8 พ.ย. 2563 2,234 2

ถอดบทสัมภาษณ์ คุณศิริรัตน์ รุ่งเพชรรัตน์ ในรายการ Tech Monday EP.3 ตอน Tech Stack @ Builk จาก Mission to the Moon

ถอดบทสัมภาษณ์ คุณศิริรัตน์ รุ่งเพชรรัตน์ ในรายการ Tech Monday EP.3 ตอน Tech Stack @ Builk จาก Mission to the Moon

รายการ Tech Monday EP.3 ตอน Tech Stack @ Builk จาก Mission to the Moon


ในวงการ Startup คงไม่มีใครไม่รู้จัก Builk (สตาร์ทอัพ วงการธุรกิจก่อสร้างรุ่นแรกๆ ของเมืองไทย) ปกติเราจะรู้จัก Builk ผ่าน คุณไผท ผดุงถิ่น กรรมการผู้บริหารบริษัทบิลค์เอเชีย วันนี้เรามาดูในมุมเทคโนโลยี กับ CTO ของ Builk เราจะมาฟังกันว่า Builk ใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง ภายใต้ Builk One Group ผ่าน CTO สุดน่ารัก ศิริรัตน์ รุ่งเพชรรัตน์ กับมุมมองในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของเธอ

คุณยุ้ย เป็น CTO ของ Builk One Group แนะนำว่าตอนนี้มี 3 ภาคส่วนบริการ คือ 1. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 2. ขายของให้กับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 3. อสังหาฯ โดยคุณยุ้ยดูแลด้านเทคโนโลยีทั้งหมด ตอนนี้มี 5 แอปใหญ่ๆ ซึ่งบุคคลภายนอก ก็เริ่มรู้จักแอปพลิเคชันของเรา โดยรู้จักผ่าน MicroServices based  ซึ่งเราเองจะเน้น ไปยัง MicroServices Software ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ประหยัดกว่า

ยกตัวอย่าง builk.com ใช้บริการตัว Front-End, Back-End ที่เชื่อมต่อบริการต่างๆ เข้ากับ MicroServices based โดย Back-End เลือกใช้ Angular ซึ่งเราถนัดบริการดังกล่าวมากกว่า ซึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือบุคลากร สำหรับการรับสมัครน้องๆ ผู้มีความสามารถ เข้ามาร่วมทีมเยอะ เราไม่ต้องการทำให้เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยในการลดข้อผิดพลาดในการเขียนได้

นอกจากนี้ TypeScript เป็นเหมือน Framework ชนิดหนึ่งของ JavaScript โปรแกรมดังกล่าวมีความยืดหยุ่นสูง โดยบริษัทของเราเองดำเนินการทำธุรกิจแอพพลิเคชั่นในลักษณะ ERP เช่นกัน สิ่งที่สำคัญคือเราจะต้องสร้างป้อมปราการใหญ่ๆ ไว้หลายอัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องโหว่ในการให้บริการ ยังไงก็ต้องพัฒนา Front-End ก็เลยเลือกใช้ภาษาที่ Strong ตั้งแต่ต้นไปเลย

โดย Builk  ทำแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการบริหารต้นทุน โดยทาง Builk เชื่อมกับ POJJAMAN (พจมาน) รวมกันโดยการใช้ MicroServices based ในการเชื่อม ทาง Builk เองเริ่มใช้งานบริการที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Services ซึ่งการนำโปรแกรมขึ้นไปวิ่งบน Cloud Services ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ยิ่งขนาดโปรแกรมใหญ่เท่าไหร่ ก็จะสูญเสียเงินเพิ่มขึ้นเท่านั้น สุดท้ายเราจึงต้องยอมเขียนใหม่ ให้กลายเป็น Refactor

หน้าที่ของ CTO ที่ Builk เป็นการพัฒนาการ Transition จากการที่คุณยุ้ยเคยเป็นโปรแกรมเมอร์มาก่อน โลกไม่ได้กว้างขนาดนั้น แต่การ Transform ต้องใช้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก แต่มันไม่ใช่การ Force ไม่งั้นก็พลาด พัง เละ การเปลี่ยนอะไรสักอย่างต้องทำให้เขาเข้าใจก่อน ความยากของคุณยุ้ยคือปล่อยให้น้องทำ แต่ต้องไว้ใจ เชื่อใจเขา คือการ Build คน ปัจจุบันมีพนักงานของทั้ง Builk One Group ทำ 5 แอป จำนวนทั้งหมด 30-40 คน รวม Tester ด้วย มี PM (Project Management) 4 คน และในอนาคตก็จะมีการแบ่งลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ โดย 1 ทีม Production รวม Dev, Tester, Designer สามารถทำได้ทุกอย่าง (Cross-Function) โดยแบ่งทีมออกเป็น 2 ทีมในการดูแล 1) พัฒนา ERP Enterprise resource planning ซึ่งเป็นตัวพจมาน 2 และ 2) ทีม Software Resources Service ความรู้แน่นมากเลยแยกออกมา ซึ่งดูแล 4 แอปพลิเคชั่นโดยการจัดการให้ Resources อยู่ตรงกลาง แล้วให้ Project Management เป็นคนเลือก ว่าอันไหนมี Values ที่น่า Invest โดยเขาจะเป็นคนดูว่าโปรเจคอะไรที่น่าทำและควรทำ (เน้นเลือกสิ่งที่ Impact กับองค์กรโดยตรง)

การทำงานที่ Builk คุณยุ้ยมองว่าคือการเปลี่ยนแปลง การเติบโต ทั้งด้านเทคโนโลยี และการเติบโตในการทำงาน ทุกอย่างให้บทเรียนในการทำงาน


นอกจากนี้ยังมีอีกผลิตภัณฑ์ คือ YELLO เอาจริงๆ Builk ให้ใช้งานฟรี แล้วมองในเทรนด์การซื้อขาย โดย Yellow คือ services เป็นบริการการขายวัสดุก่อสร้าง ผลปรากฏว่าเราสามารถขายวัสดุก่อสร้างออนไลน์ได้ ตัวต่อมาชื่อว่า JUBILI ตัวนี้เป็นแอปพลิเคชันสามารถให้คนขายวัสดุก่อสร้างใช้งาน โดยใช้งานได้จากธุรกิจอื่นได้เหมือนกัน ไม่ใช่เป็นแค่คนขายของวัสดุก่อสร้างเท่านั้น ตอนนี้ทุกคนเลยใช้ CRM นี้ได้

อีก 2 แอป ตอบโจทย์การขาย Real Estate (อสังหาฯ) โดยออกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า PLOY (พลอย) ซึ่งถือเป็น CRM สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยเราลองตลาดเล็กๆดูก่อน หลังจากที่ขายไปแล้ว เราจึงมี After-Services เพื่อให้เราได้สามารถดูแลลูกบ้านในระยะยาว จึงเกิด Products ที่มีชื่อว่า Kwanjai (ขวัญใจ) โดย Kwanjai เป็นแอปพลิเคชัน สำหรับการแจ้งซ่อมของลูกบ้าน ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาของทุกโครงการ เราจึงออกผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบความเชื่อของเรา โดยทั่วไปเจ้าบ้านเอง ก็ไม่อยากจะโหลด แอป ที่เกี่ยวกับการแจ้งซ่อมเพราะการแจ้งซ่อมไม่ได้แจ้งกันบ่อยๆ แต่เรานำ Application นี้เข้าไปผ่าน LINE เพียงแค่ลูกบ้านแอดไลน์เข้ามาผ่านโครงการ ก็สามารถแจ้งซ่อมได้แล้ว

การจะทำให้ User สักคนโหลดแอปยิ่งยาก ยิ่ง Android ก็ยิ่งยาก เทรนด์ App บน Android และ iOS ต้องปรับแต่งให้แอปใช้แบตได้นานขึ้น ไม่ให้แอปที่ไม่จำเป็นรันบน Backgroud ไม่ให้มี Noti ท่วม เกาะกระแสให้ใช้งานง่ายที่สุด แถมยังต้องเสี่ยงกับการอัปเดต เวอร์ชั่น Android iOS

มี Mobile App ไหม?

ในบรรดา 5 แอป มี Mobile App คือ Kwanjai (ขวัญใจ) ฝั่งลูกบ้านจะเห็นเป็น LINE แต่การแจกงานเป็น Mobile App ให้นิติ หรือผู้ที่ให้บริการ เช่น ช่าง ได้ใช้งาน

การทำ Mobile App ก็เลยต้องหาทางเลือกที่ cross-platform ก็เลยไม่เสี่ยงกับการเลือกภาษาที่เสี่ยง เนื่องจากมีน้องๆ เยอะ เสี่ยงต่อการผิดพลาด

สุดท้ายคุณยุ้ยบอกทิ้งท้ายว่า คนที่สนใจเข้ามาในสายนี้ ตอนนี้ตลาดเฟ้อ แย่งกัน คนไม่พอ เวลาบริษัทสตาร์ทอัพ มองหาคนที่มีประสบการณ์ อยากให้ดูที่ประสบการณ์ ทุกบริษัทคือการเรียนรู้ใหม่ ติดตามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ Ploy JUBILI YELLO พจมาน 2 Kwanjai

บทความนี้ ถอดเทปรายการ Tech Monday EP.3

COMMENTS