15 ก.ย. 2565 582 0

การ์ทเนอร์ชี้ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitical Risk) สร้างโอกาสสู่ผู้นำในบริบทใหม่แก่ผู้บริหารไอที

การ์ทเนอร์ชี้ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitical Risk)  สร้างโอกาสสู่ผู้นำในบริบทใหม่แก่ผู้บริหารไอที

การ์ทเนอร์ชี้ผลกระทบของการกำกับดูแลทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการเมืองระหว่างประเทศได้นำไปสู่ยุคภูมิศาสตร์การเมืองทางดิจิทัล (Digital Geopolitics) อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารไอที (CIO) ในบริษัทข้ามชาติต้องแสดงบทบาทผู้นำ

จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ ระบุว่าคณะกรรมการบริหารขององค์กรต่าง ๆ 41% มองประเด็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจและความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมืองเป็นหนึ่งในความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ โดยการ์ทเนอร์ยังคาดด้วยว่าภายในปี 2569 องค์กรข้ามชาติถึง 70% จะปรับทิศทางการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการป้องกันความเสี่ยงเพื่อลดการเปิดเผยข้อมูลทางภูมิศาสตร์การเมือง

ไบรอัน เพลนติส รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัลเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่สร้างความปั่นป่วนที่สุดที่ผู้บริหารไอทีต้องรับมือ โดยเวลานี้มีผู้บริหารมากมายกำลังจัดการกับข้อพิพาททางการค้า หรือกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินงานไปทั่วโลก และข้อจำกัดในการจัดหาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบ”

ภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitics) อธิบายถึงอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างประเทศ อันเป็นผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นการแข่งขันทาง เศรษฐกิจ การทหาร และทางสังคม เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละพื้นที่ ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล (Digital Geopolitics) จึงเกิดขึ้นที่มีผลกระทบอย่างโดดเด่นชัดเจน

ผู้บริหารไอทีต้องแสดงบทบาทสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อองค์กร พร้อมจัดระบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมดิจิทัลขึ้นใหม่ถ้าจำเป็น โดยพวกเขาจะต้องจัดการหรือใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้านเด่น ดังนี้ (ตามภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้าน


ที่มา: การ์ทเนอร์ (สิงหาคม 2565)

1. ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล (Protect Digital Sovereignty)

อธิปไตยดิจิทัลจะเป็นแหล่งหลักที่มีความซับซ้อน มีพลวัตและขยายตัวเรื่อยๆ ของแนวทางการปฏิบัติตามกฎระเบียบสำหรับบริษัทข้ามชาติ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จัดการเรื่องนี้ผ่านอำนาจนิติบัญญัติและการกำกับดูแล เช่น กฎหมายความเป็นส่วนตัว หรือ GDPR และกำลังขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายนอกอาณาเขต (Extraterritorial Legislation) มากขึ้น โดยหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องติดต่อหรือทำธุรกรรมกับพลเมืองในเขตอำนาจศาลของประเทศหนึ่ง ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่ว่าองค์กรจะดำเนินธุรกิจที่ใดหรือพลเมืองนั้นอาศัยอยู่ที่ใด

ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีส่วนร่วมในเชิงรุกเพื่อให้แน่ใจว่ารูปแบบการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ นั้นเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในปัจจุบัน ซึ่งบทบาทของพวกเขาคือการตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและพูดคุยกับผู้บริหารอื่น ๆ ถึงแนวทางขององค์กรว่าเอื้อต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วทั้งองค์กรอย่างไร

2. สร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีท้องถิ่น (Build a local technology industry)

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอยู่ในสายตาและเป็นที่สนใจอย่างมากสำหรับผู้กำหนดนโยบายสาธารณะทั่วโลก ด้วยขนาด การเติบโต ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ รายได้จากภาษี ความเป็นไปได้ของการจ้างงาน และไม่ค่อยมีการเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบด้านทรัพยากรของประเทศในด้านใดโดยเฉพาะ

รัฐบาลหลายประเทศกำลังลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของตน ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ พยายามแก้ไขความไม่สมดุลระดับภูมิภาคของการผลิตชิปทั่วโลก ผ่านกฎหมายสร้างแรงจูงใจให้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่ออเมริกา ในชื่อกฎหมาย CHIPS for America Act (หรือ Creating Helpful Incentives to Produce Semiconductors for America Act) และรัฐบาลออสเตรเลียที่นำเสนอแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลปี 2030 (Digital Economy Strategy 2030) รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกิดใหม่และมีพลวัตเป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ 

ความพยายามในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภายในประเทศ ทำให้ผู้บริหารไอทีมีโอกาสสร้างการมีส่วนร่วมเชิงรุกกับภาครัฐฯ โดยต้องปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและบูรณาการระหว่างความเชี่ยวชาญระดับท้องถิ่นกับการเข้าถึงการร่วมสนับสนุนทางนวัตกรรมของรัฐบาลให้เข้ากันอย่างที่สุด

3. บรรลุขีดความสามารถทางทหารที่จำเป็น (Achieve necessary military capability)

การเติบโตและเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นของภารกิจทางการทหารและความมั่นคงแห่งชาติจะจำกัดความพร้อมของบางเทคโนโลยีในประเทศต่าง ๆ ซึ่งองค์กรและผู้บริหารไอทีต่างได้รับผลกระทบจากสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ในด้านการสู้รบและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

ซีไอโอไม่สามารถพึ่งพาความพร้อมของเทคโนโลยีที่องค์กรเคยใช้ได้กับการดำเนินงานในประเทศใด ๆ ก็ได้อีกต่อไป และมีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับซัพพลายเออร์ที่ถูกจำกัดและดำเนินงานตามคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อลดปัญหาการหยุดชะงัก พวกเขาต้องตั้งศูนย์กลางของผู้จัดจำหน่ายและความเป็นเลิศด้านความเสี่ยงทางเทคโนโลยี เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของซัพพลายเออร์หลักร่วมกับข้อบังคับของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

4. ควบคุมโดยตรงให้ครอบคลุมธรรมาภิบาลของไซเบอร์สเปซ (Exert direct control over the governance of cyberspace)

การแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการกำกับดูแลไซเบอร์สเปซจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติ ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลหลอมรวมสังคมในทุก ๆ ด้านเข้าด้วยกัน ประเทศต่าง ๆ พยายามสร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยีของตนเองนั้นสะท้อนและสนับสนุนค่านิยมหลักรวมถึงการดำเนินชีวิตของพลเมืองของตน ซึ่งรัฐบาลต่าง ๆ ได้ข้อสรุปเพิ่มมากขึ้นว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับประเทศที่ได้รับการป้องกันคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ

แม้แผนงานควบคุมกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของภาครัฐจะอยู่นอกเหนือหน้าที่ของซีไอโอ แต่ผู้บริหารไอทียังมีบทบาทสำคัญกับความสามารถของการดำเนินธุรกิจในระดับสากล ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารท่านอื่น ๆ เกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อควบคุมไซเบอร์สเปซ รวมถึงประเมินผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ด้วยการทำบรรยายสรุปประจำปีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของไซเบอร์สเปซใหม่ ๆ

ลูกค้าการ์ทเนอร์ สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “What Forces Are Driving Digital Geopolitics and Where CIOs Should Focus” และ “3 Critical Actions for Executives to Cope With Long-Term Impacts of Geopolitical Tensions.