18 พ.ย. 2565 638 0

ทิศทางของธนาคารที่เปลี่ยนไป ส่งผลสถาบันการเงินหันมาใช้ นวัตกรรมการบริการทางการเงินที่ปรับเปลี่ยนได้

ทิศทางของธนาคารที่เปลี่ยนไป ส่งผลสถาบันการเงินหันมาใช้ นวัตกรรมการบริการทางการเงินที่ปรับเปลี่ยนได้

โดย Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทย

ในขณะที่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 กำลังก้าวเข้ามา ภาพรวมทางการเงินในประเทศไทย ที่กำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชี้นำไปสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งเรื่องธนาคารเสมือน ซึ่งใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกขณะ โดยอาจจะเริ่มมีการพิจารณาให้ใบอนุญาตในช่วงต้นปีหน้า

นอกเหนือจากนี้ประเทศไทยยังประสบความสำเร็จในด้านการเป็นผู้นำสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) รวมถึงการบังคับทางด้านกฎหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้มีการกำหนดเค้าโครง การกำกับดูแลสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเป็นที่เรียบร้อย

ในต้นปีที่ผ่านนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนใน Consultation paper เรื่องของ การเปลี่ยนจุดยืนทางการเงินในประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืน: นวัตกรรมและการบริการทางการเงินที่ได้รับการพัฒนาจะถูกส่งเสริมผ่านการแข่งขัน โครงสร้างพื้นฐาน และข้อมูลแบบเปิด ส่งผลให้เป็นอนาคตอันเปิดกว้าง โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยกำหนดประสบการณ์ใหม่ เป็นแรงผลักดัน และยังช่วยเติมเต็มช่องว่างให้เกิดการเข้าถึงใหม่ๆ เป็นอนาคตที่ผู้ใช้จะสามารถเลือกบริการทางการเงินที่ยืดหยุ่น และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด กลุ่มคนที่ไม่ได้มีการทำธุรกรรมทางการเงิน และไม่ทำธุรกรรมผ่านธนาคาร สามารถทำการกู้ยืมอย่างเป็นทางการ รวมถึง SMEs สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายและเร็วขึ้น ต้องยอมรับว่า การเปิดกว้างโดยผู้ให้บริการทางการเงิน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการขับเคลื่อน ฟื้นฟูของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการที่จะทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เราควรต้องตั้งคำถามให้ถูกต้องดังเช่น ต้องทำอย่างไรถึงจะทำให้นวัตกรรมใหม่ๆนั้นเกิดขึ้นจริง และรวดเร็ว

ความคล่องตัว และความยืดหยุ่นได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยุคใหม่นี้ ธนาคารหลายแห่ง Fintech และผู้ให้บริการรายอื่นๆ ได้ค้นพบเส้นทางสู่ความสำเร็จด้วยรูปแบบการดำเนินงานใหม่ที่เรียกว่า นวัตกรรมการบริการทางการเงินที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อพิจารณาถึงอนาคตของธนาคารแล้ว การธนาคารแบบแยกส่วนได้ (Composable Banking) คือระบบนิเวศแบบเปิด ที่เป็นตัวช่วยให้ธนาคารสามารถเลือกเทคโนโลยีที่พวกเขาใช้เพื่อขับเคลื่อนทางด้านการบริการตามความต้องการของลูกค้า ด้วยต้นทุนที่สามารถเข้าถึงได้ และยังลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน แทนการใช้ความพยายามในการ สร้างผลิตภัณฑ์ และระบบตั้งแต่เริ่มต้น  พวกเขายังสามารถใช้คลาวด์แบงกิ้ง ด้วยการผสมผสาน และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างง่ายมากยิ่งขึ้น จากผู้ให้บริการที่ดีที่สุดตามความต้องการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่นี้ ที่เน้นความสะดวกสบายและง่ายต่อการควบคุม

ไม่ว่าจะเป็นการผสานเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง จนถึงผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากกับบริษัทอื่น รวมถึงการเสนอสินเชื่อด้วยการเงินแบบ Embedded finance การจำนอง หรือการให้กู้ยืม SME กับผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้รายอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้คุณสามารถจัดการวางแผน ในขณะที่ลงมือทำไปพร้อมๆกันได้อย่างคล่องแคล่ว และเป็นโอกาสที่จะสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

ด้วยเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ส่งผลทำให้อุปสรรคในการเข้าถึงระบบบริการทางการเงินในประเทศไทยเกิดขึ้น แม้แต่กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมที่ดีที่สุดก็ยังถูกขัดขวางโดยข้อจำกัดทางเทคโนโลยี ทั้งนี้เนื่องจากระบบทางธนาคารที่สามารถแยกส่วนได้ ได้แก่ ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินในระบบแพลตฟอร์มคลาวด์ พวกเขาจึงสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุดและสามารถขยายระบบ รวมถึงภูมิภาคถึงแม้ว่าจะอยู่ห่างไกล กว้างใหญ่แค่ไหน และสามารถ กระจาย portfolio ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ เป็นโอกาสของการสร้างรายได้หลายรูปแบบอย่างมั่นคง เช่น fintech ที่สามารถขยายข้อเสนอของตนเองไปสู่การให้กู้ยืมอย่างรวดเร็ว และ  การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 'Buy Now Pay Later' หรือ การเปิดตัวของ แพลตฟอร์มการจัดส่งอาหารที่สามารถทำธุรการการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น ที่รวมการประกอบของการวิเคราะห์ กระแสเงินสด และ มีการสนับสนุนโปรโมชั่นสำหรับร้านค้าภายในแอพพลิเคชั่นของตัวเอง

ผู้ใช้ยังสามารถได้รับประโยชน์จากการธนาคารแบบแยกส่วนได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมมากขึ้น  การบริการทางการเงินจึงเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึง กลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน โดย  'การธนาคารที่เอาใจใส่' ลูกค้าและผู้บริโภค ส่งผลให้ประสบการณ์ทางธนาคารจะมีความ hyper-personalised มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการเงินเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างนึงของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการจำนอง เงินทุนสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ หรือการวางแผนกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ สถานบันการเงิน หรือธนาคารที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการบริการด้วยความเป็นมิตรและเอาใจใส่ เป็นโอกาสที่ทำให้โดดเด่นเหนือกว่าใคร ข้อมูลจะกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของสถาบันเพื่อรองรับแนวความคิดนี้ และยังสามารถยกระดับการบริการได้อย่างรวดเร็ว และจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ เช่น การบล็อกธุรกรรมที่น่าสงสัยเพียงรายการเดียว แทนการระงับบัญชีธนาคารทั้งหมด จะทำให้ลูกค้าทราบได้ว่าธนาคารไม่เพียงแต่รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปกป้องบัญชีการเงินของพวกเขาอีกด้วย

ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้นที่สุด อย่างนวัตกรรมทางการเงินดิจิทัล ซึ่งการเงินอยู่ในเส้นทางของการเปลี่ยนจากบริการแบบสแตนด์อโลนไปเป็นคุณลักษณะด้านไลฟ์สไตล์ ซึ่งดิจิทัลจัดเป็นตัวช่วยอย่างนึงในชีวิตประจำวันของเรา สำหรับองค์กรในยุคสมัยนี้ หากต้องการที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคและภาคธุรกิจแล้วนั้น อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์เสียใหม่ อีกทั้งเพื่อความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น Mambu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการธนาคารหลักในระบบคลาวด์ ที่กำลังสนับสนุนองค์กรต่างๆ ทั่วโลกให้แข็งแกร่งขึ้นผ่านการสนับสนุนให้เกิดใช้แนวทางการธนาคารที่แยกส่วนและปรับเปลี่ยนได้ โดยผู้ให้บริการทางการเงินมากกว่า 200 ราย เช่น ธนาคารชั้นนำ Fintech Unicorns และบริษัททั้งเล็กและใหญ่ต่างก็ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเปิดกว้างของข้อมูลกันทั้งสิ้น

ในยุคที่ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้นั้น เหล่าผู้ปฏิรูปวงการด้าน Fintech ในประเทศไทยก็สามารถท้าดวลกับเหล่าธนาคารที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนานได้มากขึ้น โดยผู้เล่นที่ไม่ใช่สถานบันการเงินมักจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ และเรียบง่ายผ่าน embeded finance หรือ ธนาคารเสมือนที่กำลังจะเปิดตัว และไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะอยู่ภายใต้มหาอำนาจทางการเงิน หรือ หน่วยงานอิสระ สุดท้ายก็จะค่อยๆมีความสำคัญต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจในที่สุด อีกทั้ง พวกเขายังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวน ตามที่ Charles Darwin ได้เคยกล่าวไว้ใน Origin of Species: ผู้ที่อยู่รอดไม่ใช่ผู้ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด