9 พ.ย. 2565 215 0

มาดามแป้ง-นวลพรรณ ล่ำซำ จัดงานฉลองครบรอบ 9 ทศวรรษแห่งรอยยิ้ม เมืองไทยประกันภัย

มาดามแป้ง-นวลพรรณ ล่ำซำ จัดงานฉลองครบรอบ 9 ทศวรรษแห่งรอยยิ้ม เมืองไทยประกันภัย

"มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ MTI จัดงานเฉลิมฉลอง "9 ทศวรรษแห่งรอยยิ้ม" เมืองไทยประกันภัย เนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งบริษัท ตอกย้ำการเป็นผู้นำบริษัทประกันวินาศภัยไทยที่ดำเนินธุรกิจยาวนานที่สุด ในไทย ยืนหยัดเคียงคู่สังคมไทยมานานกว่า 90 ปี โดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน, นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ, นางยุพา ล่ำซำ และบุคคลสำคัญในตระกูลล้ำซำ อีกทั้งยังเชิญบุคคลคนดังแถวหน้าของเมืองไทยจากทุกวงการ รวมถึง พันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมงาน พร้อมการแสดงจากศิลปีนคับคั่ง ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ ริมแม่น้ำ เจ้าพระยา ภายในงานยังได้เชิญบุคคลคนดังแถวหน้าของเมืองไทยจากทุกวงการมาร่วมงาน ทั้งการเมือง ดารา ศิลปีน เซเลบริตี้ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยยังมีโชว์พิเศษจากทายาทล่ำซำรุ่นที่ 5 บนเวที งานนี้ยังได้รับเกียรติจาก แอฟ-ทักษรอร ภักดิ์สุขเจริญ และ ป็อป-วราวุธ เลาหพงศ์ชนะ ศิลปินนักแสดงมากความสามารถมาเป็นพิธีกรในงาน และปิดท้ายด้วยคอนเสิร์ตโชว์พลังเสียงจากเหล่าซุปเปร์สตาร์คนดัง อาทิ นัท-มีเรีย, กัน-นภัทร, แก้ม- วิชญาณี, ขนมจีน-กุลมาศ


เส้นทางตลอด 9 ทศวรรษ เมืองไทยประกันภัย หากเปรียบคนจีนเป็นเมล็ดพืชที่ลอยตามกระแสน้ำ เมื่อน้ำพัดพาไปบนพื้นที่หรือแผ่นดินใด ก็ดูเหมือนเมล็ดพันธุ์ นั้นจะเจริญงอกงามในทุกสถานที่ เช่นเดียวกับคน "ตระกูลอึ้ง" ชาวจีนโพ้นทะเลจากมณฑลกวางตุ้ง ที่ดั้นดันฝาคลื่นลมท้องทะเลเข้ามาปักหลักในแผ่นดินสยาม จนกระทั่งกลายเป็น "ตระกูลล่ำซำ" ที่มีบทบาทสำคัญในแวดวง
ธุรกิจและการธนาคารในทุกวันนี้



นายอึ้งเมี่ยวเหงียน บรรพบุรุษของตระกูลล่ำซำ เดินทางจากมลฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังตั้งชื่อภาษาไทยของตนเองว่า "นายล่ำซำ" ที่มีความหมายว่า "คนใส่เสื้อสีน้ำเงิน"  นายอึ้งเมี่ยวเหงี่ยน เปีด้ร้านขายไม้ซุง ชื่อว่า "ห้างล่ำซำ" เป็นผู้ทำธุรกิจป่าไม้ในแถบจังหวัดนครสวรรค์และแพร่ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้นำชุมชนชาวจีนแคะ ที่ก่อตั้ง "โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ" เมื่อปี พ.ศ. 2446 เพื่อช่วยเหลือดูแลชาวจีนผู้ยากไร้ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2448



ต่อมา นายอึ้งยุกหลง ล่ำซำ ทายาทรุ่นที่ 2.เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล โดยสมรสกับ นางทองอยู่ หวั่งหลี มีบุตรด้วยกัน 7 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้ขยายมาทำธุรกิจ "กวางอันหลงประกันภัย" ทำหน้าที่รับประกันวินาศภัย การขนส่งสินค้า ซึ่งธุรกิจได้ขยายตัวและเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด" โดยภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)" ตามลำดับ นอกจากนี้ นายอึ้งยุกหลง ยังมีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งใน "สมาคมพาณิชย์จีน" ซึ่งเป็นสมาคมที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนมากที่สุดในยุคนั้น และ นายอิ้งยุกหลง ยังได้รับตำแหน่งประธานหอการค้าจีน สมัยที่ 9 อีกด้วย

ตระกูลล่ำชำ มิใช่เป็นเพียงตระกูลเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงยาวนานเท่านั้น แต่เป็นตระกูลที่ยังรักษาเอกภาพของตระกูลไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยความรักสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทายาทที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ธุรกิจถูกขยายออกไปอย่างกว้างขวาง



ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 นายโชติ นายจุลินทร์ และ นายเกษม ทายาทของตระกูลล่ำซำ รุ่นที่ 3 และญาติมิตรชาวไทยเชื้อสายจีน ได้ร่วมกันก่อตั้ง "ธนาคารถสิกรไทย" ขึ้นในปี พ.ศ. 2488 ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 นายจุลินทร์ ล่ำซำ ได้เปิด บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต โดยมี นายบัญชา ล่ำซำ หลานชายซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 4 เข้ามาช่วยบริหารงาน ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

จนมาปี พ.ศ. 2503 นายโพธิพงษ์ สำซำ ทายาทรุ่นที่ 4 เริ่มเข้ามาทำงานธุรกิจประกัน โดยเริ่มต้นจากตำแหน่งเสมียน ช่วยเคลมรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ ยุคนั้นประกันภัยและประกันชีวิตยังอยู่รวมกันในบริษัทเดียว แต่หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 จึงได้แยกสวนประกันภัยออกมาตั้งเป็น บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด



การบริหารงานกว่า 60 ปี ของ นายโพธิพงษ์ นั้น ต้องพบเจอวิกฤตมากมาย แต่ด้วยความตั้งมั่นและยึดหลัก

"ความซื่อสัตย์สุจริต" ทั้งต่อลูกค้า และต่อองค์กรเป็นสำคัญ จึงสามารถผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ด้วยดีปี พ.ศ. 2541 นางนวลพรรณ ล้ำซำ ทายาทรุ่นที่ 5 ของตระกูลได้เข้ามาดูแลรับผิดชอบงาน ด้านการขายและการตลาด โดยในปี พ.ศ.2548 ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ

เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและบริการ จึงเกิดการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ากับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ในชื่อ "บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)" และในปี พ.ศ. 2560 นางนวลพรรณ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทำให้ปัจจุบัน บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกันวินาศภัยของคนไทยที่ดำเนินธุรกิจ


ยาวนานที่สุดในประเทศไทย และยืนหยัดอย่างเข้มแข็ง ด้วยเอกลักษณ์ในการบริหารงานที่ชื่อสัตย์สุจริตจริงใจโปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาล สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานตราตั้ง แก่ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติสืบไป เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็น ปีที่บริษัทฯ มีวาระครบรอบ 90 ปีของการก่อตั้ง จึงถือเป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีขอบรรพบุรุษ ผู้บริหาร พนักงานในทุกยุคสมัย และเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นตั้งใจ