20 พ.ย. 2566 816 1

เดินหน้าปีที่ 7 แผนงานมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ชูแนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วน สานต่อการศึกษาไทย ประจำปี 2566

เดินหน้าปีที่ 7 แผนงานมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ชูแนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วน สานต่อการศึกษาไทย ประจำปี 2566

รวมพลังต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 สานต่อเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย ให้ก้าวไกลอย่างมั่นคงและยั่งยืน...มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (แถวแรกบนเวที - กลาง) ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดการประชุม แนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วนในการสนับสนุนการศึกษาไทย ประจำปี 2566แกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 3 ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ โดยมีคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ (แถวแรกบนเวที - ที่ 12 จากขวา) ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดย ศุภชัย เจียรวนนท์ (แถวแรกบนเวที - ที่ 12 จากซ้าย) ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ พร้อมด้วยซีอีโอ คณะผู้บริหารจากองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หารือและวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปซึ่งจะเน้นให้โรงเรียนส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง (Child-Centric Learning) และการลงมือปฏิบัติ (Action-based Learning) เพื่อส่งเสริมการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร (Extracurricular) ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center)  ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจ ค้นคว้า ทดลอง นำไปสู่การอภิปรายด้วยเหตุผล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ตลอดจนปรับ KPIs ให้ท้าทายยิ่งขึ้น ทั้งเพิ่มน้ำหนักการประเมินด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดย่อยมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังกำหนดเป้าหมายให้เพิ่มโรงเรียนคุณภาพระดับยอดเยี่ยม (Excellent) สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มีทั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และส่งเสริมให้เด็กค้นพบศักยภาพของตัวเอง พัฒนาหลักสูตรที่สร้างภูมิคุ้มกันทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนเชื่อมโยงภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาท ในการพลิกโฉมศักยภาพเด็กไทยให้เป็นเด็กดี มีความสามารถ ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต




ภายใต้ความร่วมมืออันเข้มแข็งของทุกภาคส่วน ปัจจุบันมีโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่อยู่ในสังกัดสพฐ. จำนวน 5,570 แห่ง ทั่วประเทศ มีนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาสะสมแล้วกว่า 2.31 ล้านคน บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพ มากกว่า 82,000 คน ขณะที่มีผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ผ่านการพัฒนาทักษะผู้นำ 1,567 คน มีผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ภาครัฐและเอกชน 2,000 คน ดูแลครอบคลุม 4,100 โรงเรียน และในปี 2566 มูลนิธิฯ ได้เพิ่มเครือข่ายพันธมิตรอีก 5 องค์กร ขยายจาก 12 องค์กรชั้นนำผู้ร่วมก่อตั้ง 19 องค์กรรุ่นที่ 2 และ 16 องค์กรรุ่นที่ 3 เดิม รวมปัจจุบันเป็น 52 องค์กร โดยผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่


ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส (Transparency)

  • ได้มีการจัดทำวิจัยพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณภาพโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีในยุคดิจิทัลที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อยอดจากการประเมินคุณภาพโรงเรียนในเชิงปริมาณ (School Grading) โดย คณะวิจัยจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพและพบว่า ICT Talent และ Learning Center รวมถึงอุปกรณ์ไอซีทีในโรงเรียน  มีส่วนช่วยให้นักเรียนพัฒนามากขึ้น สร้างเจตคติที่ดีในการเรียน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าแสดงออก โดยจะนำผลการวิจัยนี้ไปปรับตัวชี้วัดใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อใช้วางแผนพัฒนาโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีให้ตรงจุดมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms)

  • ได้จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) อย่างต่อเนื่อง เสริมทักษะต่างๆ ทั้งการสื่อสาร การพัฒนาความเป็นผู้นำ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้อื่น 
  • โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี 99 แห่ง ได้รับเงินบริจาค 20.6 ล้านบาท จากการระดมทุนโครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) เพื่อนำไปจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมติดตั้ง Filtering Software ให้แก่นักเรียน
  • ภาครัฐได้ขยายผลองค์ความรู้จากภาคเอกชน 17 โมเดล สู่โรงเรียนในสังกัดสพฐ. นำโมเดลที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนไปศึกษาและประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ได้จัดทำรายชื่อคณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน ทั้ง 5 คณะ ประจำปี 2566 และเพิ่มเติมรายชื่อคณะทำงานที่ 6 ด้านนโยบายและบุคลากรทางการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อให้การทำงานระหว่างรัฐและเอกชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers)

  • ได้จัดอบรมออนไลน์แก่บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีภายใต้การดูแลของ สพฐ. รวมถึงกลุ่มโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โดยส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้บุคลากรทางการศึกษา 3,500 คนได้รับการอบรมด้านทักษะดิจิทัล มีความมั่นใจในการนำปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งได้ผลตอบรับอย่างดีจากนักเรียน
  • ได้จัดอบรมให้แก่ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) อย่างต่อเนื่อง เปิดรับสมัคร ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 4 จำนวน 500 คน (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2566) พร้อมผลักดันนโยบายรับสมัคร ICT Talent ภาครัฐ เพิ่ม 500 คน/ปี ปัจจุบัน มี ICT Talent ทั้งสิ้น 2,000 คน 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum)

  • ส่งมอบชุดนวัตกรรมคุณธรรมคอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Moral Innovation) ให้แก่ภาครัฐเพื่อนำไปวิจัยและขยายผล พร้อมเผยแพร่บนเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ connexted.org
  • ขยายผลจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) จากที่บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ริเริ่ม 9 แห่ง ปัจจุบันเพิ่มเป็น 63 แห่งทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งในจำนวนนี้ มีของภาครัฐ 6 แห่ง  โดยจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาด้านศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและหลักสูตรพัฒนาการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร (Extracurricular)ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู ร่วมกับคณะวิจัยจากสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เดินหน้าจัดทำคลังความรู้ “Learning Zone : พื้นที่เรียนรู้ สู่อนาคตรายการโทรทัศน์เสริมทักษะความรู้ที่ 19 องค์กรภาคเอกชน ได้ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้และทักษะในด้านต่างๆ ส่งผลให้เยาวชน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ได้นำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและต่อยอดการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures)

     จัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจากโครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) แก่โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี 99 แห่ง พร้อมติดตั้งสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และ Filtering Software เพื่อป้องกันการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนอบรมความรู้ในการจัดกระบวนการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเป็นฐาน (Notebook-based Learning) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้คุณครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจากผลสำรวจ นักเรียน มีทักษะการใช้อุปกรณ์ไอซีทีและทักษะการสืบค้นที่ดียิ่งขึ้น

     องค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง และองค์กรพันธมิตรภาคเอกชน ได้ร่วมบริจาคคอมพิวเตอร์มือสองกว่า 6,000 เครื่องให้แก่โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่ในความดูแล 300 แห่ง


ในโอกาสนี้ ตัวแทนคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี ยังได้มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวแห่งความสำเร็จจาก พัฒนาการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร (Extracurricular) ได้แก่ โรงเรียนวัดกำแพง จ.ชัยนาท ภายใต้การดูแลของบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โรงเรียนต้นแบบที่นำการจัดการเรียนการสอนในศูนย์ Learning Center มาสร้างสรรค์โครงการ Pomelo of PBL ตามกระบวนการ Active -based Learning ทำให้เด็กและชุมชนได้มีโอกาสร่วมกันหาแนวทางเพิ่มมูลค่าส้มโอ ของดีชัยนาท พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย และโรงเรียนวัดกระทุ่ม (โสมประชาสรรค์) จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้การดูแลของของบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่เข้าร่วมโครงการ OTOP Junior นำเสนอผลิตภัณฑ์ทองม้วน และได้รับรางวัลชนะเลิศ OTOP Junior ปี 2017 พร้อมได้รับเงินทุนในการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น จนได้โอกาสนำผลิตภัณฑ์ทองม้วนไปนำเสนอและจำหน่ายที่สาธารณรัฐประชาชนจีน



ทั้งนี้ สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-858-1881-2 หรืออีเมล : Partners.connexted@gmail.com รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิฯ ได้ที่ connexted.org

#มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี #CONNEXTEDfoundation

เว็บไซต์http://connexted.org

FB: CONNEXT ED

เกี่ยวกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Foundation)

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 จากโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ต่อมาจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิในปี 2563 โดยมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้มั่นคงและยั่งยืน ตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลัก พร้อมเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาส่งเสริมการศึกษาเยาวชนไทย

ปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนชั้นนำของไทยรวมแล้ว 52 องค์กร โดยมี 12 องค์กรเอกชน ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, กลุ่มเซ็นทรัล, บมจ. ซีพี ออลล์, บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, กลุ่มมิตรผล, กลุ่มปตท., ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), เอสซีจี, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ต่อมาในระยะที่ 2 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการอีก 19 องค์กร ได้แก่ บจ. ไทยฮอนด้า, บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ. บ้านปู, บมจ. บีอีซี เวิลด์, บจ. เบอร์แทรม (1958), บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย), บจ. เอดู พาร์ค, โรงเรียนเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่, บจ. โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์), บจ. เควี อิเล็กทรอนิกส์, บจ. เลิร์น คอร์ปอเรชั่น, บจ. แม็คเอ็ดดูเคชั่น, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, บจ. เอส เค โพลีเมอร์, บจ. สลิงชอท กรุ๊ป, ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย, บจ. ไทยโตชิบาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และบจ. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี, บจ. เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย)

หลังจากนั้นในระยะที่ 3 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการ อีก 16 องค์กร ได้แก่ บจ. แอมิตี  บมจ. บี.กริม เพาเวอร์  บมจ. ซี.พี.แลนด์ บจ. เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า บจ. โพรนาลิตี้ บมจ. สมิติเวช กลุ่มธุรกิจ ทีซีพี บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ บมจ. วีจีไอ ธนาคารออมสิน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล บจ. ไตรโซลูชั่น และล่าสุด ในระยะที่ 3 นี้ มีเครือข่ายพันธมิตรใหม่เข้าร่วมอีก 5 องค์กร ได้แก่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บจ. เอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) บจ. ฟู้ดแพชชั่น และบจ. ทรู ดิจิทัล พาร์ค