยผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน ต้องดำเนินการสอนและผลิตด้วยตนเอง และต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ ของบุคคลอื่น รวมถึงต้องไม่มีข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางปัญญาในการเผยแพร่ผลงาน


4. คลิปวิดีโอ : ความยาวรวม Title และ End Credit พร้อมรูปแบบ คณะกรรมการฯ จะแจ้งให้ทราบภายหลังการสมัคร และเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ โครงการฯ


5. ไม่จำกัดรูปแบบและเทคนิคการถ่ายทำ


6. องค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตผลงาน เช่น ผู้สอน ภาพวิดีทัศน์ที่ใช้, ภาพประกอบ, ภาพกราฟฟิก, เพลงและดนตรีประกอบ หรืออื่นๆ ต้องได้รับสิทธิมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และต้องไม่เข้าข่ายการกระทำอื่นใดที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 หากตรวจสอบพบภายหลัง จะถือว่าผลงานดังกล่าว เป็นโมฆะ และจะต้องส่งรางวัลที่ได้รับคืนทั้งหมด ทั้งนี้ โครงการฯและคณะกรรมการโครงการฯ ตลอดจนผู้จัดทำโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ


7. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการฯ ผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน ต้องผลิตผลงานขึ้นเอง โดยมิได้ลอกเลียน ดัดแปลง หรือ ตัดต่อมาจากผลงานของบุคคลอื่นและต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ ของบุคคลอื่น


หลักเกณฑ์ในการตัดสินและการให้คะแนน :


1.    เนื้อหาของผลงานมีความถูกต้องตามหลักสูตร


2.    เทคนิคการนำเสนอ และการออกแบบ

2.1.  ความถูกต้องในการอธิบายเนื้อหา


2.2.  ความน่าสนใจของการนำเสนอ


2.3.  รูปแบบการนำเสนอ


2.4.  การสื่อสารเข้าใจง่าย


2.5.  มีการดำเนินเรื่องที่น่าติดตาม


2.6.  เทคนิคการใช้เครื่องมือในการนำเสนอ


3.    มีความสมบูรณ์ในคุณภาพทั้งภาพและเสียง


4.    ความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตผลงาน                       

 

คณะกรรมการในการตัดสินผลงาน

ผู้ทรงคุณวุฒิจากแวดวงการศึกษาไทย และ AIS Academy โดยรายนามประกอบด้วย


1.         ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์                    อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


2.        ผศ.ดร.เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร         ที่ปรึกษาสำนักงานบริหารโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย


3.        ดร.รังสรรค์ วิบูลอุปถัมภ์              ฝ่ายการศึกษาองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย


4.        รศ.ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ    อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


5.        ดร.เดชานุชิต กตัญญูทวีทิพย์  คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม


6.        ผศ.ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


7.        รศ.ดร.อนิรุทธ์ สติมั่น              อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


8.        ผศ.ดร.รัฐกร คิดการ              คณบดีคณะครุศาสตร์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


9.        รศ.ดร.สุรพล บุญลือ              อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


10.   รศ.ดร. ปณิตา วรรณพิรุณ      หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ รองศาสตราจารย์ประจำ ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


11.   ผศ.ดร.โอภาส เกาไศยาภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


12.   รศ.ดร. ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์                    หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


13.   ผศ.ดร. กอบสุข คงมนัส                   อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


14.   รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร                          รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 


15.   ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์                          ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำนักเทคโนโลยี การศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


16.   อ.กุลเชษฐ์ เล็กประยูร              ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


17.   ดร.สุวิทย์ บึงบัว                นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


18.   ดร.วาเลน ดุลยากร                           ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศ


19.   ดร.ปรง ธาระวานิช              หัวหน้าสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)


20.   ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์              หัวหน้าส่วนงานการจัดการความรู้ด้านเทคนิค บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

 

รางวัล


ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ


-           วุฒิบัตร มอบแก่ผู้ส่งผลงาน  “ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมรับการคัดสรร”   

โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND ประจำปี 2564

ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1


-           ใบประกาศเกียรติคุณ มอบแก่ผู้ส่งผลงาน   

“ผู้นำสื่อนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ระดับประเทศ” 

โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND ประจำปี 2564

ผู้ผ่านการคัดเลือก ได้รับรางวัลชนะเลิศ  จำนวน 10 รางวัล


-     ถ้วยรางวัลเกียรติยศ พระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-ราชกุมารี 


-      ใบประกาศเกียรติคุณ มอบแก่โรงเรียน วิทยาลัย และอาจารย์ที่ปรึกษา


-           “ผู้สนับสนุน ผู้นำสื่อนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ระดับประเทศ”


โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND ประจำปี 2564


-      ใบประกาศเกียรติคุณ มอบแก่ผู้ส่งผลงาน


“รางวัลชนะเลิศ ผู้นำสื่อนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ระดับประเทศ”  โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND ประจำปี 2564


-           AIS Academy มอบระบบห้องสมุดโรงเรียนยุค 4.0 LIBRARY FOR EDUCATION” แก่โรงเรียน  วิทยาลัย