22 พ.ค. 2562 2,359 52

Las Vegas นำ IoT เข้ามาช่วยจัดการการจราจรและการขนส่งให้ปลอดภัย 

Las Vegas นำ IoT เข้ามาช่วยจัดการการจราจรและการขนส่งให้ปลอดภัย 

เผยนโยบายของ Michael Sherwood ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีของเมือง ซึ่งคลุกคลีอยู่กับทีมเว็บไซต์ Network World ในการประชุม IoT World Conference ที่ซิลิกอนวัลเลย์ในสัปดาห์นี้

ระบบใช้กล้องอัจฉริยะในการประมวลผลตามเงื่อนไขที่ Sherwood วางไว้ โดยข้อมูลจะถูกส่งกลับไปยัง Private Cloud ของเมือง โดยวิเคราะห์รูปแบบของการจราจรเพื่อเทียบพฤติกรรมการขับรถย้อนศรและพฤติกรรมด้านการจราจรรายบุคคล

Sherwood กล่าวว่า ทั้งนี้ การพิจารณาด้านความปลอดภัย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการนำ IoT เข้ามาใช้ในอนาคต ซึ่งภาพใหญ่นั้นมีเป้าหมายคือทำให้ข้อมูลนั้นเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่เพียงแค่การตรวจสอบความโปร่งใส แต่ช่วยให้พัฒนาและสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ๆให้กับ Vegas เพื่อยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น

การเก็บข้อมูล Public Data นั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลผ่าน IoT เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ โดยมีการนำเอาผลต่างๆ มารวบรวมและร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูล เช่นงาน hackathon เมื่อปีที่ผ่านมา มีการนำแอปบน Alexa เข้ามาช่วยในการรวบรวมจำนวนสัญญาณไฟจราจรว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อติดตามข้อมูลการใช้พลังงานของเมือง และจัดการจราจร

เช่นเดียวกับการนำ IoT เข้ามาช่วย แทนที่จะต้องเพิ่มพนักงานไอทีเพื่อรันระบบใหม่ เรามีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบจราจรเข้ามาช่วยได้เยอะ

อีกแนวคิดคือการจัดการจราจรในยุคนี้มี Uber และ Lyft และบริการเรียกรถต่างๆ เพื่อจัดทำข้อมูลเช่น RideShare สามารถจอดรถได้ทั้ง 2 ฝั่งถนนนี้ และมีแอปให้คนขับรถบรรทุกหลักเลี่ยงย่านที่การจราจรแออัด

มุมมองของ Sherwood มองว่า เรากำลังมองหาวิธีที่ทำให้ถนนมีชีวิต เต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำมาช่วยการจัดการจราจรได้

สวนสาธารณะที่ปลอดภัย

แนวคิดการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับชีวิตคนในเมือง โครงการนำร่องนี้คาดหวังให้ Las Vegas เป็นเมืองแห่งความปลอดภัย โดยติดตั้งกล้องอินฟราเรด ทำให้ทราบได้ว่ามีคนอยู่ในสวน โดยคำนึงเรื่องความเป็นส่วนตัว และมีการนำเรื่องเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเข้ามาช่วยทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินฟราเรด

แต่ทั้งนี้ แม้จะเป็นโครงการ IoT แต่ก็ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งจะเริ่มจากสวนสาธารณะแห่งเดียวก่อน แล้วมาดูข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ว่านำไปใช้กับข้อมูลอื่นๆ ได้หรือไม่

จากที่กล่าวมาทั้งหมด โครงการนี้ใช้ต้นทุนต่ำ และการบำรุงรักษาในระยะยาว สามารถพัฒนาและอบรมความรู้เบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่เทศบาลสามารถบำรุงรักษากล้องอัจฉริยะในสวนอย่างง่ายๆ สิ่งที่ตามมาคือความปลอดภัย และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ถือว่าสำเร็จ ถ้าประสิทธิภาพที่ได้มา ดีกว่าต้นทุนที่เสียไป

networkworld

COMMENTS