18 มี.ค. 2567 539 3

IoT ขยะ e-Waste พันธุ์ใหม่ ทรู ชวนรีไซเคิล ฟื้นโลก สร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน

IoT ขยะ e-Waste พันธุ์ใหม่ ทรู ชวนรีไซเคิล ฟื้นโลก สร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัล ทำให้เกิดสมรภูมิขยะอิเล็กทรอนิกส์พันธุ์ใหม่ในรูปแบบอุปกรณ์ไอโอที (IoT – Internet of Things) จากรายงาน Statista พบว่า ในปี 2566 มีอุปกรณ์ไอโอที (IoT) เชื่อมต่อและใช้บริการในประเทศไทยมากถึง 135.5 ล้านอุปกรณ์ แบ่งเป็นสัดส่วนจากผู้บริโภค 39% (53.85 ล้านอุปกรณ์) ภาคอุตสาหกรรม 13% (18.44 ล้านอุปกรณ์) สมาร์ทซิตี้ 8% (11.25 ล้านอุปกรณ์) และอื่นๆ นอกจากนี้ รายงานของ Fortune Business Insights ยังพบว่าตลาด IoT ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดอุปกรณ์ไอโอที ส่งผลให้ e-Waste ซึ่งเป็นประเภทขยะอันตรายมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำไปจัดการอย่างถูกวิธีและเหมาะสม และเนื่องในวันรีไซเคิลโลก 18 มีนาคม 2567 ทรู คอร์ปอเรชั่น ย้ำจุดยืนเทคคอมปานีไทย ที่มุ่งจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ พร้อมเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

เพราะขยะ e-waste ไม่ได้มีแค่เครื่องโทรศัพท์มือถือ

ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้นำบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี นอกจากจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายอัจฉริยะเพื่อการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด และส่งมอบบริการดิจิทัลที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเติมเต็มการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในทุกๆ วัน ผ่านการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ทำงาน พักผ่อน หรือการอยู่อาศัยในบ้านที่ทั้งสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฮมและโซลูชันบ้านอัจฉริยะ เรายังตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ทั้งในส่วนของ e-Waste ที่เกิดจากกระบวนการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เช่น โครงข่ายและเสาสัญญาณ สำนักงาน ทรูช้อปและศูนย์บริการดีแทค ตลอดจนขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ทั้งสมาร์ทโฟน อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์ไอโอทีที่ปัจจุบันได้รับความนิยมและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมารวบรวมและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี 100% นำโลหะมีค่าและแร่ธาตุหายากกลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจ

เปิดจุดทิ้งอุปกรณ์ไอโอที e-Waste พันธุ์ใหม่ ให้ถูกที่ ดีต่อใจ

ในรายงานของ Statista 2566 ยังระบุอีกว่าแนวโน้มผู้ใช้งานอุปกรณ์สมาร์ทโฮมในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีประมาณ 10.8  ล้านราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 73% เป็น 18.7 ล้านรายในอีก 3 ปี ข้างหน้า โดยอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่ตอบโจทย์การใช้งานของคนไทย 3 อันดับแรก คือ อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และความบันเทิง สะท้อนความนิยมในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมและระบบบ้านอัจฉริยะที่เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตอาจกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ในที่สุด และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ นำ e-Waste เข้าสู่ระบบการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้ดำเนินโครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ซึ่งนอกจากลูกค้าและและประชาชนทุกคน จะสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริมที่เลิกใช้งานมาทิ้งแล้ว ยังสามารถนำอุปกรณ์ไอโอที มาทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ ได้ที่


·  ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทคทั่วไทย รวม 154 สาขา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/4cfiq9d

· สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซอยถนนพหลโยธิน 8 (สายลม) กรุงเทพฯ

· โลตัสทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล 20 สาขา

·  ทรูสเปซ 5 สาขา ได้แก่ สยามสแควร์ซอย 2 ไอคอนสยาม อโศก มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และมหาวิทยาลัยรังสิต

·      มหาวิทยาลัย 9 แห่งในความร่วมมือโครงการทรู แล็บ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

 

#ทิ้งถูกที่ดีต่อใจ #TrueSustainability