7 พ.ค. 2564 3,430 11

สรุปสัมมนาออนไลน์ แนวทางการใช้คลื่นความถี่ย่าน 6GHz หัวข้อ Opportunities for Wi - Fi in the 6GHz License - exempt band by 6USC

สรุปสัมมนาออนไลน์ แนวทางการใช้คลื่นความถี่ย่าน 6GHz หัวข้อ Opportunities for Wi - Fi in the 6GHz License - exempt band by 6USC

สรุปการบรรยายหัวข้อ "Opportunities for Wi - Fi in the 6GHz License - exempt band by 6USC" โดย วรภัทร ภัทรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด --- จากการสัมมนาออนไลน์ “แนวทางการใช้คลื่นความถี่ย่าน 6GHz” เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 จัดโดย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT)

คุณ วรภัทร ภัทรธรรม เป็นตัวแทนกลุ่มบริษัทที่ร่วมผลักดัน ให้เกิดการอนุญาตคลื่น Unlisensed ย่านความถี่ 5925 - 7125MHz หรือ 6GHz มากกว่า 5 ปี (บริษัท Apple, Broadcom, Cisco, Facebook, Google, Hewlett Packard Enterprise, Microsoft, Intel, Qualcomm)


ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน Wi-Fi Alliance ได้มีการประเมินมูลค่าของเศรษฐกิจ 3.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100%

การเพิ่มขึ้นของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัจจัยสำคัญ คือจำนวนผู้ใช้บริการที่มีอัตราเพิ่มขึ้น และอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2018 มี 2.1 พันล้านคน ปี 2023 น่าจะมี 3.1 พันล้านคน มีความต้องการด้านแบนด์วิธสูงขึ้น

เมื่อความต้องการด้านแบนด์วิธสูงขึ้น จึงต้องอัปเกรด Network ก็เลยต้องมี Lisense และ Unlicense อัปเกรด 4G > 5G และ Wi-Fi 5 > Wi-Fi 6 ไฟเบอร์ก็ต้องอัปเกรดกันต่อเนื่อง


IP Traffic จำนวนเพิ่มขึ้น โดยประเภทของ Traffic มากกว่า 50% มาจากอุปกรณ์ Wi-Fi พฤติกรรมมีการดู VDO Streaming VR AR ความถี่ที่เราใช้บน Wi-Fi 2.4GHz และ 5GHz จัดสรรมากว่า 14 ปีแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องขยายความถี่ Wi-Fi ออกไป


อเมริกา จึงมีการขยาย ความถี่ Wi-Fi 5GHz ไปที่ย่าน 5925MHz - 7125MHz เนื่องจากทราฟฟิกสูงขึ้น ก็เลยต้องขยายช่องสัญญาณ ความถี่ขยายเป็น 160MHz และอีกไม่นาน ขยายช่องสัญญาณไปที่ 320MHz ในอนาคต เพื่อรองรับแอปพลิเคชั่นที่ต้องการแบนด์วิธสูงขึ้นเรื่อยๆ 

ความพร้อมของตลาด



คาดการณ์ว่าปี 2021 จะมีอุปกรณ์ Wi-Fi 6E ในตลาดกว่า 316 ล้านเครื่อง มีเร้าเตอร์ Netgear TP-Link Linksys ASUS ได้รับการรับรองมาตรฐานกว่า 14 รุ่น ส่วน Samsung ก็มีการผลิตมือถือรองรับ Wi-Fi 6E เป็นเครื่องแรก MediaTek และ Intel มีการผลิตชิปรองรับการใช้งาน Wi-Fi 6E บนคอมพิวเตอร์ บนสมาร์ทโฟนมีการผลิตชิป เช่น Broadcom ตั้งแต่ปีที่แล้ว (กุมภาพันธ์​ 2020)

Cisco กำลังทำเร้าเตอร์ Wi-Fi 6E น่าจะเสร็จในปีนี้ Intel ทำ Desktop, Notebook Wi-Fi 6E เป็นการ Integrated ไว้ในตัวเลย Qualcomm เพิ่งประกาศ Fast Connect / Mobile Connectivity / Pro series ออก Mobile Chipset บนมือถือ พรินเตอร์ โทรทัศน์ มีการเอา Wi-Fi 6E ใส่เข้าไปในอนาคต

มาตรฐาน Wi-Fi



Wi-Fi มีการกำหนดมาตรฐานหลายสำนัก หลักๆ มี IEEE ก่อนหน้านี้ IEEE a/b/g/n/x ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Wi-Fi 1, 2, 3, 4 จนถึง Wi-Fi 6 คือ 802.11AX อัปเกรดให้เกิดความยุ่งยากน้อยลง ขยายแบนด์วิธ เพิ่มมากขึ้น รองรับ 120MHz แต่จะไม่ได้เป็น Backward Compatibility จึงใส่ชิปเซ็ตตัวรวมเข้าไป ส่วน 802.11be หรือ Wi-Fi 7 รองรับ 30GBps ความถี่ 320MHz รองรับ Backward Compatibility ชิปเซ็ตตัวเดียว รองรับทุกประเภท Wi-Fi น่าจะเสร็จช่วงปี 2023


ในส่วนของ 3GPP เอง 3G, 4G, 5G มี 5G NR ทาง 3GPP สำหรับ US เสร็จแล้ว ยุโรปอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ มีการศึกษา 6GHz Unlicensed แต่ Working Group นี้ยังไม่ได้เริ่มส่วนนี้ ยุโรป มีการกำหนดความถี่ 5925 - 7125MHz อยู่ระหว่างการพิจารณา เสร็จแล้ว รอใช้งาน ส่วน 6GHz Unlicensed ยังไม่ได้เริ่ม และ Wi-Fi Upper Band กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ปัจจุบัน Wi-Fi Alliance และ Wi-FI IEEE พร้อมรองรับมาตรฐานเรียบร้อยแล้ว


หลายประเทศอนุญาตให้ใช้ Wi-Fi Low Power Indoor (LPI) ติด Wi-Fi ในบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล 1.4GHz ในระยะมากกว่า 7 เมตร อีกแบบคือ VLP (Very Low Power) คนใช้มือถือเปิดสัญญาณ Wi-Fi ให้คนอื่นได้ใช้ด้วย โดยใช้สัญญาณมือถือ ไม่รบกวนเครือข่าย

Standard Power (SP) ติดตั้ง AP อยู่ข้างนอก หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดการรบกวนกับกิจการเดิม ในอเมริกา มีตัวจัดการ AFC ในบ้านเรา คือมีตัวติดตั้งนอกอาคาร ขอใบติดตั้งกับ กสทช โดยจะต้องอยู่ในจุดที่ไม่มี SSS อยู่

6GHz ในประเทศต่างๆ

ประเทศไทย มีการจัดสรรคลื่นความถี่ อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป กสทช เปิดโอกาสให้กิจการอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในเวอร์ชั่นเดิม

หลักสำคัญคือต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนจากกิจการเดิม ตัว VLP LPI SP จะใช้ย่าน 6GHz ได้ โดยต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนกับกิจการที่มีอยู่เดิม

ยุโรป ในบางประเทศ จัดสรรคลื่น ให้ใช้ 5925 - 6425MHz ส่วนประเทศที่อนุญาตให้ใช้ทั้ง Band 5925-7125MHz มี สหรัฐ เกาหลีใต้ บราซิล ล่าสุดคือซาอุดิอาราเบีย แต่ละประเทศมีการอนุญาตให้ใช้ Band กับเทคโนโลยีแตกต่างกัน แต่จะต้องไม่รบกวนกับกิจการที่มีอยู่เดิม

ทำไมเราถึงต้องใช้ย่านความถี่นี้



ทั่วโลกจะใช้ Wi-Fi ความถี่นี้ ตอนนี้จะมาทาง 5925 - 7125MHz ใช้กันทั่วโลก อุปกรณ์ที่ใช้งานจะมีราคาถูก การใช้งานจะมีราคาถูก ไม่ต้องขออนุญาตความถี่ในการใช้งาน โรงพยาบาล โรงงานใช้ความถี่ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของความถี่

อีกเรื่องคือ Traffic ไม่ไหวแล้ว ก็เลยต้องใช้ความถี่ทั้ง Band เลย ถ้าใช้ 160MHz จะได้ 7 ช่องสัญญาณ บางประเทศได้แค่ 500MHz 2 ช่องสัญญาณ โรงพยาบาลรับผู้ป่วย ใช้ช่องสัญญาณไม่พอ การมี 7 ช่องสัญญาณจึงสำคัญ

เราใช้ความถี่ย่านนี้ได้ทันที ที่กสทช อนุญาต ไม่ต้องรอมติที่ประชุม ไม่ต้องรอมาตรฐาน กสทช อนุมัติปุ๊บ ใช้งานได้ทันทีเลย


เรื่องความถี่ IMT 6GHz ไม่ใช่เรื่องใหม่ คุยกันในระดับภูมิภาค ระดับโลกมา 4 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้จีนเสนอเข้าไป โดย reject กลับมา เพราะหลายประเทศไม่เห็นด้วยกับการใช้ IMT เพราะอาจกระทบกิจการที่มีอยู่เดิม ก็เลยมีการศึกษา 100MHz ย่าน 7025 - 7125MHz

WRC-19 ปฏิเสธ IMT 6GHz เอาจริงๆ อาหรับ ไม่ได้เห็นด้วย แต่กลุ่ม แอฟริกา อยากใช้ ก็เลยพยายามแบ่งตามภูมิภาค เหลือ 100MHz ศึกษาในปี 2023 ใช้งานได้ในปี 2024

การสร้างสมดุลสำคัญ ไม่ใช่แค่ 6GHz แต่เป็นการสร้างสมดุลในส่วนของ Mid-Band ประเทศไทยใช้ 5G ครบทุก Band Hi - Mid - Low Band