27 ส.ค. 2567 136 1

ยูโอบีขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านโครงการ GreenTech Accelerator

ยูโอบีขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านโครงการ GreenTech Accelerator

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ GreenTech Accelerator (GTA) ประจำปี 2567 ดำเนินการโดยยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ซึ่งนับเป็นก้าวย่างสำคัญในการรับมือกับปัญหา ท้าทายที่เร่งด่วนเกี่ยวกับความยั่งยืน โครงการ GTA มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทที่ทำธุรกิจ กรีนเทค (GreenTech) สำหรับการนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่จะสร้างผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทกรีนเทค 12 แห่งของไทยเป็นหนึ่งใน 33 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการGTA โดยคัดเลือกจากบริษัทกรีนเทค 350 รายที่สมัครเข้าร่วมจากทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยบริษัทที่ได้รับคัดเลือกจะเข้าร่วมโครงการระดับภูมิภาคเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งออกแบบเพื่อส่งเสริมโอกาสในการเติบโต การพลิกโฉมธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายด้านความยั่งยืน

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หาที่ไหนไม่ได้ รวมถึงการฝึกอบรมในหลักสูตรมาสเตอร์คลาสโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 30 ท่านจากสิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงประโยชน์มากมายจากเครือข่ายของยูโอบี ฟินแล็บ อาทิ องค์ความรู้และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน รวมไปถึงผู้นำด้านอุตสาหกรรม 25,000 ราย จากภาคธุรกิจ ภาครัฐ เอสเอ็มอี และซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยี

ด้วยการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืน ยูโอบีจะมอบเงินทุนสนับสนุนสูงสุด 2.7 ล้านบาท แก่บริษัทกรีนเทคที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ รับมือกับปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืน

ยูโอบี ฟินแล็บ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรพันธมิตรทั่วภูมิภาคอาเซียนเพื่อระบุปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืน หลักที่บริษัทต่างๆ และภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญ บริษัทกรีนเทคที่ได้รับการคัดเลือกจะร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรเหล่านี้ และยูโอบี ฟินแล็บ เพื่อพัฒนานวัตกรรมโซลูชันสำหรับการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมุ่งเน้นแง่มุมสำคัญๆ อาทิ การประหยัดพลังงาน เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ การจัดการและการรายงานคาร์บอน อาหารและการเกษตร และการวางผังเมือง

โครงการ GTA เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่สิงคโปร์ และประสบความสำเร็จอย่างมาก การดำเนินโครงการในปีแรกมีผู้สมัครมากกว่า 150 ราย ก่อเกิดโครงการนำร่องและความร่วมมือ 8 โครงการ และสร้างการเชื่อมต่อทางธุรกิจที่เห็นผลจริงกว่า 160 รายการ

หนึ่งในความสำเร็จที่โดดเด่นได้แก่ ไฮโดรนีโอ (HydroNeo) หนึ่งในบริษัทกรีนเทคของไทยที่เข้าร่วมโครงการ GTA ในปี 2565 โดยสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างมากในการปรับปรุงความยั่งยืนของภาคธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยผ่านระบบการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ด้วยโครงการนำร่องของไฮโดรนีโอ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับประโยขน์จากการปรับปรุงในด้านต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ปริมาณผลผลิต การประหยัดพลังงาน และความสามารถในการทำกำไร ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวทำหน้าที่จัดการดูแลบ่อเพาะเลี้ยง 150 บ่อ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของโซลูชันกรีนเทค

บัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากสำหรับการเปิดตัวโครงการ GreenTech Accelerator ในประเทศไทย เนื่องจากโครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของเราในการสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและส่งเสริมความยั่งยืน โครงการ GTA มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้บริษัทสตาร์ทอัพยกระดับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเราเชื่อมโยงบริษัทเหล่านี้เข้ากับโอกาสทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญจากยูโอบี ฟินแล็บ และพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมพร้อมทั้งมอบทรัพยากรและความช่วยเหลือที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจเป้าหมายหลักของเราคือการช่วยให้บริษัทเหล่านี้พัฒนาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมเรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญและสนับสนุนการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทยและโลกของเรา”

ศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหนึ่งในผู้ฝึกสอนภายใต้โครงการ GTA ของปีนี้ กล่าวว่า “ที่ สวทช. หนึ่งในเป้าหมายหลักของเราคือการช่วยให้บริษัทกรีนเทคนำเอาไอเดียที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์  ที่สามารถเข้าสู่ตลาดและตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง ดิฉันพร้อมที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับยูโอบีในฐานะผู้ฝึกสอนเพื่อให้คำแนะนำและดูแลบริษัทเหล่านี้ให้สามารถเติบโตอย่างมั่นคงและนำการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มาสู่ธุรกิจของตนเองและของลูกค้า ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นว่าแต่ละบริษัทจะปรับใช้แนวทางที่แปลกใหม่เพื่อคิดค้นโซลูชันที่สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างไร”

มยุรี อรุณวรานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท เก็บ สะอาด จำกัด (GEPP SA-ARD) กล่าวว่า   “เรารู้สึกยินดีอย่างมากที่ได้เข้าร่วมโครงการ GTA ของยูโอบี ฟินแล็บ ในปีนี้เรามุ่งหวังที่จะนำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจรของเราผ่านทางโครงการนี้ พร้อมทั้งรับทราบข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์จากการเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน และสำรวจความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ๆ”

ด้วยตระหนักถึงผลกระทบเชิงบวกที่สำคัญของโครงการ โครงการ GreenTech Accelerator โดย ยูโอบี ฟินแล็บ ประเทศไทย ยังได้รับการยกย่องจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยได้รับรางวัล Prime Minister Award: Innovation for Sustainability 2024 ที่งาน Startup x Innovation Thailand Expo 2024 (SITE2024) รางวัลนี้ยกย่องความพยายามขององค์กรพันธมิตรและฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการพัฒนาโครงการริเริ่มเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ก้าวเดินไปข้างหน้าบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน

บริษัทไทย 12 แห่งที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Greentech Accelerator Program ในปี 2567 มีดังนี้:

ชื่อบริษัท /กรีนเทค

รายละเอียด

หมวดหมู่

Altotech

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆภายในอาคาร ด้วยเทคโนโลยี AI, IoT และ Cloud Computing

การประหยัดพลังงาน

Bariflo Labs

พัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการที่ยั่งยืนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการแก้ไขปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับน้ำและโรคต่างๆ

อาหารและการเกษตร

Carbon Wize

นำเสนอแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการคาร์บอนฟุต
พริ้นท์ได้ง่าย ด้วยระบบการคำนวณและจัดทำรายงานอัตโนมัติ

การจัดการและการรายงานคาร์บอน

Cero

แพลตฟอร์มสำหรับการคำนวณและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างกระเป๋าสตางค์คาร์บอน (carbon walletส่วนบุคคลและส่งเสริมกิจกรรมสีเขียว นวัตกรรมของเราจะช่วยให้บุคคลและธุรกิจสามารถจัดการและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการและการรายงานคาร์บอน

Chosen Digital

แพลตฟอร์มสำหรับการจัดการสถานีชาร์จ EV เพื่อผนวกรวมการชำระเงิน การตอบสนองความต้องการ การบูรณาการรวบรวมบริหารโหลด และโรงไฟฟ้าเสมือน

การประหยัดพลังงาน

GEPP SA-ARD Co.,Ltd

นำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีการจัดการขยะแบบครบวงจร เช่น การปรับปรุงการคัดแยกขยะ เพื่อลดพื้นที่ฝังกลบและสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ

Inno Green Tech

นำเสนอระบบบำบัดน้ำเสียที่ยั่งยืนและประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้า ลดการเติมสารเคมี ลดการจัดการตะกอน และลดการซ่อมบำรุง

เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ

Nano Coating Tech

นำเสนอการเคลือบนาโนขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ด้วยการกันฝุ่นและน้ำ ลดการบำรุงรักษา และเพิ่มการผลิตพลังงาน

การประหยัดพลังงาน

Nano Onions

นำเสนอวัสดุทางเลือก ย่อยสลายได้จากสาหร่ายผักกาดทะเล โดยมีฟังก์ชั่นอเนกประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ แทนพลาสติกใช้ครั้งเดียว ซึ่งปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดมลพิษขยะพลาสติก

อาหารและการเกษตร

PAPAPAPER

ผลิตวัสดุคาร์บอนต่ำจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อันเป็นต้นเหตุของการเผา และฝุ่น PM2.5 ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษ

เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ

Peel Lab

 

นวัตกรรมวัสดุศาสตร์แปรรูปขยะเกษตร นำเส้นใยธรรมชาติจากใบสับปะรด มาเป็นแผ่นหนังไบโอสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ทดแทนหนังสัตว์ ลดมลพิษจากการเผาทิ้งขยะเกษตรกรรม

เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ

Wongphai

ผลิต Biochar จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อเพิ่มคุณภาพดิน ลดการใช้น้ำ และสนับสนุนการดูดซับคาร์บอน (Carbon Removal)

เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ





















หากต้องการเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ สามารถดูได้ที่ https://thefinlab.com/programmes/the-greentech-accelerator/