26 ส.ค. 2563 1,368 5

Microchip เปิดตัว EEPROM แบบอนุกรมที่มีความหนาแน่นสูงสุดด้วยความเร็ว 4 เมกะบิต

Microchip เปิดตัว EEPROM  แบบอนุกรมที่มีความหนาแน่นสูงสุดด้วยความเร็ว 4 เมกะบิต

อุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบพกพา รวมถึงอุปกรณ์ติดตามการเคลื่อนไหว (fitness tracker) เครื่องช่วยฟัง และเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาล รวมถึงระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรม ยานยนต์ และอื่น ๆ มักใช้ชุดข้อมูลเฉพาะของลูกค้าเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น

โดยปกติแล้ว ระบบหรือผู้ใช้งานในขั้นสุดท้ายมักจะปรับชุดข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Nonvolatile data) ได้ครั้งละไม่กี่ไบต์ ไม่ว่าจะเป็นการวัดเทียบ (calibration constants) สภาพของแบ็กกราวด์ (background conditions) ความชื่นชอบของผู้ใช้งาน หรือสภาพของเสียง (noise environment) ที่เปลี่ยนไป Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory (EEPROM หรือ หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่ผู้ใช้สามารถลบและโปรแกรมใหม่) แบบอนุกรม (serial) เป็นหน่วยความจำทางเลือกสำหรับแอปพลิเคชันเหล่านี้

ซึ่งมีข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลง ควบคุมระดับไบต์ได้ ใช้งานง่าย และประหยัดพลังงาน ไมโครชิป เทคโนโลยี อิงก์ (Microchip Technology Inc.) (Nasdaq: MCHP)

จึงประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่มีความหนาแน่นสูงสุด EEPROM-25CSM04 ในวันนี้ ด้วยความเร็ว 4 เมกะบิต EEPROM ใหม่ของ Microchip จะกลายเป็น EEPROM ขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นสองเท่าจากที่ก่อนหน้านี้นักออกแบบซอฟต์แวร์ถูกจำกัดความหนาแน่นอยู่เพียง 2 เมกะบิต ก่อนเปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้วงจรรวม (integrated circuits หรือ ICs) แฟลช NOR ราคาประหยัดสำหรับแอปพลิเคชันของชุดข้อมูลแบบไม่เปลี่ยนแปลงที่ความเร็ว 2 เมกะบิต เนื่องจาก EEPROM มีข้อได้เปรียบด้านประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแฟลช NOR Microchip จึงตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการเปิดตัว EEPROM ความเร็ว 4 Microchip’s 4 Mbit EEPROM Devices 2 - 2 - 2 - 2 เมกะบิตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ข้อดีของ EEPROM ได้แก่ ใช้กระแสไฟในการทำงานปกติ (Standby Current) น้อยกว่า (2 µA เมื่อเทียบกับ 15 µA); สามารถเขียนแบบไบต์เดียว (single-byte write) หลายไบต์ (multi-byte) และแบบเต็มหน้า (full-page) ใช้เวลาสั้นลงในการลบ/เขียนเซกเตอร์ (sector) ซ้ำ (5 มิลลิวินาทีเมื่อเทียบกับ 300 มิลลิวินาที) และลบ/เขียนซ้ำได้หลายรอบมากกว่าเดิม (1M เมื่อเทียบกับ 100K)

“เราผลักดันนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ EEPROM แบบอนุกรมให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ตอนนี้ นักออกแบบซอฟต์แวร์สามารถประเมินระบบของตนได้ใหม่ และใช้เทคโนโลยีใหม่นี้เพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบ” แรนดี ดวิงกา (Randy Drwinga) รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์หน่วยความจำของ Microchip กล่าว

25CSM04 กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์หน่วยความจำแบบไม่เปลี่ยนแปลง (nonvolatile memory) ของ Microchip ซึ่งมีให้เลือกมากมายและรวมอยู่ในโซลูชันระบบทั้งหมดของ Microchip ที่สร้างจากไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller) และไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) 8 บิต 16 บิต และ 32 บิต ตระกูลผลิตภัณฑ์หน่วยความจำอันหลากหลายของ Microchip ประกอบด้วย EEPROM แบบอนุกรม, แฟลช NOR, SRAM และ EERAM ในบัสอนุกรม (serial bus) แบบมาตรฐานทั้งหมดและความหนาแน่นตามมาตรฐานทั้งหมดตั้งแต่ 128 บิตถึง 64 เมกะบิต

ในฐานะผู้ริเริ่มเทคโนโลยี EEPROM แบบอนุกรมมานานกว่า 30 ปี Microchip ผลิตอุปกรณ์ EEPROM ได้ประมาณปีละหนึ่งพันล้านชิ้น เครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ MPLAB Starter Kit ให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์หน่วยความจำแบบอนุกรม (Serial Memory) แก่อุปกรณ์ EEPROM อนุกรม 4 เมกะบิตของ Microchip ชุดเครื่องมือประกอบด้วยบอร์ดอินเทอร์เฟซหน่วยความจำแบบอนุกรมชุดโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับผู้เริ่มใช้งาน EEPROM แบบอนุกรม สาย USB ซีดีที่ประกอบด้วย MPLAB X Integrated Development Environment (IDE หรือเครื่องมือพัฒนาโมเดลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จ)

โมเดลซอฟต์แวร์ Total Endurance™ และเครื่องมืออินเตอร์เฟส EEPROM แบบอนุกรม Microchip’s 4 Mbit EEPROM Devices 3 - 3 - 3 - 3

ราคาและการวางจำหน่าย

อุปกรณ์หน่วยความจำตระกูล 25CSM04 มีให้เลือกสามแพ็คเกจ ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 2.32 ดอลลาร์ในปริมาณ 10,000 หน่วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

กรุณาติดต่อตัวแทนฝ่ายขายของ Microchip ตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับอนุญาต หรือเข้าชมเว็บไซต์ของ Microchip ได้ หากต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงในที่นี้

กรุณาเข้าไปที่พอร์ทัลสำหรับซื้อสินค้าของ Microchip

แหล่งข้อมูล

เข้าใช้ภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ดูแลสื่อ (editorial contact) (พิมพ์ภาพออกมาได้):

ภาพแอปพลิเคชัน (Application):

https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/50252022133/

ภาพผลิตภัณฑ์:

https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/50252691076/

COMMENTS