16 ต.ค. 2565 2,368 51

Starlink เปิดราคาบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียม 3,200 บาทต่อเดือนที่แรกในเอเชีย ดึงโครงข่าย KDDI ทำ Backhaul ระบบ 5G

Starlink เปิดราคาบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียม 3,200 บาทต่อเดือนที่แรกในเอเชีย ดึงโครงข่าย KDDI ทำ Backhaul ระบบ 5G

KDDI  รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น เริ่มการดำเนินกิจการเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink ไปยังลูกค้าองค์กรภาครัฐและเอกชน การเดินเรือรวมถึงผู้ใช้งานทั่วไป ผ่านรูปแบบประเภทการขายส่งบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียม Starlink ของ SpaceX 



สื่อมวลชนท้องถิ่น asahi.com ระบุว่า KDDI เป็นผู้รวบรวมสัญญาณโทรคมนาคมภาคพื้นดินเพื่อส่งสัญญาณไปยัง Starlink โดยเทคนิคดังกล่าวเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าการให้บริการในรูปแบบดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือสูงและมีความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตประกอบกับประสิทธิภาพของดาวเทียม Starlink เพียงพอในการให้บริการเสมือนภาคพื้นดิน เนื่องจากดำเนินเทคนิค backhaul (คือการเชื่อมต่อจากอีกจุดไปยังอีกจุด) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ





การดำเนินการดังกล่าวมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากถือเป็นการเปิดให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย  เนื่องจากความต้องการของประเทศญี่ปุ่นมีความซับซ้อนทางด้านภูมิประเทศ มีทั้งพื้นที่เชิงภูเขารวมถึงเป็นพื้นที่เชิงเกาะที่ห่างไกลโดยพื้นที่เหล่านี้มีประสบปัญหาในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การให้บริการพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเริ่มต้นที่แผ่นดินใหญ่ได้แก่  Fukushima, Niigata, Sendai และ Utsunomiya นอกเหนือจากโตเกียว โดยแบ่งค่าธรรมเนียมให้รัฐบาล ทั้งนี้แบ่งการให้บริการออกเป็นผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ใช้งานประเภทธุรกิจ หลังจากนั้นภายในสิ้นปีนี้ก็จะขยายพื้นที่ในการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ประเทศญี่ปุ่นและไตรมาสถัดไปเริ่มให้บริการที่ประเทศเกาหลีใต้

ค่าบริการสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในประเทศญี่ปุ่นมีราคาอยู่ที่ 12,300 เยน/เดือน (3,200 บาท) ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปจะต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมคือ Starlink Kit ราคาประมาณ 73,000 เยน (19,100 บาท) อุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นอุปกรณ์ที่มีชุดต่อพ่วงเครื่องกระจายสัญญาณ (IEEE 802.11ac/Wi-Fi 5) เพิ่มเติมทำให้สมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียมได้โดยตรง


สำหรับการให้บริการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทาง KDDI ได้เริ่มทดลองการใช้งาน Starlink ผ่านการวางโครงข่ายสื่อสารระบบ au โดยใช้เทอร์มินัลและดาวเทียมในอวกาศถือเป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างสถานี 5G และ 4G เพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนกับสถานีฐานตามปกติทั่วประเทศ โครงข่ายดังกล่าวจะถูกใช้เป็นโครงข่ายหลัก ในทางกลับกันผู้ใช้งานที่ใช้สมาร์ทโฟนปกติส่งสัญญาณผ่านสถานีฐานไปถึงระบบดาวเทียมเป็นที่เรียบร้อยทางระบบดาวเทียมก็จะส่งสัญญาณมายังระบบภาคพื้นดินแล้วทำการเชื่อมต่อกับสถานีฐานในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตและระบบคลาวด์สามารถดำเนินการได้ตามปกติผ่านผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานแบบ end-to-end  ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นเต็มประสิทธิภาพเหมือนกันวางระบบเดิม สาเหตุในการเริ่มต้นจากการขายต่อบริการให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเองบางส่วนมีความเหลื่อมล้ำในการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยพื้นที่ในการสื่อสารค่อนข้างห่างไกลและระบบสื่อสารในพื้นที่ห่างไกลนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการใช้งานโดยเฉพาะการตอบสนองต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทั้งบริเวณหมู่เกาะต่างๆและรวมถึงพื้นที่ภูเขา ซึ่งประเทศญี่ปุ่นต้องปรับปรุงการให้บริการบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตโดยที่โครงข่ายของการสื่อสารอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและสามารถบำรุงรักษาโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้นและที่สำคัญใช้ในการดำเนินการทดแทนโครงข่ายเดิม (ที่ใช้ระบบสายเป็นหลัก) ที่มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลายาวนาน




ต้นทุนในการนำเทคโนโลยีทางอากาศมาใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วต้นทุนลดลงอย่างมากเช่นระบบกระสวยอวกาศเดิมมีราคาประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ในการขนส่ง 27 ตัน  แต่ในขณะนี้ระบบกระสวยอวกาศที่ใช้จรวด Falcon ของ SpaceX มีราคาเพียง 2,940 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่ลดลงอย่างมากนอกจากนี้ต้นทุนในการผลิตของดาวเทียมเองยังมีราคาถูกลงอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน

ข้อมูล japan.cnet asahi itmedia itmedia fiercewireless japan.cnet news.yahoo mobilelab asahi