18 มี.ค. 2566 364 0

Netflix เฉลิมฉลองเรื่องราวของผู้หญิงในเดือนสตรีสากลภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections Of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน

Netflix เฉลิมฉลองเรื่องราวของผู้หญิงในเดือนสตรีสากลภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections Of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน

จากซ้ายไปขวา: ผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย มาร์ลา แอนเชตา, โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล, คามิลา อันดินี, เอเรน เทรน โดโนฮิว, อนูปามา โจปรา และผู้ดำเนินรายการ มาริสสา อานิตา

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากลในปีนี้ Netflix ได้จัดงานอภิปรายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสื่อมวลชน ผู้ทรงอิทธิพล และคนในวงการภาพยนตร์จากทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมงานกว่า 200 คน โดยในงานนี้เป็นการรวมตัวกันของเหล่าครีเอเตอร์และผู้คนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังจาก Netflix ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เพื่อร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์ของผู้หญิงในอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนอิทธิพลของผู้หญิงที่มีต่ออุตสาหกรรมครีเอทีฟในภูมิภาคนี้

เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Netflix ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสะท้อนเรื่องราวบนจอภาพยนตร์ในงานนี้ว่า    "Netflix เชื่อว่าเรื่องราวดี ๆ มาได้จากทุกที่ และผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการสร้างความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจผ่านเรื่องราวที่เราบอกเล่า  ผู้คนจำนวนมากสมควรที่จะได้เห็นชีวิตของพวกเขาบนหน้าจอ และเราต้องการส่งมอบพลังผ่านประสบการณ์ของผู้ชมเมื่อพวกเขาได้ชมเรื่องราวของตัวเองสะท้อนอยู่ในเรื่องราวของเรา”

นอกจากนี้ เอมี่ ยังได้กล่าวเสริมว่า “เราจัดงาน Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้หญิงในอุตสาหกรรมบันเทิงผู้สร้างแรงบันดาลใจทั้งจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ เพื่อเชื่อมโยงผู้คนจากหลากหลายภูมิหลังและวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากลนี้ผ่านการเล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง เพื่อผู้หญิง โดยผู้หญิง”

ไฮไลท์สำคัญของงานคือช่วงการอภิปรายภายใต้คอนเซ็ปต์ Reflections of Me ภาพสะท้อนของตัวฉัน โดยมีนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมเป็นตัวแทนในการอภิปราย ภายในงาน มาริสสา อานิตา นักแสดง เรื่อง Ali & Ratu Ratu Queens (อาลีกับราชินีแห่งควีนส์) นักข่าว และพรีเซ็นเตอร์ชาวอินโดนีเซีย รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมด้วยวิทยากรระดับบล็อคบัสเตอร์ ได้แก่ อนูปามา โจปรา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอินเดีย เอเรน เทรน โดโนฮิว นักเขียนบทชาวเวียดนาม-ไอริช ผู้เขียนเรื่อง A Tourist’s Guide To Love คามิลา อันดินี ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Cigarette Girl (ความรักควันบุหรี่) ชาวอินโดนีเซีย โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล นักแสดงจากเรื่อง Thai Cave Rescue (ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง) ผู้กำกับ ผู้ผลิต และนักเขียนบทชาวไทย และ มาร์ลา แอนเชตา   ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ เรื่อง Doll House (บ้านตุ๊กตา) ซึ่งผู้อภิปรายทุกท่านได้ร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะผู้หญิงที่อยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิง พร้อมเล่าถึงการเดินทางของพวกเธอบนเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ รวมถึงร่วมวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของสตรีในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้กับวงการและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง


สก์ดิยาห์ มะรุฟ ขณะกำลังทำการแสดง Spoken Word


ผู้ร่วมอภิปรายเห็นตรงกันถึงความจำเป็นในการพูดคุยเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อสร้างความเป็นเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้ โดย อนูปามา โจปรา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอินเดีย กล่าวว่า “การพูดคุยเพิ่มเติมในแง่มุมเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการนำเสนอและการเล่าเรื่องจะส่งผลให้สิ่งที่เราเห็นบนหน้าจอมีความเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการร่วมพูดคุยกันในวันนี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้ในที่สุด”


นอกจากนี้ พวกเธอยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการนำเสนอตัวละครผู้หญิงในวงการภาพยนตร์ ซึ่ง คามิลา อันดินี ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอินโดนีเซียได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ผู้หญิงถูกคาดหวังให้เป็นบางสิ่งบางอย่างตลอดเวลา เช่น เป็นแม่หรือภรรยาที่สมบูรณ์แบบ ต้องใช้ชีวิตของเราเพื่อผู้อื่น หรือเป็นคนที่คนอื่นต้องการให้เราเป็น แต่ฉันเข้าใจว่ามันค่อนข้างยากและใช้ความกล้าหาญอย่างสูงในการที่จะตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง ดังนั้นตัวละครของฉันจึงไม่เคยมีแต่ด้านสีขาวหรือดำ พวกเขาต่างมีจุดอ่อนแต่ก็มีคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน” ในขณะที่ เอเรน เทรน โดโนฮิว นักเขียนบทชาวเวียดนาม-ไอริช กล่าวเสริมว่า “เราควรที่จะยอมรับและเข้าใจถึงความซับซ้อนที่มีอยู่ในตัวของผู้หญิงแต่ละคน เพื่อเธอจะได้เป็นตัวเองได้อย่างเต็มที”

เมื่อถามถึงการที่ครีเอเตอร์และนักแสดงหญิงชาวเอเชียได้รับการยอมรับมากขึ้นในแวดวงภาพยนตร์  โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล กล่าวถึงความรู้สึกของเธอว่า  "ผู้หญิงชาวเอเชียควรได้รับโอกาสให้ได้เล่นบทที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อดูภาพยนตร์หรือซีรีย์ที่แสดงโดยผู้หญิงชาวเอเชีย เรามักจะเห็นแม่ที่มีความเข้มงวดหรือลูกสาวที่ต่อต้านครอบครัว ซึ่งจริงๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนที่ต้องนำเสนอให้คาเรคเตอร์ของผู้หญิงมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ตีกรอบให้เราในแบบเดิมๆ ”

ซึ่ง มาร์ลา แอนเชตา   ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ ชี้ว่า ในขณะที่ผู้หญิงดูเหมือนจะได้รับการยกย่องและประสบความสำเร็จมากขึ้นในสื่อกระแสหลัก แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายแก่เหล่าครีเอเตอร์สุภาพสตรี “ผู้คนจะคาดหวังจากเรามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องผลงาน เราจึงจำเป็นต้องสร้างเนื้อหาที่ดีขึ้นและต้องมีความตระหนักรู้ถึงทัศนคติที่หลากหลายของผู้คนมากขึ้น เพื่อให้เราสามารถสื่อสารกับสังคมได้ดีขึ้น” เธอกล่าวปิดท้าย


จากซ้ายไปขวา: เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา,มาร์ลา แอนเชตา, เอเรน เทรน โดโนฮิว, คามิลา อันดินี,โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล, อนูปามา โจปรา, มาริสสา อานิตา และ สก์ดิยาห์ มะรุฟ ถ่ายภาพร่วมกันหลังจบการอภิปราย

ผู้เข้าร่วมงานรับชมบูธกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟ อินสตอลเลชั่น พร้อมแบ่งปันความคิด มุมมอง และเรื่องราวของตนเอง


นอกจากการอภิปรายแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังได้เพลิดเพลินกับการแสดงในรูปแบบ Spoken Word จาก สก์ดิยาห์ มะรุฟ  นักเล่าบทกวี คอมเมเดี้ยน และนักแสดงชาวอินโดนีเซีย ที่มาแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับความสำคัญของการเป็นตัวแทนบนหน้าจอ โดยการแสดง Spoken Word และการอภิปรายได้ถูกถ่ายทอดสดผ่านช่องยูทูป Netflix Asia ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานยังได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดและความคิดเห็น ผ่านทางบูธกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟ อินสตอลเลชั่นอันน่าตื่นเต้นอีกด้วย


สามารถชมคอลเลคชั่นพิเศษของ Netflix ที่มีตัวละครหลักเป็นผู้หญิง เนื่องในวันสตรีสากล

(ตั้งแต่ 1-31 มีนาคม) ที่นี่

สามารถรับชมตัวอย่างภาพยนตร์


รายชื่อภาพยนตร์: