31 พ.ค. 2562 3,365 401

Burger King นำ IoT มาใช้ในการส่งเบอร์เกอร์ให้กับผู้ขับขี่ตอนรถติด แม้รถเคลื่อนตัวก็ยังไปส่งได้ถูกคัน

Burger King นำ IoT มาใช้ในการส่งเบอร์เกอร์ให้กับผู้ขับขี่ตอนรถติด แม้รถเคลื่อนตัวก็ยังไปส่งได้ถูกคัน

คนเราใช้เวลาอยู่บนรถเป็นเวลานาน จะซื้อกลับบ้านก็มี drive-in และ drive-thru ส่วนบริการสั่งอาหาร ส่วนใหญ่จะส่งที่บ้าน ที่ทำงาน แต่ถ้าส่งบนรถ ก็จะต้องมั่นใจว่า รถไม่ขยับเคลื่อนตัวจากจุดที่สั่งไปไกลนัก Burger King นำไอเดียมาใช้โดยมีโครงการชื่อ IoT-powered Traffic Jam Whopper project 

ครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องนี้ ก็รู้สึกตลก ว่านี่เป็นเรื่องจริงเหรอ แต่พบว่าโครงการ Traffic Jam Whopper project ผ่านการทดสอบที่เม็กซิโกนานนับเดือนแล้ว

ในขณะที่บริษัทไม่ได้เปิดเผยระยะเวลาทดสอบที่แน่ชัด และมีแผนที่จะเปิดตัว Traffic Jam Whopper project ใน Los Angeles (และสถานที่อื่นๆที่รถติด) อย่างเช่น São Paulo และ Shanghai

Traffic Jam Whopper project ของ Burger King ทำงานอย่างไร?

ตามข่าวจาก Nations Restaurant News เปิดเผยรายละเอียดของ Burger King Traffic Jam Whopper project ไว้ดังนี้:

มีการใช้ข้อมูล real-time data เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายคนที่หิวตอนรถติดบนท้องถนนและทางด่วนเพื่อส่งอาหารผ่านมอเตอร์ไซค์ โดยระบบใช้ประโยชน์จากการแจ้งเตือนของแอป Burger King และส่งข้อความส่วนตัวบนป้าย digital billboards ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ บนถนน ใกล้กับร้าน Burger King

ข้อมูลจากอเจนซี่ We Believers เผยว่ามีการเก็บข้อมูลต่างๆ รวบรวมเข้าด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (ตำแหน่งและความเร็วรถ) โดยปรับตำแหน่งของป้ายบิลบอร์ด แสดงตำแหน่ง ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่เหลือบนท้องถนนในการส่ง และอัพเดตสถานะการส่ง

ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลา ทำให้ถูกจำกัดเมนูไว้แค่ Whopper Combos เพื่อการเตรียมอาหารที่รวดเร็ว (ตามแผนจะมีการเพิ่มเมนูอื่นๆหากโครงการนี้เป็นไปด้วยดี)

 

บริษัทเผยยอดสั่งซื้่อในเม็กซิโกซิตี้ โดยเฉลี่ยแล้ว จัดส่งภายใน 15 นาที ภายใต้การจราจรติดขัด พอได้กินก็เหมือนฟ้ามาโปรด

เมื่อคำสั่งซื้อพร้อมส่ง พนักงานส่งอาหารจะใช้ Google Maps และ GPS ที่ทำงานบนแอป เพื่อค้นหาตำแหน่งรถที่สั่งอาหาร จากนั้นคนส่งจะค้นหาว่ารถคันนั้นอยู่ตรงไหน ซึ่งการรู้ตำแหน่งบนถนนนั้นมีกฎหมายคุ้มครองในแคลิฟอร์เนีย แต่สำหรับที่อื่นๆ อาจจะต้องศึกษาเรื่องกฎหมายจราจรและความปลอดภัยด้วย โดยการสั่งอาหารบนแอป รองรับการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งอาหารอาจจะส่งถึงรถตอนที่รถยังไม่ขยับ หรือการจราจรคล่องตัว กว่าจะไปถึงรถก็เคลื่อนตัวไปไกลแล้วก็เป็นได้

เทคโนโลยีใหม่ => โอกาสใหม่

เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส รถติด อาหารไปส่งได้ ก็ขายของได้ ยิ่งนำเทคโนโลยีมาช่วย ยิ่งทำให้เพิ่มยอดขาย โดย Bruno Cardinali หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Burger King ที่ Latin America และ Caribbean เผยว่าโครงการนี้สร้างยอดขายในช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งปกติช่วงเวลานี้คนไม่ค่อยสั่งอาหารผ่านแอปอยู่แล้ว

ขอบคุณโครงการ The Traffic Jam Whopper ที่ช่วยเพิ่มการส่งอาหารสูงขึ้น 63% ในพื้นที่ที่กำหนด ช่วงเดือนเมษายน จำนวนสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นต่อวันทำให้มั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน

ไม่คิดไม่ฝันว่าจะเกิดขึ้นจริง โครงการนี้เป็นตัวอย่างของการนำ IoT เข้ามาช่วยให้เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ เปลี่ยนการจราจรที่เป็นอัมพาต เป็นศูนย์อาหารเคลื่อนที่ ช่วยเพิ่มยอดขายในช่วงเวลาที่พนักงานนั่งตบยุงเพราะทุกคนยังอยู่บนถนน

networkworld nrn

COMMENTS