21 ก.ย. 2563 1,342 5

รู้จักสตาร์ทอัพจักรยาน ‘สีเขียว’ ที่มอบทางเลือกการสัญจรให้ชาวเมืองเชียงใหม่ผ่านโครงข่ายอัจฉริยะ

รู้จักสตาร์ทอัพจักรยาน ‘สีเขียว’ ที่มอบทางเลือกการสัญจรให้ชาวเมืองเชียงใหม่ผ่านโครงข่ายอัจฉริยะ



ใครที่มีโอกาสไปเยือนตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อไม่นานมานี้ อาจสังเกตเห็นจุดจอดจักรยานสีเขียวสดใสในชื่อ Anywheel กระจายตัวอยู่ตามย่านนิมมานฯ และคูเมืองเก่า จักรยานดังกล่าวเป็นผลงานของสตาร์ทอัพสัญชาติสิงคโปร์ ที่หยิบยก ‘นวัตกรรม’ มาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกการสัญจร

ผู้จัดการทั่วไปวัย 29 ปีแห่ง Anywheel สิงคโปร์ และทีมงานชาวไทยอีก 5 คน เกี่ยวกับเส้นทางธุรกิจและความตั้งใจในการช่วยสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นสมาร์ทซิตี้อย่างแท้จริง




จักรยาน ‘สีเขียว’
บริษัท Anywheel นั้นก่อตั้งโดยคุณเต อ่อง ซีอีโอ และปัจจุบันเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 3 ปี โดยให้บริการใน 3 ประเทศ คือสิงคโปร์ มาเลเชีย และไทย ทางบริษัทต้องการเพิ่มทางเลือกด้านการขนส่งสาธารณะที่สนุก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเข้าถึงง่ายให้กับคนในพื้นที่ ผ่าน ’นวัตกรรม‘ จักรยานที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้ และแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย บริษัท Anywheel ให้การสนับสนุนชุมชนใกล้เคียง โดยเปิดให้พื้นที่ที่ต้องการเข้าร่วมเป็นจุดจอดจักรยาน สามารถทำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาจักรยานที่มีความทนทานและปลอดภัยมาให้บริการ


“เราอยากให้ผู้คนสัญจรไปมายังจุดต่างๆ ของเมืองได้ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือพะวงเรื่องการหาที่จอดรถ โดยเฉพาะในเส้นทางที่ขนส่งมวลชนนั้นไม่ครอบคลุม” คุณซีทเล่า

ทาง Anywheel ตัดสินใจเลือกเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งแรกของประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก อีกทั้งผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับบริการ bike sharing อยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ในช่วงแรก บริษัทได้นำร่องให้บริการในพื้นที่ตัวเมือง โดยปัจจุบันมีจุดจอดจักรยานมากกว่า 150 จุดรอบตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 6,000 คน ต่อวัน นอกจากนี้ ทาง Anywheel ยังมุ่งเน้นให้บริการในพื้นที่สถาบันการศึกษา โดยได้ติดตั้งจุดจอดจักรยานมากกว่า 150 จุด


ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และยังมีแผนจะขยายไปยังสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมอีกด้วย
“เรามุ่งเน้นไปที่พื้นที่มหาวิทยาลัย เพราะเชื่อว่าการสร้างนิสัยรักษ์โลกนั้นควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อย” คุณซีทกล่าว ก่อนจะเสริมว่าอย่างไรก็ดี Anywheel มีเป้าหมายที่จะทำให้คนไทยทุกช่วงวัยรู้จักและหันมาใช้บริการจักรยานสาธารณะกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่ชาวเมืองเชียงใหม่เท่านั้น

ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้คนจำนวนมากหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะและพื้นที่แออัด ส่งผลให้การปั่นจักรยานกลับมาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิด รวมทั้งเป็นอีกทางเลือกการออกกำลังกายในช่วงโควิด-19 โดยในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีนนั้น มีการใช้งานระบบจักรยานสาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ (จากรายงานของสำนักข่าว BBC) ขณะที่ในกรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย จำนวนผู้ใช้จักรยานนั้นเติบโตขึ้นกว่า 500 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงที่มีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ (จากรายงานของ Institute for Transportation and Development Policy) สำหรับเมืองเชียงใหม่นั้น ยอดผู้ใช้งานจักรยานสาธารณะของ Anywheel นั้นเติบโตกว่า 19 เปอร์เซ็นต์ และมียอดใช้งานรายวันเพิ่มขึ้นจาก 1.5 ครั้งต่อวัน เป็น 4 ครั้งต่อวัน ต่อจักรยานหนึ่งคัน นับตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สะท้อนถึงพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในยุคหลังโควิด ชาวเชียงใหม่ รวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาในอนาคต จะยังสนุกกับการขี่จักรยาน และเพลิดเพลินกับบรรยากาศในช่วงเดือนที่เชียงใหม่อากาศดี เราทราบดีว่าเชียงใหม่นั้นประสบกับปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี และเราก็หวังว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว” เขากล่าว เชียงใหม่สมาร์ทซิตี้
เมืองเชียงใหม่ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้นในปี 2562 อันสอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเรื่องการเกษตรอัจฉริยะ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น การใช้พลังงานสะอาด ไปจนถึงการขับเคลื่อนเครือข่ายการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (smart mobility) และการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งเมืองเชียงใหม่นั้นพยายามผลักดันให้มีการใช้จักรยานเพื่อลดมลภาวะ โดยได้มีการลงทุนทั้งในส่วนของเลนจักรยาน การจัดกิจกรรม Car-Free Day ไปจนถึงเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งผู้ให้บริการจักรยานสาธารณะอย่าง Anywheel จะเข้ามาช่วยเติมเต็มวิสัยทัศน์ดังกล่าว


“เราเข้ามาคุยกับทางจังหวัดตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทางจังหวัดเชียงใหม่กำลังเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น ให้คนสามารถลงรถแล้วต่อจักรยาน หรือหากต้องเดินทางไปไกลหน่อยก็อาจจะมีสถานีตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า หรือรถเมล์ไฟฟ้ารองรับ ซึ่งทาง Anywheel เองก็พยายามปรับให้จุดจอดจักรยานของเรานั้นเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนของเมืองเชียงใหม่มากที่สุด” ในการใช้งานจักรยานของ Anywheel ผู้เพียงค้นหาจุดจอดจักรยานที่ใกล้ที่สุดจากแผนที่ในแอปพลิเคชัน และสแกน QR โค้ด เพื่อปลดล็อกจักรยาน ทั้งนี้ บริการของ Anywheel นั้นเริ่มต้นที่ 10 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเหมาจ่ายรายเดือนในราคาเริ่มต้นที่ 200 บาทอีกด้วย นับเป็นทางเลือกการเดินทางที่ย่อมเยาและสะดวกสำหรับตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสถานที่สำคัญต่างๆ นั้นอยู่ห่างกันไม่มาก
“ผู้ใช้งานสามารถดูจุดจอดจักรยานได้จากแอปพลิเคชัน ว่าสถานีที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปกี่เมตร กี่นาที โดยเราคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาทเท่านั้น ผมเชื่อว่าผู้บริโภคไม่ควรต้องจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อซื้อบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” คุณซีทกล่าว



Internet of Everything
ในยุคแห่ง Internet of Things (IoT) นั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลถึงกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์เหล่านี้อาจเป็นได้ตั้งแต่อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันอย่างสมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไปจนถึงยานพาหนะและระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ ทั้งนี้ มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี 2573 ทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประมาณหนึ่งแสนล้านชิ้น หรือเฉลี่ยกว่า 15 ชิ้นต่อคน ซึ่งนอกจากการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว เทคโนโลยี IoT ยังทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างผู้คน กระบวนการและเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อดังกล่าวเพื่อยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภค และมอบบริการที่ตรงจุดยิ่งขึ้น

ในกรณีของ Anywheel นั้น การใช้ IoT SIM ของดีแทคธุรกิจช่วยให้การบริหารจัดการเครือข่ายยานพาหนะเป็นไปอย่างแม่นยำ โดยทีมงานของ Anywheel สามารถตรวจสอบตำแหน่งของจักรยานแบบเรียลไทม์ เก็บสถิติการใช้งานตามพื้นที่และช่วงเวลา ไปจนถึงการคำนวณกิโลเมตรที่ปั่น อันจะเอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งสาธารณะแบบไร้รอยต่อ และนำพาเมืองเชียงใหม่ไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างแท้จริงในที่สุด

“ดีแทคธุรกิจช่วยให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับโซลูชันโทรคมนาคมในประเทศ รวมทั้งการออกแบบแพ็กเกจที่ตอบกับความต้องการของเราในราคาที่เหมาะสม โดยทางทีมดีแทคเข้ามาดูแลเรานับตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบ การทดลองระบบ ไปจนกระทั่งการส่งมอบ IoT SIM ชุดแรก จำนวน 1,000 ชิ้น เพื่อนำไปติดตั้งที่ฐานการผลิต ทำให้เรามั่นใจว่าดีแทคธุรกิจจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีและเติบโตไปพร้อมกับเรา” คุณซีท
กล่าว
ในอนาคต บริษัทจะเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์กับชีวิตในเมืองยิ่งขึ้น และมีแผนจะต่อยอดไปสู่การให้บริการสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการแล้วในสิงคโปร์และมาเลเชีย เพื่อรองรับการเดินทางในระยะที่ไกลขึ้นสำหรับคนไทย



“ดีแทคธุรกิจช่วยให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับโซลูชันโทรคมนาคมในประเทศ รวมทั้งการออกแบบแพ็กเกจที่ตอบกับความต้องการของเราในราคาที่เหมาะสม โดยทางทีมดีแทคเข้ามาดูแลเรานับตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบ การทดลองระบบ ไปจนกระทั่งการส่งมอบ IoT SIM ชุดแรก จำนวน 1,000 ชิ้น เพื่อนำไปติดตั้งที่ฐานการผลิต ทำให้เรามั่นใจว่าดีแทคธุรกิจจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีและเติบโตไปพร้อมกับเรา” คุณซีท กล่าว 

นายธนัท มนัญญภัทร์ ผู้อำนวยการ สายงานการขายและบริหารช่องทางจำหน่าย ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “การใช้ IoT จะทวีบทบาทมากขึ้น รองรับแชร์ริ่งอีโคโนมี โดยใช้ IoT ติดที่อุปกรณ์ ตั้งแต่ รถจักรยาน สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ยานพาหนะ อื่นๆ ที่จะสามารถนำเสนอบริการ “ให้เช่าใช้” ได้ เพื่อสร้างรายได้ใหม่และยืดอายุการใช้งานให้คุ้มค่าสูงสุด สอดรับกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ดีแทคมีส่วนของการให้คำปรึกษาที่จะช่วยดูความเป็นไปได้การลงทุนโครงการ IoT ที่เหมาะสมผ่านพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านส่วนอุปกรณ์การเชื่อมต่อที่หลากหลาย ครอบคลุมการใช้งานทุกภาคอุตสาหกรรม พร้อมผสมผสานเทคโนโลยีของดีแทค Managed IoT cloud platform และการเชื่อมต่อ IoT SIM บนเครือข่าย สี่จี ดีแทคมีแพลทฟอร์มการบริหารอุปกรณ์ IoT ที่มีความปลอดภัยสูง โดยใช้โปรโตคอล MQTTS ที่ใช้แบนด์วิธน้อย และมีการเข้ารหัสข้อมูลด้วย TLS 1.2 จากอุปกรณ์ IoT มายังแพลทฟอร์มของดีแทค”




ดีแทคธุรกิจช่วยให้คำแนะนำเอนี่วีล เกี่ยวกับโซลูชันโทรคมนาคมในประเทศ รวมทั้งการออกแบบแพ็กเกจที่ตอบกับความต้องการในราคาที่เหมาะสม โดยทีมดีแทคช่วยดูแลนับตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบ การทดลองระบบ ไปจนกระทั่งการส่งมอบ IoT SIM ชุดแรก จำนวน 1,000 ชิ้น เพื่อนำไปติดตั้งที่ฐานการผลิต และช่วยเป็นที่ปรึกษาที่ดี สำหรับเอนี่วิล การใช้ IoT SIM ของดีแทคธุรกิจช่วยให้การบริหารจัดการเครือข่ายยานพาหนะเป็นไปอย่างแม่นยำ โดยทีมงานของเอนี่วิล สามารถตรวจสอบตำแหน่งของจักรยานแบบเรียลไทม์ เก็บสถิติการใช้งานตามพื้นที่และช่วงเวลา ไปจนถึงการคำนวณกิโลเมตรที่ปั่น อันจะเอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งสาธารณะแบบไร้รอยต่อ และนำพาเมืองเชียงใหม่ไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างแท้จริงในที่สุด”

ดีแทค คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะเร่งการลงทุน IoT ในองค์กรที่ยังมีสถานะการเงินที่พร้อม การใช้งานโครงการ IoT จะช่วยตอบโจทย์การรักษาระยะห่างทางสังคม และการทำงานจากภายนอกสำนักงานได้เป็นอย่างดี สอดรับกับกระแสวิถีความปกติใหม่หรือนิวนอร์มัลนั่นเอง

ในอนาคต บริษัทจะเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์กับชีวิตในเมืองยิ่งขึ้น และมีแผนจะต่อยอดไปสู่การให้บริการสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการแล้วในสิงคโปร์และมาเลเชีย เพื่อรองรับการเดินทางในระยะที่ไกลขึ้นสำหรับคนไทย

COMMENTS