26 ก.ย. 2565 1,512 82

SYMC ลงทุน 600 ล้านบาท ขยายความเร็ว 1,000 Gpbs ผ่านโครงข่ายใหม่ SDN-MPLS Network รายแรกในไทย เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรไม่เล่นตลาด Red ocean

SYMC ลงทุน 600 ล้านบาท ขยายความเร็ว 1,000 Gpbs ผ่านโครงข่ายใหม่ SDN-MPLS Network รายแรกในไทย เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรไม่เล่นตลาด Red ocean

ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น หรือ SYMC พร้อมเดินหน้าให้บริการโครงข่าย SDN-MPLS Network รายแรกในไทย ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด บริหารจัดการโครงข่ายอัจฉริยะคุณภาพสูง ลดความชับซ้อนในการเชื่อมต่อ เพิ่มประสิทธิภาพและตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจในทุกมิติ ทั้งการเชื่อมต่อการสื่อสาร บริการคลาวค์ และบริการด้าน Virtualization แบบไว้ร่อยต่อ ส่งเสริมการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นในองค์กร และรองรับบริการรวมถึงแปพลิเคชันที่มีความหลากหลายในอนาคต












อเล็กซ์ โลท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น
จำกัด (มหาชน) หรือ SYMC ผู้ให้บริการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำ กล่าวว่า นโนบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมบนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่อการสื่อสารที่มีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ภาครัฐและเอกชนมีการปรับตัวสู่กระบวนการดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาวเพื่อขยายโครงข่ายและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการรวมถึงพื้นที่บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศด้วยการจัดการและปรับปรุงโครงข่ายบริการหลักและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เพื่อการใช้งานโครงข่ายที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นตอบสนองต่อผู้ใช้บริการได้เร็วขึ้นด้วยความหน่วงที่ต่ำกว่า (Low Latency) "ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโทรคมนาคมมีการขยายตัวอย่างมาก อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในด้านความต้องการการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น และความหลากหลายของแอปพลิเคชันที่ต้องใช้โครงข่ายบริการที่สามารถรองรับได้ในปริมาณมาก ทำให้เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเติบโตของตลาดได้อย่างชัดเจน และโครงข่าย SDN-MPLS Network เป็นเทคโลยีใหม่ล่าสุดที่พัฒนาต่อยอดจากโครงข่าย MPLS แบบเดิม โดยมีความรวดเร็วในการจัดการ ลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อ มีระบบการคิดวิเคราะห์และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ทำให้การเชื่อมต่อการสื่อสารของลูกค้ามีความต่อเนื่อง ตลอดจนรองรับความเร็วและแบนด์วิธที่สูงขึ้น โดยเป็นการรวมระบบการทำงานต่างๆ แบบอัจฉริยะเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการเส้นทางอัตโนมัติ ระบบวิเคราะห์ความหน่วงของข้อมูล (Latency) ระบบวิเคราะห์ความหนาแน่นของโครงข่าย (Utilization) ระบบควบคุมและเฝ้าระวังข้อมูลศูนย์หาย (Packet Loss Monitoring) ระบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อประเมินผลกระทบล่วงหน้าและแจ้งให้ลูกค้าทราบได้อย่างแม่นยำขึ้น พร้อมระบบการเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ เว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้ลูกค้าสั่งงานผ่านอุปกรณ์พกพาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถควบคุมดูแลทุกอย่างจากส่วนกลางได้ ที่สำคัญคือรองรับการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 100Gpbs และขยายไปได้จนถึง 1000Gpbs ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ในปัจจุบัน"

โดยจุดเด่นของโครงข่าย SDN-MPLS Network อาทิ Throughput ให้ความแม่นยำในการควบคุมBandwidth ตามที่ผู้ใช้บริการเลือกใช้ มี Latency ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ โครงข่าย SDN-MPLS มี Latency ไม่เกิน 2ms เหมาะกับการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างไหลลื่นไม่สะดุด High Reliable มีเสถียรภาพสูงด้วยการเชื่อมต่อแบบหลากหลายเส้นทาง ง่ายต่อการบริหารจัดการและการสลับเส้นทางโดยอัตโนมัติหากเกิดขัดข้อง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านต่างๆ ที่สามารถต่อยอดเข้ากับระบบและบริการอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงมอบประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าด้วย Self Service Portal เพื่อให้ผู้ใช้บริการเห็นการทำงานของโครงข่ายแบบเรียลไทม์ ทั้งการปรับแบนด์วิธ สั่งการ ตรวจสอบสถานะการบริการ สาเหตุการเกิดเหตุขัดข้อง การแจ้งเตือนและการเรียกดูการใช้งานต่างๆได้ง่ายเพียงปลายนิ้วบน Service Dashboard















สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่จะได้ประโยชน์จากโครงข่ายใหม่นี้ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มลูกค้าองค์กร และองค์กรภาครัฐ ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีกโรงแรม โลจิสติกส์ รวมถึงกลุ่ม OTT (Over-the-Top) ที่ให้บริการด้านคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์





อเล็กซ์ กล่าวเพิ่มว่า "เพราะเราตระหนักดีว่าการเชื่อมต่อการสื่อสารในยุคดิจิทัลคือหัวใจหลักสำหรับทุกธุรกิจ เราจึงต้องก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอในการส่งมอบบริการด้วยโครงข่ายคุณภาพที่ดีที่สุดด้วยนวัตกรรมลำาสุดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าของเรา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการเชื่อมต่อการสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนผ่านองค์กรสูดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงข่ายหลักไปสู่ SDN-MPLS Network นี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการบริการไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และต่อยอดธุรกิจให้กับลูกค้าได้อย่างดี เพราะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางด้านโทรคมนาคมแบบช่วยให้รักษาความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาวซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งบริษัทฯ และตอกย้ำภาพลักษณ์ในการมุ่งมั่นที่จะเป็น "Best Trusted Network" ในระดับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี







ในด้านการขยายพื้นที่ให้บริการและพัฒนาโครงข่ายนั้น บริษัทพิจารณาจากความสำคัญด้านยุทธศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ปริมาณความต้องการในการเชื่อมต่อสื่อสารยังคงเติบโตสอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและการขยายตัวของการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นศูนย์กลางการสื่อสารโทรคมนาคมปัจจุบันบริษัทให้บริการครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล พื้นที่เศรษฐกิจหลัก 50จังหวัด อาคารสำนักงานชั้นนำในกรุงเทพฯ 259 อาคาร นิคมอุตสาหกรรม 53 แห่ง ศูนย์บริการทั่วประเทศ 18 แห่ง และมีเกตเวย์เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศ อีก 6 แห่ง ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงข่ายหลักของบริษัทไปสู่ SDN-MPLS Network นี้จะช่วยยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้เกิดขึ้นกับลูกค้าได้อย่างแน่นอน"


Adslthailand ได้สัมภาษณ์พิเศษ อเล็กซ์ โลท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ SYMC เพิ่มเติมด้วยว่า โดยทั่วไปลูกค้าองค์กรของเรามีความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ 1 Mbps ไปจนถึงในระดับ 10 Gbps แต่ความต้องการของลูกค้าต่างชาติมีความต้องการปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าในปัจจุบัน แผนการลงทุนของเราจะอยู่ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ที่ได้รับ ต่างจาก 5 ปีก่อนที่เราไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่มเติม ซึ่งในขณะนี้เราต้องการที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงข่ายการให้บริการของเรา ปีที่แล้วเราเริ่มต้นจากการพัฒนาโครงข่าย DWDM OPTICAL อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาท  เป็นระบบการรับส่งข้อมูลปริมาณใหญ่ที่สุดของเราและ SDN Network ถือเป็นท่อย่อยที่เชื่อมต่อกับท่อหลักในการให้บริการรับส่งข้อมูล อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านบาท โดย 2 ปีที่ผ่านมาเราใช้เงินอยู่ประมาณ 600 ล้านบาทในการลงทุนปรับปรุงและเปลี่ยนโครงข่ายใหม่ทั้งหมดของเรา จากนั้นเราถึงจะขยายโครงข่ายภายใต้งบการลงทุนประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ที่ได้รับ 

สัดส่วนรายได้ของเราในปี 2566 แบ่งรายได้ดังต่อไปนี้

- Connectivity ( สายเคเบิ้ลและโครงข่ายในการให้บริการโทรคมนาคมในระดับองค์กร ) อยู่ที่ 90%
- ระบบ Cloud Firewall Security และ Data Center อยู่ที่ 10%

แม้รายได้จากส่วนนี้จะมีรายได้เพียงเล็กน้อยแต่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากทุกคนต้องการทำดิจิทัล เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มดังกล่าวต้องการที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น  Digital Banking  เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้กับลูกค้า ซึ่งมีลูกค้าอยู่ในกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 8 ธนาคาร โดย 3  ธนาคารหลักของประเทศ และกลุ่มที่มีสาขาเยอะโดยระบบธนาคารเราเข้าไปช่วยสนับสนุนในการให้บริการ รวมไปถึงระบบ ATM  และระบบ Core Banking ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มนี้ต้องการระบบความปลอดภัยสูงเราจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอันมาก พร้อมกับการให้บริการในการเชื่อมต่อที่เร็วและให้ค่าความหน่วงต่ำ ( Latency ) ต้องมีในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในระบบ Cloud  ในอนาคตมีการเปิดบริการดังกล่าวสู่ระบบสาธารณะเพิ่มขึ้นเช่น Amazon Cloud หรือ Google Cloud  หรือ Huawei Cloud เขาจะต้องตั้ง Data Center และเขาจะต้องมี Connectivity เพลงเราสามารถให้บริการผู้ให้บริการดังกล่าวได้ ทั้ง Connectivity และ Data Center เพื่อให้บริการ Cloud Service และเราก็สามารถช่วยให้บริการเขาได้ด้วยกับลูกค้าของเรา ส่งผลทำให้เกิดวงจรระหว่างกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เชื่อมต่อในการรับส่งข้อมูลเกิดขึ้น (Enterprise To Enterprise) นอกจากนี้ยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่มีความต้องการระดับ Private สูงไม่ต้องการเชื่อมต่อกับระบบสาธารณะใดๆทั้งสิ้นโดยเราสามารถให้บริการดังกล่าวได้เนื่องจากเรามีระบบ Cloud และระบบ Data Center เป็นของเราเอง สำหรับการให้บริการในอนาคตการให้บริการ Data Center ในประเทศไทยที่ผู้ให้บริการในต่างประเทศเตรียมมาลงทุนโดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของพวกเขาอยู่ที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ทั้งสิ้น ซึ่งในขณะนี้เขาเตรียมที่จะลงทุนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างน้อยมี 2 ผู้ให้บริการได้มาติดต่อกับทางซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่นซึ่งเราไม่ได้ให้ Data Center ของเราเราพร้อมที่จะให้บริการในรูปแบบ Connectivity ระหว่างกรุงเทพฯกับสิงคโปร์ ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตผู้ให้บริการดังกล่าวต้องขยับมาสร้างศูนย์ Data Center ในประเทศไทยอย่างแน่นอน (Population Center)
    
ส่วนการให้บริการ International Connectivity การให้บริการการรับส่งข้อมูลบนภาคพื้นดินผ่านสายเคเบิลที่ราบระหว่างประเทศเช่นจากประเทศไทยผ่านประเทศมาเลเซียแล้วเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ โดยผ่านระบบใต้ดินเท่านั้นเนื่องจากภายในประเทศเขาไม่ได้ติดตั้งสายเคเบิลบนภาคพื้นดิน หรือเราสามารถใช้เคเบิลใต้น้ำในการเชื่อมต่อไปยังประเทศสิงคโปร์ได้และสามารถที่จะทะลุผ่านโดยการรับสัญญาณจากเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง( ประเทศจีน ) ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งส่งผลทำให้ค่าความหน่วงต่ำ (Latency) มีระดับไม่เกิน 2-3 ms ที่ผ่านมารายได้ครึ่งปีแรกของเราเติบโตในระดับ 16% โดยเราตั้งเป้าว่าการเติบโตตอบจากนี้ทุกปีจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าระดับ 10% อย่างแน่นอน

การปรับปรุงโครงข่ายของเราในครั้งนี้ถือเป็นการปรับปรุงแบบยกเครื่องนอกจากนี้เรากำลังเร่งหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติมประมาณ 400-500 องค์กรต่อปี และที่สำคัญเราจะต้องย้ายลูกค้าเดิม 30% จากระบบเดิมให้เข้าไปสู่ระบบใหม่ SDN Network จาก MPLS Network เข้ามาอยู่ในระบบรวมทั้งสิ้น 2000 องค์กรจากเดิมเมื่อ 2 ปีก่อนเรามีลูกค้าองค์กรเพียง 700 องค์กร การดำเนินงานของเราเรามีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการในระดับองค์กรเท่านั้นเราไม่ได้ให้บริการในระดับลูกค้าทั่วไปเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ( Red ocean ) และผู้เล่นในตลาดได้วางกลยุทธ์และคงขายมายาวนานมากกว่า 20 ปี ดังนั้นการให้บริการของเราจึงมีความพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อ 3 องค์ประกอบเข้าด้วยกันทั้งทางด้าน Connectivity Cloud และ Firewall Security ซึ่งเหมาะกับการให้บริการในระดับองค์กรอยู่แล้ว 

สำคัญเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอย่าง DWDM OPTICAL ถือเป็นการนำเทคโนโลยี มารวมกัน ใน 1 คู่มีระบบ 2 ท่อ ซึ่งทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้เราสามารถแยกตัว Lambda จำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน เราสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้สูงในระดับสูงถึง 800 Gbps เราสามารถรับส่งข้อมูลได้ในระดับถึง 30 Tbps ซึ่งต่างจากการใช้งานแบบเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในระบบ 1 ต่อ 1 เท่านั้น ทำให้เราสามารถให้บริการได้หลากหลายรูปแบบในครั้งเดียว และระบบดังกล่าวทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเส้นทางในการรับส่งข้อมูลได้ดีมากขึ้นกว่าเดิมเช่น โครงข่ายที่มีปริมาณความหนาแน่นน้อย หรือโครงข่ายที่มีค่าความหน่วงต่ำ (Latency) เป็นต้น และเรายังใช้ระบบ AI ในการตรวจสอบโครงข่ายอัจฉริยะของเราอีกด้วย