5 ก.ย. 2567 190 2

PDPC เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ แอบล้วงข้อมูลส่วนบุคคลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมสแกนใบหน้า

PDPC เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ แอบล้วงข้อมูลส่วนบุคคลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมสแกนใบหน้า

ย้ำชัด !!! ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญที่สุด คิดก่อนให้ ก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

จากกรณีผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองเก็บชี ต.นาดี อ.เมือง จ.อุดรธานี พาลูกบ้านที่เป็นผู้สูงอายุเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังมีชายหนุ่มอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของอำเภอ มาขอรหัสบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขอสแกนหน้า ถ่ายรูปบัตรประชาชนของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เพื่อแลกไข่ไก่และของใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ นอกจากนี้ชายคนดังกล่าวยังหลอกว่าจะช่วยลงทะเบียนใน “แอปทางรัฐ” เพื่อรับเงินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมีผู้สูงอายุหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก ผู้ใหญ่บ้านเกรงว่ามิจฉาชีพจะนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในหมู่บ้านไปเปิดบัญชีม้า หรือเอาไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย จึงเข้าแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ช่วยตามหาตัวชายคนดังกล่าว จนกลายเป็นกระแสทั่วโซเชียล

ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC กล่าวว่า จากกรณีที่เกิดขึ้น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อกลลวงของกลุ่มมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาขอรหัสบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขอสแกนหน้า ถ่ายรูปบัตรประชาชน และแอบอ้างว่าจะช่วยลงทะเบียน “แอปทางรัฐ” เพื่อรับเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยเด็ดขาด เนื่องจากตั้งแต่ที่รัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแอปทางรัฐ พบว่ามีการสร้างเพจและเฟซบุ๊ก “ทางรัฐ” ปลอม เพื่อหลอกลวงประชาชนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพได้ใช้กลลวงมากมาย หลอกให้ประชาชนตายใจหลงเชื่อ มอบข้อมูลส่วนบุคคลให้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC  ขอย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ หรือหลอกว่าจะช่วยเหลือการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และขอเน้นย้ำว่า ข้อมูลส่วนบุคคลคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่ามอบข้อมูลส่วนบุคคลให้ใคร โดยเฉพาะคนแปลกหน้า

คำแนะนำวิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ มีดังนี้

1.วิธีหลีกเลี่ยงการหลงกลจากมิจฉาชีพ

1.1.ไม่แสดงหรือแจ้งหมายเลขบัตรหรือมอบบัตรประชาชนให้กับผู้ที่ไม่รู้จัก
1.2.ไม่กดรับแอป ที่แจ้งถึงการรักษาสิทธิ์ หรือมีเงินโอน
1.3.ไม่รับสายโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก

2.ไม่แสดงบัตรประจำตัว ให้บุคคลอื่น

2.1.บัตรประชาชน
2.2.บัตรประจำตัวผู้ป่วย

3.ไม่แสดงรหัสบัตรเอทีเอ็ม/เวปไซต์/เฟสบุ๊ค ให้บุคคลอื่นทราบ

ช่องทางการติดต่อ PDPC หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

สามารถติดต่อ เพื่อสอบถาม ขอคำปรึกษา หรือปรึกษาการยื่นเรื่องร้องเรียนได้ในวัน และ เวลาราชการ

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 02 114 8504 และ 02 141 6993

  • สอบถามการยื่นคำร้องเรียน : 02 142 1033
  • ติดต่อ PDPA Center  : 02 027 8852
  • LINE Business Private Class


เรียนไลน์สร้างยอดขายส่วนตัว Line ID: @pdpcthailand

ส่งหนังสือราชการ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้

#PDPC #PDPA #สคส #PDPACenter #ข้อมูลส่วนบุคคล