3 ก.ค. 2563 4,708 102

เผยผลทดสอบทุกเม็ด 4 เราเตอร์ Wi-Fi 6 ยี่ห้อ Extreme, Cisco, EnGenius และ Meraki สัญญาณใครแรงสุด?

เผยผลทดสอบทุกเม็ด 4 เราเตอร์ Wi-Fi 6 ยี่ห้อ Extreme, Cisco, EnGenius และ Meraki สัญญาณใครแรงสุด?



ประโยชน์ของเราเตอร์ไร้สาย Wi-Fi 6 ที่โดดเด่นมากที่สุดคือ ปรับปรุงเรื่องการรับส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้นมากกว่า Wi-Fi 5 โดยเราอยู่กับ 4 แบรนด์ Extreme, Cisco, EnGenius และ Meraki (เจ้าของคือ Cisco) กับการทดสอบ Access Points (AP) เนื่องจากเร้าเตอร์รองรับทั้ง Wi-Fi 5 (802.11ac) และ Wi-Fi 6 (802.11ax) เราก็เลยทดสอบด้วย 2 อุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi 5 และ 2 อุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi 6 และบันทึกค่าเพื่อหาค่าเฉลี่ย throughput และค่า throughput สูงสุด ในช่วง 1 นาทีที่ทำการทดสอบ

ผลการทดสอบสะท้อนประสิทธิภาพที่ทำให้คุณตัดสินใจได้ว่า จะอัพเกรดไปใช้ Wi-Fi 6 หรือเปล่า และ ณ ปัจจุบัน Wi-Fi 5 นั้นมีอุปกรณ์รองรับเยอะแล้ว แต่ในอนาคต อุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi 6 ก็จะมีเยอะขึ้น ดังนั้น การใช้ AP ที่รองรับ Wi-Fi 6 นั้นเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

ก่อนหน้านี้ ทางเว็บไซต์ ได้รีวิว 4 รุ่นนี้ไว้แล้ว คือ Extreme (Aerohive) AP-650, Cisco Catalyst C9115, EnGenius EWS377 และ Meraki MR55

วิธีการทดสอบ

ทางเว็บไซต์ Networkworld ใช้ซอฟต์แวร์ทดสอบประสิทธิภาพ (network-performance software) ชื่อ IxChariot (จาก Ixia ของกลุ่มบริษัท Keysight Technologies) เพื่อรันตรวจสอบค่า throughput บน AP ทั้ง 4 รุ่น โดยใช้ 2 อุปกรณ์ Wi-Fi 5 คือ TP-Link AC600 USB Adapter และมือถือ Galaxy S5 และ 2 อุปกรณ์ Wi-Fi 6 คือ Ubit AX200 PCI Adapter และ Apple iPhone 11

โดยทดสอบผ่านการรันสคริปต์ IxChariot High_Performance_Throughput.scr ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์เครื่องที่ทดสอบ, บนโทรศัพท์มือถือ และบนอุปกรณ์ PCI/USB โดยจำลองเพื่อทดสอบ TCP uplink (จาก wireless client เชื่อมต่อกับ AP ที่ทดสอบ กับคอมพิวเตอร์ PC ที่ทดสอบ) และ TCP downlink (จากเครื่อง PC ที่ทดสอบ ผ่าน AP ไปยัง wireless client) โดย AP แต่ละรุ่นที่ทดสอบ จะมีการเก็บข้อมูลผ่าน Ixia ในแต่ละอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

ในระหว่างการทดสอบ ระยะห่างในการวาง AP กับ wireless test clients จะอยู่ประมาณ 20 ฟุต โดยมีประตูไม้แบบ hollow wooden door ที่เป็นอุปสรรคต่อสัญญาณ (ตามสถานการณ์จริงของการใช้งานในบ้าน) และเปิด WPA2/AES security บน AP รวมไปถึง ตั้งค่าช่องสัญญาณ 5Ghz ที่ 80MHz และกำลังส่ง TX ที่ 17dBm โดย AP จ่ายไฟด้วย Gigabit 802.3at PoE และต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องทดสอบผ่าน Gigabit Ethernet

ผลการทดสอบ

เราคำนวณผลการทดสอบ โดยจัดทำตารางดังนี้:

ถ้ามองค่าเฉลี่ย ผลการทดสอบ กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Wi-Fi 6 ค่าเฉลี่ยได้ 44.85% สูงกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ Wi-Fi 5 และมี Maximum throughput สูงสุดเฉลี่ย สูงกว่า 47.44% ดังนั้นเป็นไปได้ว่า เราเตอร์ Wi-Fi 6 นั้นรับส่งข้อมูลได้ดีกว่า

และสำหรับผู้ชนะ นั่นก็คือ…

EnGenius EWS377 ทำคะแนนได้ดี ทั้งในแง่ของค่าเฉลี่ย throughput ที่รวดเร็วที่สุด และจำนวนค่า Maximum Throughput ที่เร็วที่สุด กับอุปกรณ์ Wi-Fi 6 ทั้ง 2 อุปกรณ์ ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นที่ 1 ชนะแบบใสๆ

ในขณะที่ประสิทธิภาพการใช้งานบน Wi-Fi5 นั้น Extreme AP ได้ค่า throughput ดีที่สุดใน 3/4 categories ค่าเฉลี่ย และ maximum throughput ในการใช้งานผ่าน TP-Link USB adapter และ maximum throughput กับการใช้งานบน Galaxy S5 สะท้อนให้เห็นว่า เป็นมิตรกับ Wi-Fi 5 มากที่สุด นอกจากนี้ EnGenius AP มีประสิทธิภาพในแง่ของค่าเฉลี่ย throughput บน Galaxy S5 ดีกว่า โดยมีค่า throughput ที่ 498.5Mbps เมื่อเทียบกับ Extreme ที่ได้ค่าอยู่ที่ 485.45Mbps

ทั้งนี้ แต่ละรุ่นก็มีข้อดี ข้อด้อยที่แตกต่างกัน หากเป็น Wi-Fi 5 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแล้วค่าต่ำที่สุด average throughput อยู่ที่ 122.17Mbps เมื่อใช้งานบน Cisco router ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ TP-Link adapter ส่วนผลการทดสอบที่สูงที่สุด 498.5Mbps ระหว่าง Engenius AP กับมือถือ Galaxy S5

ถ้าเป็น อุปกรณ์ Wi-Fi 6 ค่า maximum throughput ต่ำที่สุดคือ 226.74Mbps ระหว่าง Cisco AP กับ Ubit PCI adapter ส่วนค่าสูงที่สุดคือ 929.37Mbps ระหว่าง Engenius AP กับ iPhone 11

ส่วนที่เราพบความผิดปกติอย่างใหญ่หลวงคือ Cisco AP ซึ่งในการทดสอบนั้น ดีที่สุดในการทดสอบกับ Galaxy S5 บน Wi-Fi 5 และไม่ใช่กับ Wi-Fi 6 ถือว่าผิดคาดมากๆ

ในขณะที่ Cisco ได้แนะนำว่า การทดสอบควรทดสอบ upstream และ downstream throughput แยกกัน แต่เรามองว่าการทดสอบ ทั้งคู่พร้อมกัน นี่เป็นการทดสอบจริงๆ เพราะในสถานการณ์จริงก็ใช้งานกันแบบนี้ Cisco แนะนำให้รันการทดสอบใหม่อีกครั้ง และให้ใช้เฟิร์มแวร์ล่าสุด แต่จะต้องทำแบบนี้กับ AP อื่นๆ ด้วย แต่เวลาไม่พอแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผลการทดสอบทุก access points เป็นเพียงการทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เรื่องเฟิร์มแวร์ แต่มีการทดสอบในสถานการณ์ต่างๆ เร้าเตอร์รุ่นใดที่ทำงานได้ดีหรือแย่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

เปรียบเทียบฟีเจอร์

Throughput เป็นการทดสอบที่เรารันกับ 4 เราเตอร์ ซึ่งแต่ละตัวมีฟีเจอร์ที่แตกต่างกัน และมีความง่ายในการตั้งค่า และอีกครั้งที่มีการทดสอบ ผลก็จะแตกต่างกัน และผู้ผลิตก็มีการอัพเดตอุปกรณ์ตลอดเวลา

บางฟีเจอร์ อาจจะช่วยให้ผลการทดสอบนั้นดีขึ้น อย่างเช่น orthogonal frequency-division multiple access (OFDMA) นั้นช่วยเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณคลื่นความถี่ (radio-frequency subchannels) ของ AP และช่วยลดปัญหาคอขวดในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ชิ้นพร้อมกัน ด้วยการรับส่งข้อมูลแบบ simultaneously หรือ dedicating แบ่งช่องสัญญาณให้กับการรับส่งข้อมูล

คุณสมบัติ Multiuser Multiple Input Multiple Output (MU-MIMOเทคโนโลยีนี้ช่วยเรื่องการใช้งานหลายอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่อ Wi-Fi router พร้อมกันหลายอุปกรณ์ ในการแบ่ง จัดสรร capacity ถ้าหากว่า เร้าเตอร์ รองรับ 4x4 MU-MIMO และ 8x8 MU-MIMO จำนวนการรับส่งข้อมูลพร้อมกันเต็มที่ เท่าที่เราเตอร์รองรับได้

ส่วน Wi-Fi Protected Access (WPA3) เป็นอีกคุณสมบัติที่ควรพิจารณา เป็นครั้งแรกที่มีการอัพเดตความปลอดภัยของ Wi-Fi (security upgrade) ในรอบ 15 ปี ซึ่งช่วยให้เครือข่ายสามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้ดีขึ้น และปลอดภัยขึ้น อีกคุณสมบัติคือ Simultaneous Authentication of Equals (SAE) ซึ่งช่วยให้ป้องกันเรื่องความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล หากรหัสผ่านไม่ถูกป้องกันได้รัดกุมพอ

ในตอนท้ายของบทความ มีตารางเปรียบเทียบ AP กับ 14 คุณสมบัติ แต่ก่อนอื่นได้สรุปมาเป็นข้อดีข้อเสียของแต่ละอุปกรณ์แบบสั้นๆ ดังนี้

Extreme (Aerohive) AP-650

ข้อดีคือ รองรับ WPA3 และผลการทดสอบดี และข้อด้อยคือการตั้งค่าดูซับซ้อนยุ่งยาก

Cisco Catalyst C9115

ข้อดีคือ ปรับแต่งได้เยอะ รองรับ 5G 26 ช่องสัญญาณ แต่ข้อด้อยคือผลการทดสอบช้าที่สุดในบรรดาการทดสอบทั้งหมด

EnGenius EWS377

ข้อดีคือ เร็วที่สุดในการทดสอบ และรองรับ WPA3 แต่เอกสารแบบสมบูรณ์ไม่พร้อม

Meraki MR55

รองรับ 8x8 MIMO มีคลื่นที่ 3 สำหรับ WIDs/WIPs ส่วนข้อด้อยคือไม่รองรับการต่อเสาอากาศภายนอก

รีวิวแต่ละรุ่น เราสรุปมาพอสังเขป ดังนี้

Extreme (Aerohive) AP650

AP650 หนึ่งในเราเตอร์ Wi-Fi 6 AP ของ Extreme เราเลือกรุ่นนี้มาทดสอบเพราะใช้ cloud-based management รองรับ 2 คลื่น Wi-Fi (อันนึง 5GHz-only และอีกอัน dual-band รองรับทั้ง 5GHz และ 2.4GHz) รวมไปถึงสัญญาณ Bluetooth ด้วย รุ่นนี้เป็นหนึ่งในสอง AP ที่มีความปลอดภัย WPA3 แม้ว่าจะทดสอบในแบบ internal antenna ใช้เสาอากาศในตัว แต่ก็มีรุ่นที่มาพร้อมเสาอากาศภายนอกด้วย

ข้อดีของการใช้ ExtremeCloud IQ automation software สามารถสร้าง network policies ในแต่ละ location ได้ (Extreme ซื้อ Aerohive ในเดือนสิงหาคม 2019) ข้อดีคือดู lists และ stats ของอุปกรณ์, clients, และ users ดู logs ของ events, การแจ้งเตือนต่างๆ ความปลอดภัย และ applications ได้

ข้อดีของ Extreme PPSK คือกำหนด visitors และคนที่ไม่ใช่พนักงานบริษัท ใช้ให้ encrypted Wi-Fi ได้ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ Wi-Fi หลักของบริษัท

โดย Extreme มีเรื่อง report ที่ละเอียด เป็นประโยชน์ต่อการตั้งค่า

ในการตั้งค่าเพื่อการทดสอบนั้น พบว่า process และ GUI ค่อนข้างซับซ้อน ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก แต่มี template และ profile ที่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่ มี AP จำนวนมากๆ แต่จุดที่น่าหงุดหงิดใจคือ default templates และ profiles ปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมไม่ได้ ได้แค่ clone, แก้ไข cloned templates/profiles เท่านั้น

Cisco Catalyst 9115

มี Cisco Catalyst C9115AXI-B AP พร้อม C9800-40-K9 wireless controller ด้านใน AP รองรับ Wi-Fi 2 คลื่น (2.4GHz-only และ 5GHz-only) และคลื่น Bluetooth และถ้าเทียบกับใน 4 รุ่น เป็น Wi-Fi 6 AP ที่มี company portfolio และเป็นแบบที่มีเสาอากาศภายใน

ในแท็บ Radio Configurations สามารถกำหนดค่า interference detection เรียกว่า CleanAir และตรวจจับคลื่นสัญญาณรบกวน กำหนดค่า data rates สำหรับ high throughput, กำหนด parameters สำหรับทราฟิก media/voice และปรับแต่งทั่วไป

การควบคุมผ่าน web GUI ไม่ได้มีการอธิบายเรื่องการตั้งค่ามากนัก มองหา help ก็ช่วยแทบไม่ได้เลย

ข้อดีของรุ่นนี้คือเป็น AP และปรับแต่งได้เยอะ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ Cisco enterprise solutions อื่นๆ แต่ทั้งนี้เหมาะกับคนที่เชี่ยวชาญมากกว่า ส่วนคนทั่วไปรู้สึกว่ายากไปนิดนึง

EnGenius EWS377

เป็น Wi-Fi 6 AP 1 ใน 4 รุ่นที่เราทดสอบ รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด แต่จะเป็นเสาอากาศในตัว ไม่มีเสาอากาศภายนอก รองรับ WPA3 แต่ในการทดสอบ WPA3 รองรับเฉะพาะการทำงานในโหมด cloud-management และไม่รองรับตัวเลือก AP management อื่นๆ

AP รุ่นนี้สามารถจัดการในโหมด standalone หรือ centrally ควบคุมจากสวิตซ์ หรือผ่าน ezMaster software บน Virtual Machine หรือแม้แต่บน AWS cloud

สำหรับโหมดการใช้งาน AP ผ่าน web GUI ในโหมด standalone มี navigation menu ด้านซ้าย แตกออกมาเป็น categories โดย category แรกคือ Overview แสดงสถานะอุปกรณ์และ client แสดงรายละเอียดและ stats โดย EnGenius AP สามารถตั้งค่าได้ง่าย เข้าใจง่าย มีให้เลือกตั้งค่า basic network settings และ wireless settings ใน Network category นอกจากนี้ AP  ยังมี Management SSID ตั้งค่าเป็น default ให้ด้วย สะดวกตรงที่ตั้งค่าแม้ไม่ใช้สายแลน และกำหนดค่า SSID ได้

ในส่วนของ Mesh category ตั้งค่าและดูรายละเอียดของ AP ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายผ่าน wireless mesh กับ AP อื่นๆ ได้ ทดสอบ mesh links เช่น ping, traceroute และ throughput ได้

กำหนดค่า Management category ตั้งค่าควบคุม AP ผ่าน controller กำหนดค่า CLI และ SSH ตั้งค่า email alerts กำหนดเวลา Wi-Fi scheduling ตั้งเวลาเปิด Wi-Fi ได้ พร้อม auto-reboot

ข้อดีคือ GUI และการตั้งค่าทำได้ง่าย เข้าใจง่าย แต่ขาดเรื่องการอธิบายเพิ่มเติม โดย GUI มี tooltip icons สามารถวางเม้าส์แล้วแสดงการอธิบายเพิ่มเติมขึ้นมาได้ แต่ไม่มี links ไปยังรายละเอียดแบบเต็ม ไม่มีข้อมูลรายละเอียดแบบ Full Documentation ในการตั้งค่า mesh และ controller และรายละเอียดอื่นๆ

Cisco Meraki MR55

Cisco Meraki MR55 AP มาพร้อม cloud-management และรองรับ Wi-Fi 3 คลื่น (อันนึงคือ wireless IDS/IPS) มาพร้อม Bluetooth ด้วย รุ่นนี้ถือเป็น highest performance indoor Wi-Fi 6 AP คือเป็นเราเตอร์ไร้สายที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานในอาคาร แต่ไม่มีเสาอากาศภายนอกเหมือนอย่างรุ่นอื่นๆ รองรับ 8 MU-MIMO ที่ 5GHz only เป็นรุ่นที่รองรับ streams สูงที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ และมี multigigabit LAN port ที่เร็วที่สุด 5 Gbps

หน้าตา Cisco Meraki MR55 ดูเหมือนเสาอากาศแนวกว้างมากกว่า AP หน้าตาแปลกกว่ารุ่นอื่น แต่การติดเพดานก็ดูเรียบๆ สวยดี

ใน Meraki Dashboard สามารถจัดการเครือข่ายของ AP หลาย per-network policies แต่ละเครือข่าย มี categories ที่แตกต่างกัน กำหนด security appliances, switches และ cameras ได้

แท็บแรก Network-wide รองรับ packet capturing ทั้งใช้สายและไร้สาย แสดงข้อมูล Wi-Fi clients และ event logs และเก็บข้อมูล network maps และ floorplans รองรับการตั้งค่า general network settings, setting up alerts, แบ่ง group policies, managing users สำหรับการเข้าถึง 802.1x authentication และตั้งค่า AP

ในแท็บ Wireless tab เป็นส่วนตั้งค่า Wi-Fi settings แสดงฟีเจอร์ของ AP กำหนด Air Marshal สำหรับ wireless IDS ตรวจสอบรายงาน PCI DSS แสดง RF spectrum และ wireless health มีรายละเอียดให้ดู กำหนดค่า SSIDs, access control, splash pages, firewall and traffic shaping และตั้งค่าสัญญาณ Wi-Fi, Bluetooth

Meraki รองรับคลื่น dual-band Wi-Fi คลื่นที่ 3 สำหรับ WIDS/WIPS เรียกว่า Air Marshal

แท็บ Organization แสดง stats, logs และการตั้งค่าเครือข่ายทั้งหมด รวมไปถึง basic up/down stats ของ AP นอกจากนี้ยังสามารถ generate usage report ให้ได้ด้วย สามารถสร้าง organization-wide configuration templates และเปรียบเทียบการตั้งค่าที่แตกต่างกันได้

ข้อดีคือ GUI ทำมาดี อธิบายครบถ้วน ตั้งค่า throughout ได้ง่าย บางส่วนอธิบายให้เข้าใจตั้งแต่แรกเห็น และมี tooltip icons อธิบายเพิ่มเติม มี pop-up พร้อม hyperlink ให้เข้าไปอ่าน full documentation ได้ อันนี้ทำได้ดี GUI มี profile schemes ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับแต่ง เข้าใจง่าย

Summary Chart

ข้อมูลจาก networkworld

COMMENTS