13 พ.ย. 2563 2,365 381

ผู้ใช้ตะลึง เยอรมันยกเสา 5G คลื่น 2100 MHz ขึ้นฟ้าด้วยโดรน ทำความเร็ว 100Gbps รัศมี 140 กิโลเมตร

ผู้ใช้ตะลึง เยอรมันยกเสา 5G คลื่น 2100 MHz ขึ้นฟ้าด้วยโดรน ทำความเร็ว 100Gbps รัศมี 140 กิโลเมตร



ล่าสุด Technology firm Cambridge Consultants (CC) และ Stratospheric Platforms Limited (SPL) ได้ร่วมมือสร้างเสาอากาศไร้สาย 5G รูปแบบใหม่แถมไร้สายที่ต้องนำไปติดตั้งบนเครื่องบินและโดรน ที่ต้องทำความสูงระดับความสูง 20,000 เมตร สามารถให้บริการ 5G ในรัศมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 กิโลเมตร

น้ำหนักของอุปกรณ์เบาระดับ 120 กิโลเมตร ความกว้างขนาด 3 เมตรตารางเมตร ซึ่งเสาโทรคมนาคมนี้ถือเป็น "เสาอากาศสื่อสารทางอากาศเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก" เหมาะสำหรับโดรน High-Altitude Platforms (HAP) โดยจะออกไปชั้นสตราโตสเฟียร์

ซึ่งน้ำหนักของเสาอากาศนี้บรรทุกขึ้น High-Altitude Platform ใช้ฝูงบินประมาณ 60 เครื่อง ก็สามารถครอบคลุมทั่วประเทศอังกฤษ ให้สัญญาณ 5G ความเร็วสูงสุด 100Gbps ซึ่งเป็นความจุที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้ใช้จำนวนมาก
ที่ผ่านมา SPL ได้ทำการทดสอบดังกล่าวสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนปี 2020 ผ่านโครงข่าย Deutsche Telekom ในรัฐไบเอิร์น หรือในภาษาอังกฤษเรียก บาวาเรีย เป็น 1 ใน 16 รัฐของประเทศเยอรมนี ถือเป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี โดยใช้เครื่องบิน H3Grob 520 ซึ่งเป็นระบบเครื่องบินขับจากระยะไกล (RPAS) มีความสามารถในการทำการบินระดับความสูง 45,000 ฟุต (c. 14 กม.) บนชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ กระจายสัญญาณ 4G (ที่สามารถดัดแปลงเสาสัญญาณนี้ให้กลายเป็น 5G ได้)​ บนพื้นโลก ความถี่ 2100 MHz

ผลการทดสอบระบบ 4G สามารถโทรออกด้วยเสียงได้ผ่านระบบ Voice-over-LTE (VoLTE) สามารถสนทนาทาง VDO Call และการสตรีมวิดีโอได้แสดงบนสมาร์ทโฟนได้ รับส่ง Download สามารถทำความเร็วได้ 70Mbps และความเร็วใน Upload ได้ 23Mbps แบนด์วิดท์สเปกตรัม 10MHz

ข้อมูล   ispreview  screenrant   computerweekly  aerospacetestinginternational  cambridgeindependent  cambridgeconsultantsuk

COMMENTS