22 ส.ค. 2566 1,318 2

NT เปิดแผนโครงการท่อร้อยสายใต้ดินปี 2566 พร้อมพัฒนาเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider ร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. องค์กรภาครัฐ และเอกชน

NT เปิดแผนโครงการท่อร้อยสายใต้ดินปี 2566 พร้อมพัฒนาเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider ร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. องค์กรภาครัฐ และเอกชน

NT เปิดแผนโครงการท่อร้อยสายใต้ดินปี 2566 ร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. องค์กรภาครัฐ และเอกชน จัดระเบียบสายสื่อสารลงใต้ดิน มุ่งต่อยอดโอกาสในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานพร้อมพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน


มรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ด้วยศักยภาพความพร้อมของท่อร้อยสายใต้ดินของ NT ที่มีอยู่แล้ว 4,450 กิโลเมตร แบ่งเป็นท่อร้อยสายในพื้นที่นครหลวง 3,600 กิโลเมตร และภูมิภาค 850 กิโลเมตร จึงทำให้ NT เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.)  เทศบาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย โดย NT ให้บริการให้เช่าใช้ท่อร้อยสายใต้ดินกับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการโทรคมนาคม แทนการพาดสายสื่อสัญญาณต่างๆ ผ่านเสาไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. พร้อมกับ NT มีแนวทางพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน เป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแผนการดำเนินงานนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินในปี 2566 จะสอดคล้องกับแผนงานของ กสทช. กฟน. กฟภ. กทม. เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดระเบียบสายสื่อสารเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงาม เพิ่มศักยภาพและความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสารจากอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้


1.  แผนงานโครงการปรับเปลี่ยนสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อรองรับการเป็นมหานครอาเซียน จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทาง ประมาณ 127 กม. โดยมีแผนที่จะดำเนินการในปี 2566 เช่น ถนนอังรีดูนังต์ ถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน ถนนรามคำแหง ถนนศรีนครินทร์ เป็นต้น

2.    แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ตามนโยบายสำนักงาน กสทช. โดยมีแผนในปี 2566 เช่น ถนนมหาราช ถนนอโศก ถนนรัชดาภิเษก ถนนอิสรภาพ เป็นต้น

3.    แผนงานโครงการร่วมกับ กทม. เส้นทางปรับปรุงทางเท้า 13 เส้นทาง เช่น ถนนเยาวราช ถนนสุทธิสาร (อินทามระ) ถนนพระราม 4 เป็นต้น

4.    แผนงานโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย ระนอง หนองคาย ชลบุรี ภูเก็ต พัทยา หาดใหญ่ เป็นต้น

5.    แผนงานโครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ส่วนต่อขยาย

6.    แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ กับ NT ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจโดยมีสนามบินอู่ตะเภาและชุมชนถนนสุขุมวิท ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 เส้นทาง ยังเหลืออีก 7 เส้นทาง

ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา NT มีการจัดระเบียบสายสื่อสารไปแล้วหลายเส้นทาง โดยเฉพาะมีการจัดระเบียบสายสื่อสารแบบการใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน (Single Last Mile) เพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า โดยผู้ประกอบการโทรคมนาคมลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก (Core) และ NT เป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมปลายทาง (Last Mile) เข้าสู่บ้านเพื่อให้บริการลูกค้าทั้งแบบแขวนอากาศและแบบอยู่ใต้ดิน โดยมีการสร้างจุดเชื่อมต่อจากโครงข่ายหลัก (Core) เข้าสู่บ้านเรือนหรืออาคารของผู้ใช้บริการเป็นการรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการและลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้ให้บริการ ตอบโจทย์ความมั่นคง และมีเสถียรภาพทางการสื่อสารและโทรคมนาคม สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในรูปแบบ Single Last Mile แขวนบนอากาศบริเวณพื้นที่ ถนนนาคนิวาส กรุงเทพมหานคร และ Single Last Mile แบบลงท่อร้อยสายใต้ดิน บริเวณพื้นที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ถนนพัทยาเหนือ จังหวัดชลบรี ถนนอุดรดุษฎีและถนนโพธิ์ศรี เทศบาลเมืองอุดรธานี และมีแผนการดำเนินการในอีกหลายพื้นที่ เช่น ถนนเยาวราช


การดำเนินงานในการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ผ่านมา เป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนและลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยมีการใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความมั่นคงและมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไม่มีสายสัญญาณร่วงหล่นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ลดความไม่เป็นระเบียบของสายสื่อสาร ช่วยปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงามมรกต กล่าว

นอกจากนี้จากการได้พูดคุยกับคุณมรกต กล่าวกับ Adslthailand เพิ่มเติมด้วยว่า "NT มีท่อร้อยสายใต้ดินจำนวนมาก มีการนำทองแดงไปขาย แล้วเอาท่อร้อยสายใส่เข้าไปแทนสายทองแดงเดิมที่อยู่ใต้ดิน ก็เลยได้ท่อร้อยสายสื่อสาร เป็นผลิตผลอีกอย่าง นอกจากเอาทองแดงไปขายเป็นรายได้ และได้ท่อร้อยสาย โดยในแต่ละเส้น จะมีท่อแบบนี้อยู่ 6-12 ข้อ (ดัก) โดยใน 1 ดัก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว มีแบบนี้เยอะ แต่ไม่ถูกใช้งาน เพราะสายสื่อสารยังมีเสา โดยในท่อ บางเส้นก็เลยรอเก้ออยู่ 5 - 10 ปี โดยไม่ถูกใช้งานเลย แต่จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะสร้าง แต่มีการนำเอาทองแดงไปขาย ใต้ถนนระยะทาง 4,000 กว่ากิโลเมตร แต่เอาจริงๆ บนถนนเส้นนึงมีมากกว่า 4,000 กิโลเมตร เพราะมีทองแดงทั้ง 2 ข้าง ตอนนี้ยังมีทองแดงอยู่ในถนนบางเส้น บางเส้นอยู่ใต้ผิวถนน เลนที่ 1 ในยุค 50 ปีก่อน บางเส้นอยู่ใต้ฟุตบาท เมื่อสมัย 50 ปีก่อน บางที่ก็ไม่มีฟุตบาท พอท่ออยู่ใต้ผิวถนน ผ่านไป 50 ปี มีการขยายผิวถนน จาก 2 เลน เป็น 4 เลน เป็น 6 เลน จากที่อยู่เลนแรก ก็กลายเป็นเลนที่ 2 บางเส้นทางก็อยู่กลางถนนเลย จากเมื่อก่อนคือริมถนน ถ้าสังเกตท่อพวกนี้จะมีฝาเป็นเหล็กปิดอยู่ เวลาถมถนน เขาราดถนนใหม่ ก็เลยจำเป็นต้องทำบ่อเสริมให้ฝาท่อสูงขึ้น ไม่ให้ท่อหาย ต้องเปิดท่อได้อยู่ บางเส้นลึกไปถึง 1 เมตรกว่าจากฝาท่อเดิม แต่เดิมประมาณ 50 เซ็นติเมตร โดยท่อพวกนี้มีอยู่เยอะ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง"

ยุคก่อนสายโทรศัพท์อยู่ในเขตเมือง เป็นของทันสมัยในยุคนั้น ใครมีโทรศัพท์บ้านคือต้องเป็นย่านชุมชน เมือง แนวกรุงเทพชั้นใน ดังนั้นการที่จะเอาสายไฟฟ้าลงดินได้ จะต้องมีสภาพที่เหมาะสม โดยภาษากฎหมายคือสภาพบังคับ เมื่อใดก็ตามที่เสาไฟฟ้าหายไป เมื่อนั้นสภาพบังคับเกิด แต่หากเสาไฟฟ้าไม่ได้หายไป แต่อยู่ๆ ใครก็ตามไปบังคับให้โอเปอเรเตอร์ที่แขวนสาย เอาสายออก ไปยุ่งกับสายผู้อื่น จึงมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ของกสทช. คุ้มครองมานานแล้วว่า เป็นคดีอาญา หรือถ้าหากมีใครก็ตามไปสั่ง แล้วนำเอาสายลงใต้ดิน ก็ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้ ก็เลยทำให้มีข้อจำกัด ดังนั้น หากไม่มีข้อบังคับ ไม่มีสภาพบังคับ โอเปอเรเตอร์มีสิทธิแขวนสายสื่อสาร หากแขวนสายสื่อสารอยู่แล้วไปรื้อ โดยโอเปอเรเตอร์ไม่เห็นด้วย ไม่อนุญาต ถูกฟ้องได้ สภาพบังคับจึงมีผลต่อการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่

"การทำให้เสาหาย เจ้าของเสา กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) เสาคอนกรีตเป็นของ กฟน. (การไฟฟ้านครหลวง) การที่เสาจะหายได้ ก็คือสายไฟฟ้าต้องมีอยู่ใหม่ การไฟฟ้าทำเสาไฟฟ้าเพื่อใช้แขวนเสาไฟฟ้า ส่วนสายสื่อสารเป็นผลพลอยได้ภายหลัง การทำให้สายไฟฟ้าหาย ก็ต้องมีท่อ การไฟฟ้าก็ทำ แต่ต้องใช้เวลาเยอะ แต่การทำท่อร้อยสายไฟฟ้าจะต้องทำใหม่หมด ต้องขุด ต้องรบกวนผิวจราจร ต้องทำใต้ผิวจราจร แล้วหลายเส้นทางไม่อนุญาตให้ทำ อย่างในกรุงเทพ หลายจุดก็ไม่อนุญาตให้ทำ ก็เลยมีไอเดียว่า สายไฟฟ้าก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่ น่าจะใส่ในท่อร้อยสายสื่อสารได้ เมื่อพิจารณาแล้วขนาดก็เหมือนกับท่อร้อยสายสื่อสารของ NT เลย เพียงแต่ Man Hole (บ่อสี่เหลี่ยม) จะใหญ่กว่า Man Hole ของท่อร้อยสารสื่อสาร แต่ขนาดท่อก็เหมือนๆ กันเลย แล้วก็มีอยู่ไม่กี่เส้น 5-6 ท่อเอง ถ้าเป็นท่อไฟฟ้า ไฟ 3 เฟส จะมีสายอยู่ 4 เส้น สายไลน์ จะมี ไลน์ 1, 2, 3 แล้วก็มีสายดิน (สายกราวน์) 1 เส้น ถ้าต่อไฟเป็น 3 เฟส จะได้แรงดัน 380 แต่ถ้าต่อเป็น Singal เฟส หรือไฟเฟสเดียว (1 เฟส) จะได้แรงดัน 220 ถ้าไฟ Singal Phase มี 2 เส้น ถ้าเป็น 3 เฟสมี 4 เส้น ดังนั้นเต็มที่มี 4 เส้น แต่มี 2 วงจร เป็นไฟสำรอง หากไฟวงจรนึงดับ อีกวงจรก็ใช้สำรองไฟได้ ทั้งหมดคือเต็มที่ 8 เส้น ถนนบางเส้นมีเส้นวงจรไฟสำรอง ถนนบางเส้นไม่มีวงจรไฟสำรอง แต่ทองแดงมีเยอะ ร้อยไม่ยาก ระหว่างบ่อกับบ่อ ระยะประมาณ 50 เมตร จะต้องเคลียร์ท่อก่อน ล้างหัวท้าย มีที่ดึง มีสายดึง โดยสายสื่อสาร สายไฟเบอร์เป็นใยแก้ว ไฟไม่ดูดแบบสายไฟฟ้า แต่สายไฟฟ้าฝังดิน มีท่อช่วยหุ้มอีก ปลอดภัยกว่าเยอะ ไม่ช็อต ซึ่งสายไฟฟ้าที่นำลงดินจะเป็นชนิดพิเศษ และมีเรื่องการป้องกันเรื่องการรบกวนคลื่นสนามแม่เหล็ก ถนนเส้นยิ่งเล็กจะเป็นสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ แต่ถ้าถนนเส้นใหญ่จะมีสายไฟฟ้าแรงดันสูง ซึ่งจะมีสนามแม่เหล็กแรงมาก จะต้องมี Man Hole ใหญ่ และลึก"



ถ้าหากมองไฟฟ้าในเกาะสมุย ใช้ไฟจากฝั่งสุราษฎร์ธานี ส่วนอินเทอร์เน็ตมีสายไฟ สายใยแก้ว ใช้ไฟจากโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี โดยเดินทางใต้น้ำ ดังนั้นในเมืองจึงสามารถทำได้ ก็เลยได้คุยกับการไฟฟ้า แต่ยังเป็น Proof of Concept ลองพิจารณาดูก่อนว่าทำได้หรือไม่ เพราะแท้จริงมีอะไรอีกมากที่การไฟฟ้าเองจะต้องทำ การร้อยสายเป็นเพียง 20-30 เปอร์เซนต์เท่านั้น ดังนั้น การพูดคุยกันจะเปิดโอกาสให้นำสายไฟลงดินได้ ซึ่งระยะเวลาประมาณ 1 เดือน โดยหลังเลือกตั้ง 2566 ก็น่าจะมีความชัดเจนในการพูดคุย ถ้าเป็นไปได้

"ระยะต่อไป NT อาจจะมีการเก็บค่าเช่า Last Mile Sharing กับโอเปอเรเตอร์ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพูดคุย โดยคิดว่าจะเริ่มทำในบางจุดก่อน เพื่อเป็นแนวทางให้เห็นว่าเป็นอย่างไร เช่น ย่านเยาวราช ที่มีการเปิดผิวถนน แล้วสามารถนำสายไฟและสารสื่อสารลงดิน ได้โดยที่ไม่ต้องเอาเสาไฟฟ้าออก ระยะทางแค่ 1.5 กิโลเมตร" 

สำหรับเป้าหมายในการนำสายสื่อสารลงดินในปีนี้ ประมาณร้อยกว่ากิโลเมตร น่าจะเป็นในช่วงไตรมาสที่ 3

COMMENTS