9 ก.พ. 2564 512 0

บทบาทของผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนทิศทางอนาคตขององค์กรในภาวะวิกฤติที่มีเดิมพันสูง

บทบาทของผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนทิศทางอนาคตขององค์กรในภาวะวิกฤติที่มีเดิมพันสูง

คาร์ล เฮาส์ดอร์ฟ หัวหน้าฝ่ายประสบการณ์ลูกค้า การขายเชิงให้คำปรึกษาด้านข้อมูล การขายผลิตภัณฑ์ ประจำภาคพื้นยุโรปของฟูจิตสึ

กระแสความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือดิสรัปชั่น (Disruption) ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ส่งผลให้หลายๆ องค์กรถือโอกาสปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่าง รวมทั้งกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจในอนาคต  สำหรับปีใหม่นี้ เราจะมาสำรวจตรวจสอบภาพรวมเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (COO) จะต้องเผชิญ

ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างจริงจังในช่วงล็อคดาวน์ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ  สถานการณ์เช่นนี้นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญ แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมาก  ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงต้องดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หรือการขยายฐานลูกค้า  แต่ถ้าหากองค์กรดำเนินการผิดพลาด ก็อาจเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้ต่อคู่แข่ง และสูญเสียส่วนแบ่งในตลาด จึงนับเป็นเดิมพันที่สูงมาก

โอกาสในการผนวกรวมระบบการดำเนินงานตามปกติเข้ากับระบบดิจิทัล

ผู้บริหาร COO มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินการที่ว่านี้ เพราะนอกจากจะต้องเสริมสร้างศักยภาพให้แก่องค์กรเพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ยังต้องคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการในอนาคตอีกด้วย เช่น ต้องปรับเปลี่ยนระบบซัพพลายเชนเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาการติดขัดเกิดขึ้นอีกในอนาคต ต้องแก้ไขขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรไม่สามารถตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แม้ว่างานนี้อาจฟังดูยาก แต่ก็นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้บริหาร COO  ทุกวันนี้ กระบวนการทำงานต่างๆ ตั้งแต่ส่วนแบ็คเอ็นด์ (Back-end) ไปจนถึงฟรอนต์เอ็นด์ (Front-end) มีระบบดิจิทัลพื้นฐานรองรับ และวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ขยายขอบเขตความเป็นไปได้ด้วยการเร่งให้มีการปรับใช้บริการคลาวด์อย่างกว้างขวางมากขึ้น  ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้บริหาร COO มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์กรดำเนินการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม และจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIO), ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และทีมงานฝ่ายไอที

โดยจะต้องทำงานอย่างสอดประสานกันเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน เป็นการดำเนินกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีเพื่อรองรับโมเดลธุรกิจขององค์กร  แน่นอนว่าการประสานงานร่วมกันนี้เกิดขึ้นแล้วก่อนที่วิกฤตการณ์โควิด-19 จะทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป  จากผลการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2563 พบว่า 19% ขององค์กรธุรกิจกำลังทำงานร่วมกับฝ่ายปฏิบัติการเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางในการปฏิรูปองค์กร และที่น่าประหลาดใจก็คือ ส่วนที่เหลือ 81% ไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้

ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง

ลองนึกดูว่าการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นควรจะมีลักษณะอย่างไร เช่น ห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ควรจะสั้นลงและมีความคล่องตัวมากขึ้น และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วกว่าเดิม  นอกจากนี้ ควรมีระบบตรวจสอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) รวมไปถึง AI และ IoT  พนักงานที่ทุ่มเทและมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้นจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ  นอกจากนั้น การดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ยั่งยืนมากขึ้นก็ถือเป็นภารกิจที่สำคัญเช่นกัน

นับเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในอนาคตจะอยู่ในภาวะถดถอยหรือไม่ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร องค์กรก็จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลงอยู่เสมอ  ความเปลี่ยนแปลงที่คุณได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้อาจตอบโจทย์ความต้องการในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี เช่น การให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น  เมื่อไม่นานมานี้ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่ซับซ้อนระหว่างการทำงานจากที่บ้านและประสิทธิภาพการทำงาน  นอกจากนี้ ผลการศึกษาอื่นๆ ก็กล่าวถึงประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงเช่นกัน ตัวอย่างเช่น องค์กรธุรกิจ 60% ระบุว่ารูปแบบการทำงานจากที่บ้านของพนักงานขายมีประสิทธิภาพมากกว่าช่องทางการขายแบบเก่า

แต่นอกเหนือจากการทำงานจากที่บ้านแล้ว ยังมีมาตรการอะไรอีกบ้าง แล้วคุณจะวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานในแบบเรียลไทม์ได้หรือไม่ แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่ามีความต้องการซัพพลายเชนหรือบริการของคุณในส่วนใดบ้างที่ต้องได้รับการตอบสนองในทันที  คุณจะสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ต้องใช้แรงงานคนได้หรือไม่ เพื่อให้พนักงานของคุณสามารถทุ่มเทเวลาให้กับงานที่มีประโยชน์มากกว่า  ที่ปรึกษาของ McKinsey & Co ได้เปิดเผยถึงประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิดในภาคธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Healthcare) โดยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 400 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2568  การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

สุดท้ายแล้วก็มาถึงคำถามที่สำคัญ นั่นคือ แล้วเราจะดำเนินการปรับเปลี่ยนที่ว่านี้ได้อย่างไร  เช่นเดียวกับวิกฤตการณ์หลายต่อหลายครั้งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตอนนี้เราต้องเผชิญกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล

โดยเราจะต้องสร้างชุดข้อมูลใหม่ และสำรวจตรวจสอบเทคนิคการสร้างแบบจำลองต่างๆ ภายในเวลาอันรวดเร็ว  เราจะต้องตรวจสอบว่าเรากำลังใช้งานระบบคลาวด์ แอพต่างๆ รวมถึง AI (และอื่นๆ) ได้อย่าชาญฉลาดเพียงพอแล้วหรือยัง  บริษัทที่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างถูกต้องเหมาะสมย่อมจะสามารถพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไกลได้อย่างแน่นอน

ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation)  องค์กรจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างโอกาสทางธุรกิจและช่องทางรายได้ใหม่ๆ  อย่างไรก็ตาม หากไม่มีกรอบโครงสร้างที่เป็นระบบ ก็ไม่อาจเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันได้  ปัญหาท้าทายที่สำคัญในที่นี้ก็คือ จะต้องรวบรวมและบูรณาการข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรและทุกขั้นตอนของห่วงโซ่มูลค่า จึงจะสามารถนำเอาข้อมูลนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง  โครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวสูง นับเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างผลลัพธ์ที่น่าทึ่งของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และ AI

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว องค์กรจำเป็นที่จะต้องทำทรานส์ฟอร์เมชั่นโดยอาศัยข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน (Data-Driven Transformation) โดยฟูจิตสึนำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยน 4 ด้านที่สำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ  แต่ละด้านล้วนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนองค์กร กล่าวคือ คุณไม่สามารถข้ามขั้นตอนที่สำคัญ แล้วคาดหวังว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม เพราะมูลค่าทางธุรกิจเป็นผลลัพธ์โดยตรงที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกและการประยุกต์ใช้งาน Data Science และ AI อย่างถูกต้องเหมาะสม  ในทางกลับกัน ทางเลือกเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์และสถาปัตยกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเช่นกัน

ฟูจิตสึทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อทำทรานส์ฟอร์เมชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราพบว่าองค์กรส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาในช่วงเริ่มต้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าทรัพยากรข้อมูลมีมูลค่าบางอย่างซ่อนอยู่ภายใน เพราะงานที่ต้องทำเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ เช่น การระบุความเชื่อมโยงของข้อมูล การค้นหาวิธีการจัดการข้อมูลในทุกตำแหน่งที่ตั้ง (ข้อมูลที่เก็บไว้ในองค์กร ในระบบคลาวด์ หรือทั้งสองระบบ) การปกป้องข้อมูลที่มีค่าไม่ให้สูญหาย โดยจะต้องดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหมาะสม และการปรับใช้เทคโนโลยี AI และ Data Science เพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกสำหรับธุรกิจนี่คือกรณีที่เกิดขึ้นกับลูกค้าของฟูจิตสึ Akademiska Hus ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของสวีเดน โดย Akademiska Hus ต้องการที่ปรับเปลี่ยนทุกแง่มุมของการดำเนินงานให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัล เพิ้อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น และโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ภายในองค์กร (Private Cloud) ซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่ไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) ได้อย่างง่ายดาย  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังต้องการนำเสนอบริการข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น

ฟูจิตสึได้สร้างโซลูชั่น PRIMEFLEX for VMware Cloud Foundation แบบ plug-and-play ที่ใช้งานได้ทันที โดยปัจจุบันรองรับผู้ใช้ 450 รายในสำนักงาน 16 แห่งโดยใช้ VDI  โซลูชั่นนี้มีราคาถูกลงครึ่งหนึ่ง แต่ให้สมรรถนะและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสองเท่า  ตัวอย่างเช่น Akademiska Hus สามารถลดการใช้พลังงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 400,000 โครนาสวีเดน (ประมาณ 40,000 ยูโร) ภายในหนึ่งปี 

นอกจากนี้ โซลูชั่นดังกล่าวยังรองรับระบบโมบิลิตี้ โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้งาน VDI ที่มีฟีเจอร์ครบถ้วนได้จากสมาร์ทโฟน  ทั้งนี้ สามารถตั้งค่า VDI ใหม่ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่กดปุ่มเดียว รองรับการขยายขนาดของระบบได้ตามต้องการ และสามารถจัดการทรัพยากรได้จากทุกที่ผ่านทางคอนโซลหนึ่งเดียว

ตัวอย่างดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของผู้บริหาร COO  เนื่องจากปีที่แล้วมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ดังนั้นในตอนนี้องค์กรต่างๆ จึงควรรีบเร่งดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งในส่วนของการบูรณาการระบบ การรักษาความปลอดภัย และการผสานรวมข้อมูล โดยโฟกัสหลักอยู่ที่ข้อมูล เพราะข้อมูลจะทำให้องค์กรมีศักยภาพในการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากกรณีของ Akademiska Hus  ถ้านี่คือความเปลี่ยนแปลงที่องค์กรของคุณต้องการ และคุณพร้อมที่จะขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ กรุณาคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Data-Driven Transformation