9 มิ.ย. 2566 13,078 38

AIS จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยกระดับภาคอุตฯ การผลิตไทย ด้วย 'AIS 5G Manufacturing Platform' หนุนผู้ประกอบการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น One Stop

AIS จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยกระดับภาคอุตฯ การผลิตไทย ด้วย 'AIS 5G Manufacturing Platform' หนุนผู้ประกอบการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น One Stop

สืบเนื่องจากการยกระดับ SME เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0 Platform เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การยกระดับ ในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการ Monitor สถานะเครื่องจักร, พลังงานไฟฟ้า, การวัดประสิทธิภาพการผลิตแบบ Realtime Overall Equipment Effectiveness (OEE), การเชื่อมโยงเครื่องจักร แบบ Realtime สิ่งที่ใช้เชื่อมโยงคือ Platform และ Platform ยังเป็นเครื่องมือ ในการให้ข้อมูล ในการปรับปรุงโรงงาน ให้มีการยกระดับได้อย่างมีทิศทาง และดีขึ้น โดยปัจจุบัน Platform ต่างๆ ที่ใช้ใน Industry 4.0 ราคาค่อนข้างสูง ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงมีวัตถุประสงค์  ส่งเสริม SME ให้เข้าถึง Platform ในราคาที่ SME จับต้องได้จึงเกิดความร่วมมือ กับ AIS



เพราะ AIS คือ Operator ที่ยังคงเดินหน้านำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ยกระดับภาคอุตสาหกรรม ตอกย้ำความเป็นที่ 1 ตัวจริง และผู้นำการให้บริการดิจิทัลและโซลูชัน ที่ได้รับการยอมรับสูงสุดจากกลุ่มผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และ SME พร้อมเชื่อมต่อการทำงานกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจแบบร่วมกันหรือ ECOSYSTEM ECONOMY ล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการผลักดันและสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีขีดความสามารถใหม่ๆ สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการผลิต เครื่องจักร ทั้งในเรื่องของการเพิ่มความแม่นยำ การวิเคราะห์ วัดผล หรือแม้ระบบติดตามผล ด้วยเครื่องมือด้านดิจิทัลเทคโนโลยีจาก IoT เต็มรูปแบบ ที่มาพร้อมโซลูชัน AIS 5G Manufacturing Platform บน PARAGON Platform


สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “เพราะเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า 5G คือหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ผ่านมาเราจึงเข้าประมูลคลื่นความถี่ 5G มาในปริมาณมากที่สุด พร้อมลงทุนในการพัฒนาโครงข่าย Digital Infrastructure ให้แข็งแรงต่อการเป็นรากฐานสำคัญในเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ  ECOSYSTEM ECONOMY อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนตามเป้าหมายข้างต้น โดยครั้งนี้เรารู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้ทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกครั้ง ด้วยการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามาเชื่อมต่อให้ผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มโรงงาน ภาคการผลิตต่างๆ สามารถบริหารจัดการธุรกิจผ่านการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นได้แบบ One Stop เพราะนอกจากจะสามารถยกระดับการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ลดต้นทุน รองรับโอกาสและการเติบโตในอนาคตจาก Business Model ใหม่ๆได้แล้ว ยังช่วยให้แข็งแกร่งพอที่จะแข่งขันได้ในระดับสากลอีกด้วย”

ด้วย AIS 5G Manufacturing Platform ที่วันนี้ทำงานอยู่บน PARAGON Platform (แพลตฟอร์ม 5G ที่รวมศูนย์การบริหารจัดการ 5G, Edge Computing, Clouds และ Applications มาไว้ที่เดียวแบบ One Stop Service ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เองอย่างสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและงบประมาณในแต่ละช่วงเวลา)  ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี IoT ที่ทำงานอยู่บน 5G Private Network จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์การทำงาน และสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมได้แบบเรียลไทม์  และ One Stop เพราะ AIS 5G Manufacturing Platform มีความสามารถในการวัดประสิทธิภาพและช่วยติดตามการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์มในด้านต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย

·      Machine Monitoring สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์

·      Overall Equipment Effectiveness (OEE) Monitoring & Manufacturing Execution System (MES) หัวใจหลักในภาคอุตสาหกรรม ที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรได้ตลอดเวลา พร้อมระบบติดตาม ตรวจสอบและออกรายงานด้านการผลิตได้อย่างละเอียด แม่นยำ เป็นระบบ

·      Energy Management ระบบในการตรวจสอบการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรกลต่างๆ ทั้งในช่วงเวลาที่ทำการผลิตและนอกเวลาการผลิต เพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์และหาวิธีการปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้


เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “FTI ในฐานะองค์กรหลักที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย มีสมาชิกในเครือข่าย จำนวน 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ภารกิจของ FTI เรามีเป้าหมายที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0  สำหรับความร่วมมือกับ AIS ครั้งนี้ จะทำให้กลุ่มผู้ประกอบการ SME สามารถนำแพลตฟอร์ม AIS 5G Manufacturing Platform ไปใช้ในการบริหารจัดการระบบโรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของไทยไปสู่ Industry 4.0  ได้ในที่สุด”



สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรม และสนใจในโซลูชันนี้ สามารถติดต่อได้ที่ Line: @icticlub, Facebook: icticlub,Email: icti.connect@gmail.com หรือสามารถดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมได้ที่ https://business.ais.co.th/5g/smartManufacturing/5g-manufacturing-platform.html

เกี่ยวกับ AIS

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1460 MHz (นับรวมคลื่นความถี่ที่ร่วมมือกับพันธมิตรรวมถึง NT ซึ่งอยู่ระหว่างการอนุมัติจาก กสทช.) และมีจำนวนผู้ใช้งานสุดกว่า 46.1 ล้านเลขหมาย (ณ มีนาคม 2566) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ AIS eSports, AIS Insurance Service ทั้งหมดนี้เพื่อเดินหน้าตามวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ที่พร้อมนำศักยภาพเข้าสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน พบกับเราได้ที่ www.ais.th

เกี่ยวกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries – F.T.I.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ..2510 โดยเริ่มแรกก่อตั้งในนาม สมาคมอุตสาหกรรมไทย (The Association of Thai Industries – ATI) โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่สมาคมอุตสาหกรรมไทยได้แสดงบทบาท และสร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยได้เป็นตัวแทนภาคเอกชนด้านอุตสาหกรรมในคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.. 2530 รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.. 2530 ในราชกิจจานุเบกษา ยกฐานะสมาคมอุตสาหกรรมไทยขึ้นเป็น “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันเอกชนด้านอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์การกลาง เป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมไทย ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรม เป็นองค์การที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งมีภารกิจหลัก คือ ส่งเสริมสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมและมุ่งมั่นพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชนของประเทศให้แข็งแกร่ง ทำหน้าที่เป็นกลไกพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยสภาอุตสาหกรรมฯ เป็นศูนย์กลางหลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงงานด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ และกับภาคต่างประเทศ (2) ศูนย์บริการด้านพัฒนาอุตสาหกรรม (3) ศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม และ (4) ศูนย์แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมให้กับสมาชิกทุกขนาด และทุกประเภท ทั้งที่เป็นสมาชิกและมิได้เป็นสมาชิก โดยสภาอุตสาหกรรมฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมทั้งหมดในประเทศไทย

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้กำหนดบทบาทของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไว้ อาทิเช่น เข้าร่วมกำหนดนโยบายและร่วมวางแผนกับภาคราชการในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการนำเสนอข้อมูลและปัญหาต่างๆ ด้านอุตสาหกรรมต่อภาครัฐบาล โดยผ่านสภาอุตสาหกรรมฯ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น