26 ต.ค. 2565 716 2

วิสัยทัศน์โดยเดวิด หวัง: ก้าวสู่ยุค 5.5G เพื่อรากฐานแห่งอนาคต

วิสัยทัศน์โดยเดวิด หวัง: ก้าวสู่ยุค 5.5G เพื่อรากฐานแห่งอนาคต

หัวเว่ย ร่วมมือกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัว

รายงานการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อ 'เปลี่ยนประเทศไทยสู่มหาอํานาจดิจิทัลอาเซียน'

ในงาน Global Mobile Broadband Forum 2022

ในภาพ (จากซ้าย) อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, หยาง เฉาปิน ประธานฝ่ายโซลูชันโครงข่ายไร้สาย หัวเว่ย, ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฯพณฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, และนายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในการประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) 2022 เดวิด หวัง กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีที ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ‘ก้าวสู่ยุค 5.5G เพื่อรากฐานแห่งอนาคต’ โดยเขาได้เผยถึงความร่วมมือระหว่างพันธมิตรส่งผลให้อุตสาหกรรมรุดหน้าอย่างมีนัยสำคัญและพร้อมก้าวสู่ยุค 5.5G เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เขาจุดประกายให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อก้าวสู่ยุค 5.5G ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสร้างโลกอัจฉริยะที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน


เดวิด หวัง ระหว่างการกล่าวปาฐกถา

เมื่อการเปลี่ยนสู่โลกอัจฉริยะมาถึงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่คาดการณ์ไว้จะทำให้ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพิ่มขึ้น เป้าหมายต่อไปที่เราต้องบรรลุบนเส้นทางสู่โลกอัจฉริยะคือเทคโนโลยี 5.5G ที่มอบประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10 Gbit/s) รองรับการเชื่อมต่อหลายแสนล้านรายการและรองรับคลาวด์ Native Intelligence

เดวิด หวัง กล่าวย้ำว่า สองปีหลังจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มพันธมิตรในอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยี 5.5G รุดหน้าเป็นอย่างมาก รวมถึงมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในประเด็นสำคัญ 3 ข้อที่มีผลต่อความก้าวหน้าของ 5.5G

ประการแรก มีการกำหนดมาตรฐานการใช้งาน 5.5G และมีความคืบหน้าในการดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ 5.5G ไม่ได้เป็นเพียงวิสัยทัศน์อีกต่อไป

ประการที่สอง อุตสาหกรรมได้สร้างความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับ 5.5G ด้วยแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่พิเศษและเทคโนโลยี ELAA สามารถมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10 Gbit/s) ได้

ประการที่สาม อุตสาหกรรมมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับภูมิทัศน์ของ Internet of Things (IoT) โดยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี IoT บน 5.5G ที่โดดเด่นถึง 3 ด้าน ได้แก่ NB-IoT, RedCap และ IoT แบบพาสซีฟซึ่งจะรองรับการเชื่อมต่อ IoT จำนวนมาก

เดวิด หวัง เน้นว่า “อุตสาหกรรมการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เทคโนโลยี 5.5G ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในอนาคตเราต้องรับมือกับ 5 ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา 5.5G อันได้แก่ มาตรฐานการใช้งาน, สเปกตรัม, ผลิตภัณฑ์, อีโคซิสเต็มและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่ยุค 5.5G อย่างมั่นคงเพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่ดีกว่า”

ประการแรก กำหนดมาตรฐานการใช้งานและส่งเสริมการวิจัยด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ

การกำหนดมาตรฐานการใช้งานช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายและปูทางให้อุตสาหกรรม 5.5G รุดหน้าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เราต้องทำให้แน่ใจได้ว่าการดำเนินการตามข้อกำหนด Release 18 จะต้องเกิดขึ้นภายในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2567 ตามแผนที่วางไว้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย 5.5G มากขึ้น 10 เท่า ในส่วนของ Release 19 และข้อกำหนดอื่น ๆ ในอนาคต เราควรหารือร่วมกันระหว่างการปรับปรุงมาตรฐาน 5.5G เพื่อสำรวจว่า 5.5G ควรมีคุณสมบัติใดบ้าง สำหรับรองรับบริการและสถานการณ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานและผลักดันศักยภาพสูงสุด

ประการที่สอง เตรียมสเปกตรัมเพิ่มเติมสำหรับแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่พิเศษ

เราควรบริหารการใช้งานช่วงความถี่ที่ต่ำกว่า 100 GHz อย่างเต็มที่เพื่อสร้างแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่พิเศษเพื่อรองรับ 5.5G โดยมี mmWave เป็นย่านความถี่หลักสำหรับ 5.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายจะต้องได้รับคลื่นความถี่มากกว่า 800 MHz จากสเปกตรัมนี้เพื่อสร้างประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10 Gbit/s) โดยความถี่ 6 GHz เป็นย่านความถี่กว้างพิเศษที่มีศักยภาพเพียงพอในการรองรับ 5.5G และเมื่อความถี่ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนให้เป็นคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT) ในการประชุม WRC-23 ก็มีแนวโน้มว่าประเทศอื่น ๆ จะต้องประมูลคลื่นความถี่ 6 GHz ด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถปรับเปลี่ยนความถี่ 6 GHz ให้เป็นแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่พิเศษสำหรับ 5.5G ได้

ประการที่สาม เตรียมรองรับเทคโนโลยี 5.5G ด้วยเครือข่าย, อุปกรณ์, และชิปที่พร้อมรองรับการใช้งาน

ทั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ต้องได้รับการอัปเกรดเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที ผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ยมาพร้อมเทคโนโลยี ELAA ที่สามารถรองรับเสาอากาศมากกว่า 1,000 ชุด เหมาะสำหรับย่านความถี่กลางและความถี่สูง และมาพร้อมเทคโนโลยี Massive MIMO ที่รองรับความจุถึง 128T นอกจากนี้ การพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับชิปและอุปกรณ์ 5.5G ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ชาญฉลาดมากขึ้น สามารถรองรับ 3T8R หรือมากกว่า และสามารถรองรับผู้ให้บริการเครือข่ายได้มากกว่าสี่ราย

ประการที่สี่ ทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนอีโคซิสเต็ม 5.5G ให้เติบโต

อีโคซิสเต็มที่ก้าวหน้าจะตอบสนองความต้องการด้านดิจิทัลได้ดีขึ้นในทุกสถานการณ์ ในการสร้างอีโคซิสเต็ม IoT ที่รองรับ 5.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้จำหน่ายอุปกรณ์จะต้องวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับเครือข่าย 5.5G สร้างการเชื่อมต่อไร้ที่ติระหว่างผู้คนและสิ่งของ ในขณะเดียวกันผู้จำหน่ายอุปกรณ์ต้องปรับต้นทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นของอุปกรณ์เพื่อรองรับการใช้งานในสถานการณ์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ นักพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมและนักพัฒนาแอปพลิเคชันจะต้องพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่รองรับเทคโนโลยีนี้อีกด้วย

ประการที่ห้า ก้าวไปข้างหน้าเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5.5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อข้อกำหนดการใช้งาน, สเปกตรัม, ผลิตภัณฑ์, และอีโคซิสเต็มเติบโตเต็มที่ ก็ถึงเวลาประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5.5G ในสถานการณ์ต่าง ๆ การปฏิสัมพันธ์ผ่านเซ็นเซอร์หลากหลายประสาทสัมผัสจะเปลี่ยนวิธีที่เราสื่อสาร ยานพาหนะที่เชื่อมต่อได้แบบอัจฉริยะจะกลายเป็นพื้นที่สำคัญอันดับ 3 ในการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายและกลายเป็นที่นิยม ในขณะที่การเชื่อมต่ออัจฉริยะในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะทำให้การรับส่งข้อมูลทั่วถึงกันมากยิ่งขึ้น ผลักดันให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้งและทำให้วิสัยทัศน์สู่โลกอัจฉริยะมีความชัดเจนมากกว่าที่เคย ทำให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันเพื่อสำรวจความเป็นไปได้และผลักดันการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5.5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ขณะกล่าวเปิดงาน Global Mobile Broadband Forum 2022

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวเปิดงาน Global Mobile Broadband Forum 2022 ครั้งที่ 13 ว่า "ผมรู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานเปิดงานสำหรับแวดวงอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก Global Mobile Broadband Forum 2022 ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นเวทีสำคัญของภาคเอกชนและภาครัฐในการร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ต่อการขับเคลื่อนประเทศและภาคอุตสาหกรรม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และผลักดันให้ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ด้วยการดำเนินนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 ทั้งด้านการ “ส่งเสริมและลงทุน” โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และด้าน “การเตรียมความพร้อมเรื่องกำลังคนด้านดิจิทัล” ผมเชื่อมั่นว่างานประชุมสัมมนาในวันนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม และจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกันอย่างคลอบคลุมและยั่งยืน"

นอกจากนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ยังได้จับมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวสมุดปกขาวสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย ในหัวข้อ "พลิกโฉมประเทศไทยสู่ขุมพลังดิจิทัลแห่งอาเซียน (Transform Thailand Into ASEAN Digital Powerhouse)" ภายในงานครั้งนี้ โดยหัวเว่ยได้ร่วมมือกับบริษัทโรแลนด์ เบอร์เกอร์ เพื่อจัดทำสมุดปกขาวฉบับดังกล่าวจากการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐกว่า 40 แห่ง ในภาคอุตสาหกรรมด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมด้านการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะดิจิทัลเชิงเทคนิคอย่างครอบคลุม ทั้งนี้ รายละเอียดในสมุดปกขาวจะประกอบไปด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบในด้านเทรนด์ดิจิทัล ทักษะดิจิทัลที่กำลังเป็นที่ต้องการ และช่องว่างระหว่างภาคอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย เพื่อส่งมอบคำแนะนำสำหรับการวางนโยบายที่ยั่งยืนเกี่ยวกับแผนด้านทักษะบุคลากร แนวทางการพัฒนาบุคลากร รวมไปถึงแผนปฏิบัติการต่าง ๆ เอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นสนับสนุนคุณค่าทางสังคมอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ย ในแง่การพัฒนาทักษะบุคลากรและการสนับสนุนอีโคซิสเต็มของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย หัวเว่ยไม่เพียงมุ่งมั่นที่จะเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรด้านดิจิทัลในปัจจุบันสำหรับอนาคตที่กำลังจะมาถึง แต่ยังช่วยรับมือปัญหาด้านการขาดบุคลากรดิจิทัลรุ่นใหม่ด้วยการเตรียมตัวบุคลากรดิจิทัลรุ่นใหม่ในไทย ท่ามกลางช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียนอย่างรวดเร็ว

หัวเว่ย ได้ร่วมกับ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) และ Global TD-LTE Initiative (GTI) เปิดฉาก Global Mobile Broadband Forum 2022 รวบรวมผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย ผู้นำอุตสาหกรรมแนวดิ่ง และพันธมิตรอีโคซิสเต็มจากทั่วโลกร่วมหารือกลยุทธ์ผลักดัน 5G ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และถกประเด็นในหัวข้ออื่น ๆ เช่น

การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีอัจฉริยะและวิวัฒนาการ 5G ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huawei.com/en/events/mbbf2022