4 ต.ค. 2567 448 17

AIS และ Huawei จับมือเปิดตัวโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers เร่งยกระดับพัฒนาเครือข่าย 5G สู่ Autonomous Networks (AN) ระดับ 4

AIS และ Huawei จับมือเปิดตัวโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers เร่งยกระดับพัฒนาเครือข่าย 5G สู่ Autonomous Networks (AN) ระดับ 4
AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลอันดับ 1 ของไทย และ Huawei ได้ร่วมเปิดตัวโปรแกรม RAN (Radio Access Network) Intelligence Pioneers ซึ่งเป็นความร่วมมือที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรม และพัฒนาสุดยอดเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะเพื่อยกระดับการสื่อสารไทยไปอีกขั้น

จากการที่ AIS ได้ตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนา Autonomous Networks (AN) ระดับ 4 (L4) ภายในปี 2025 โดยร่วมมือกับ Huawei ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะไร้สาย ซึ่งตลอดสองปีที่ผ่านมา ความร่วมมือนี้ทำให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สำคัญ เช่น การตรวจจับและชดเชยกรณีการขัดข้องของสถานีฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการจราจรของข้อมูลในช่วงเวลาที่มีปริมาณสูงอย่างชาญฉลาด นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเครือข่ายและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ทำให้ AIS บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในระดับ AN L3 ได้อย่างทันต่อสถานการณ์และความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง

โปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ได้รวมผู้ประกอบการโทรคมนาคมและพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะที่ล้ำสมัยและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูง เช่น โมเดลพื้นฐาน (Foundation Model) และดิจิทัลทวิน (Digital Twin) ทั้งนี้เป้าหมายของโปรแกรม คือการค้นหาโอกาสทางธุรกิจ, การปรับปรุงการให้บริการมีประสิทธิภาพมากที่สุด และการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจใหม่ และในกลุ่มนี้  AIS ถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญของโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์สู่ Autonomous Network ระดับ 4 ซึ่งสามารถใช้ระบบในการบริหารจัดการเครือข่ายได้ด้วยตัวเองเกือบ 100%

AIS และ Huawei ได้ประกาศความร่วมมือใน 3 หัวข้อสำคัญ ดังนี้

1. มีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อใช้ในการตัดสินใจจัดการโครงข่าย เพื่อมอบประสบการณ์ที่เชื่อถือได้และไม่เหมือนใครสำหรับผู้ใช้ 5G และ 5G-A ในอนาคต

2. มีการนำวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทวิน (Digital Twin) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลระบบโครงข่ายแบบ near realtime, การจำลองการให้บริการ และนำไปใช้ในการตัดสินใจ ในการจัดการโครงข่าย โดยมีเป้าหมายหลายประการ เช่น การประหยัดพลังงานอย่างชาญฉลาด ควบคู่กับการรักษาประสิทธิภาพสูงสุด

3. มีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้การสร้างสรรค์ (Generative AI) เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาเครือข่ายในแก้ไขปัญหา จากประสบการณ์ร่วมกับทางวิเคราะห์ข้อมูล และให้คำแนะนำสำหรับการแก้ปัญหา และรวมทั้งการคาดการณ์ล่วงหน้า

กิตติ งามเจตนรมณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวว่า  ความร่วมมือระหว่าง AIS กับ Huawei ทำให้แผนงานของเรามีพัฒนาการอย่างมีนัยยะสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ Autonomous Networks (AN) มาประยุกต์ใช้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเข้าร่วมโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ครั้งนี้ ทำให้เราสามารถยกระดับการดำเนินงานด้านเครือข่าย มอบประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างตรงใจ พร้อมเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ Autonomous Network ระดับ 4 ที่จะพลิกโฉมจากผู้ให้บริการการสื่อสารแบบดั้งเดิม ไปสู่การเป็นผู้นำในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์


Calvin Zhao ประธาน Huawei Wireless Network MAE Product Line กล่าวว่า “Huawei มุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย และค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ผ่านโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers เราจะสนับสนุน AIS ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ของ AN L4 ในการเปิดตัวเครือข่าย 5G ขับเคลื่อนการปฏิวัติทางปัญญาไร้สายร่วมกัน

โปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้ให้บริการตั้งแต่เปิดตัวในงาน MWC Shanghai เมื่อเดือนมิถุนายน 2024 ด้วยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรม โปรแกรมนี้จะขับเคลื่อนนวัตกรรมทางปัญญาในอุตสาหกรรม และสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะทั่วโลก