9 มี.ค. 2567 1,920 73

1 ปีหลังควบรวม 'ทรูคอร์ป' ผู้ใช้ 5G กว่า 10.5 ล้านคน มุ่งหน้าวิสัยทัศน์ AI พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ Virtual Bank

1 ปีหลังควบรวม 'ทรูคอร์ป' ผู้ใช้ 5G กว่า 10.5 ล้านคน มุ่งหน้าวิสัยทัศน์ AI พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ Virtual Bank

ทรู ประกาศถึง 3 กลยุทธ์หลักในปี 2024 หลังครบรอบควบรวมทรูดีแทค 1 ปี 'ทรู คอร์ปอเรชั่น' เผยเติบโตทั้งในด้านรายได้บริการและจำนวนลูกค้า  51.9 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ 5G คือ 10.5 ล้านคน 

มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "1 ปี ที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอเรชั่น สร้างการเติบโตของ EBITDA เติบโต 4 ไตรมาสต่อเนื่อง ในปี 2566 โดยขับเคลื่อนและสร้างตลาดมือถือในไทย มีลูกค้าถึง 51.9 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ 5G คือ 10.5 ล้านคน และยังได้รับรางวัล DJSI อันดับ 1 ในโหมดโทรคมนาคม 6 ปีซ้อน"


ปี 2024 ทรูมีการนำ AI มาใช้ โดยปีที่ผ่านมาเป็นการโหมโรง แต่ในปี 2024 AI จะมีบทบาท ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อน Productivity ช่วยลดโลกร้อน Climate Change ซึ่งการที่โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายน้ำจะสูงขึ้น 6 เมตร แต่ถ้าน้ำขั้วโลกใต้ละลาย น้ำจะสูงขึ้นถึง 16 เมตร เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น AI จะมาช่วยโลก รวมทั้งช่วยการแข่งขันของประเทศไทย

วิสัยทัศน์ ทรู คอร์ปอเรชั่น 2024

ได้แก่   1) ยกระดับคุณภาพเครือข่าย การบริการลูกค้า ตลอดจนแพ็กเกจบริการและสิทธิพิเศษที่เจาะจงตรงไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น 2) นำเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการใช้ชีวิตทั้งทำงาน บันเทิง สุขภาพ และปลอดภัย พร้อมร่วมทรานสฟอร์มองค์กรธุรกิจไทยในทุกอุตสาหกรรม และ 3) พร้อมทำกำไรในปี 2567 นี้ เน้นด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) 

"ทรู เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน Home Living Telco-Tech Company ขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากวิสัยทัศน์เดิมของปีที่แล้ว มี Telco-Insfrastructure ที่แข็งแกร่ง มี Digital eco-system ที่แข็งแกร่ง เช่นกัน มุ่งสร้างแพลทฟอร์ตดิจิทัล มี True Digital Park ช่วยขับเคลื่อนดิจิทัลในประเทศไทย มีแพล็ตฟอร์ม Mordee, ความปลอดภัย Cybersecurity ต่างๆ Big Data, Digital Twin มาช่วยเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า"

การดูแลเครือข่าย ทรูได้นำ AI มาช่วยเหลือลูกค้า สอดคล้องกับที่ World Economic Forum กล่าวว่า AI จะมาช่วยในการเปลี่ยนแปลง มีการใช้ AI ดูแล Network ช่วยทีมงานดูแลด้านการบริการ แนะนำให้ทีมงานพนักงานดูแล - ตอบสนองลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทั้งการขายและการบริการ Personalization แนะนำ Best Offers มีการแนะนำสิทธิประโยชน์ สิทธิพิเศษ

ลูกค้าจะไม่ใช่ Subscribers แต่ทุกคนเป็น Membership” 

"คนไทยมี Infrastructure ระดับ World-Class ทุกคนความภูมิใจที่ประเทศไทยมี 5G เป็นหน้าเป็นตาแทบจะดีที่สุดในโลก ทรู จึงต้องดูแลลูกค้าให้ดี พร้อมกับใช้ GPT เข้ามาช่วยสร้าง Digital eco-system เชื่อมโยงไปหาพาร์ทเนอร์ นอกจากนี้ สร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ความรู้และทักษะเก่า ไม่สามารถใช้ได้แล้ว ต้อง re-skill/up-skill มีความสามารถด้าน AI โดยมุ่งเป้าสร้าง Digital Citizen 2,400 คน มี Hackathon ภายใน - ภายนอกองค์กร ในปี 2024 จะเป็นปีที่ทรูจะ Transform ให้เติบโต ได้ผลกำไรดีขึ้นในทุกไตรมาส ส่วนในปี 2025 เป็นต้นไป จะสร้างผลกำไรให้เติบโตอย่างยั่งยืน สร้าง Value-Creation เให้กับ Telco-Tech เติบโตเช่นกัน"

เมื่อย้อนกลับไปในปี 2022 ผู้ใช้ 5G เกาหลี มีประมาณ 45% ผู้ใช้ 5G ญี่ปุ่น 26% ไทยเวลานั้นมีเพียง 13% แต่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา ไทยมีผู้ใช้ 5G เพิ่มถึง 20% แล้ว

Digital Service  และ IoT ครอบคลุมผู้ใช้มือถือทุกคน

"ในปี 2023 ที่ผ่านมา เดือนมกราคม คนไทย 1 คน มีการใช้เน็ต ฟังเพลง จ่ายเงินต่างๆ โดยใช้มือถือกัน 4 ชั่วโมง 40 นาที และเมื่อเทียบกับในเดือนมกราคม 2567 พฤติกรรมการใช้มือถือคนไทย ใช้กันมากขึ้น สูงขึ้น 5 ชั่วโมง 38 นาที คนไทยใช้เน็ตกันสูงขึ้น มากขึ้น และจะมากขึ้นเรื่อยๆ"

ESG สิ่งแวดล้อม อากาศร้อน ทรู จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ประเทศไทย มีการปรับเสา Consolidate เสาเพื่อลดโลกร้อน ลดการใช้พลังงานทุกเวลา โดยทำเพื่อธุรกิจ และอีกส่วนนึงเพื่อรักษ์โลก ตลอดจนในแง่ของภาคสังคม มุ่งมั่นขยาย 5G สู่ 99% ในปี 2030 สร้างการเข้าถึง การเรียน การศึกษา ทรูปลูกปัญญา ConexED ติวเตอร์ ตั้งเป้าหมายผู้ใช้ 36 ล้าน เพื่อสร้างอาหารสมองให้เด็กไทย


ชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า "ทรูก้าวสู่ No.1 World-Class Customer Experience นำ AI มาใช้ นำเสนอสิทธิประโยชน์แบบเฉพาะเจาะจง และที่น่าสนใจคือมีการเผยข้อมูล Mari AI โฉมใหม่ (Mari Gen 2) ที่ผนวกเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ (Humanoid) เข้ากับเทคโนโลยี AI สามารถให้ข้อมูลและแนะนำบริการได้อย่างรวดเร็วแบบอัตโนมัติ และลดความซ้ำซ้อน จากหลายแอปพลิเคชันเป็นหนึ่งเดียว (One Application)

Mari AI โฉมใหม่ ติดต่อสอบถาม แก้ปัญหาการใช้งานผ่านแอปฯ

GenAI เป็น engine พาร์ทเนอร์ที่มาสร้าง AI ให้ตรงกับความต้องการ Mari AI ใช้ 5 ตัวจำง่ายๆ คือ A,B, C, D, E มาจาก AI, BlockChain, Cloud, Data, Edge เบื้องหลังของ Mari มีหลายอย่าง ใช้ทั้ง Data, AI, Cloud ลูกค้าจะถามตอบ เป็นประโยคที่มีความซับซ้อนได้ นอกจากการแชท มีเสียง ที่ช่วยพนักงาน Call Center ทำให้พนักงานทำงานได้เร็วขึ้น Mari จะมาช่วยพนักงานและทำให้ตอบลูกค้าได้เร็วขึ้น รอติดตามในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

"ในเรื่องคุณภาพสัญญาณ ลูกค้าได้รับผลกระทบคุณภาพสัญญาณจากการควบรวมเครือข่าย แต่หลังควบรวมจะค่อยๆ ดีขึ้นต่อเนื่อง การรวมกันทำให้มี Network ของ True และ dtac ที่ช่วงแรก ยังไม่ได้รับการจัดระเบียบ แรกๆ จะมีการโรมมิ่งกัน พอมีการจัดระเบียบคุณภาพสัญญาณจะดีขึ้น ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น ลูกค้าทุกคนใช้เสาได้ประโยชน์ได้เต็มที่ 2,000 กว่าเสา ทำแล้วเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ปี 2024 นี้ตั้งเป้าอีก 8,000 เสา รวมทั้งหมดเป็น 10,000 เสา ส่วนการขยายเสา 5G ส่วนหนึ่งของการลงทุน มีการ Consolidate ขยายเครือข่ายต่อเนื่อง และมั่นใจว่า ภายในปีนี้ ประสบการณ์การใช้งาน 5G ของลูกค้าจะดีขึ้น"

พฤติกรรมผู้ใช้มือถือเพิ่มสูงขึ้น แอปวีดีโอ มีการใช้งานมาก จากใช้มือถือจาก 4 ชั่วโมงกว่าต่อวัน เป็น 5 ชั่วโมงต่อวัน ก่อนหน้านี้พฤติกรรมใช้ Facebook, Instagram เมื่อเป็นยุคของวีดีโอ Tiktok ทำให้มีการใช้ดาต้าเพิ่มมากขึ้น การส่ง LINE เราอยากได้ภาพชัด รูปใหญ่ ส่งภาพแบบ Original ทำให้ใช้เน็ตเพิ่ม โดยที่ผู้ใช้อาจจะไม่รู้ตัว มือถือกล้องคมชัด ถ่ายภาพ ไฟล์ใหญ่ ทำให้ใช้เน็ตเพิ่มขึ้นด้วย หลายคนใช้ดิจิทัลเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้ยังใช้ประชุมนอกสถานที่ VDO Call ในส่วนของแพ็กเกจของทรูจึงตอบสนองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน และทำให้มีแพ็กเกจทางเลือกที่ถูกกว่าให้เลือกใช้งาน

"แม้เน็ตจะดีขึ้น แต่ก็ยังมีการร้องเรียนอยู่ ซึ่งหากดูจากผลการวัดความพึงพอใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าเดิม ถือว่ามีการร้องเรียนลดลง การที่ทรูเป็นโอเปอเรเตอร์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีการร้องเรียนเลย มีการจัดการ capacity, speed ลูกค้าน่าจะได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน"


Digital Banking /Virtual Bank ยังอยู่ในกระบวนการการพิจารณา

"ทรู ให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาลดังกล่าวด้วย แต่อาจจะเน้นการเป็นพาร์ทเนอร์ (Partnership) ของธนาคารไร้สาขามากกว่า"

การประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ของ NT ที่จะหมดอายุ

เรื่องคลื่นความถี่เป็นเรื่องสำคัญมากของธุรกิจโทรคมนาคม เวลานี้ทรูกำลังรอเรื่องของข้อกำหนดของ กสทช. กติกา กรอบเวลา (Timeline) จะต้องดูเงื่อนไขก่อน ตอนนี้สนใจ แต่จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธุรกิจ ต้องดูราคาว่าเหมาะสมหรือไม่ จะมีการพิจารณาราคา คลื่น 2100MHz, 2300MHz, 3500MHz  และมองว่าประเทศไทยไม่ควรจ่ายค่า license แพงกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก โลกมีความผันผวนของเทคโนโลยีมากมาย ต่อไปมี 6G จะต้องรอบคอบในการลงทุน


ประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีของทรู ให้รายละเอียดเสริมด้วยว่า "ตอนนี้ทรูสนใจทุกคลื่นที่เปิดประมูล แต่จะต้องมีความชัดเจน มีแผน Roadmap ของ กสทช. เพราะจากที่อยู่ในวงการมา 10 - 20 ปี เคยมีประสบการณ์มาแล้ว อีก 7 วัน คลื่นจะหมด แล้วจะโดนปิด จะไปยังไงต่อ กสทช.จะต้องมีแผนที่ชัดเจน ทำให้ผู้ให้บริการวางแผนกันได้ยาวๆ เพื่อจะให้วางแผนประมูลคลื่นให้เหมาะสมด้วย"

อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างองค์กรทรู หลังควบรวมครบ 1 ปี ทีมงานทั้งหมดเสมือน Beyond Expectation ที่เกินความคาดหวังในการรวมกันของ 2 บริษัท แน่นอนเมื่อมีความแตกต่าง แต่มีการวางระบบที่ดีในการทำงานร่วมกัน มีแผน มีการมองอนาคต เพื่อองค์กรในวันข้างหน้า มีการมองไปถึงเรื่องการทำงานในยุค AI พัฒนาทุกส่วน ทุกแผนกในการใช้เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อรองรับวิสัยทัศน์ในอนาคต Telco-Tech