3 ก.ย. 2565 2,754 49

มิว สเปซ เปิดแผนธุรกิจในช่วง 10 ปี เตรียมรุกบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมรูปแบบ Distribution Services พร้อมดึง AIRBUS เสริมระบบ Space Supply Chain

มิว สเปซ เปิดแผนธุรกิจในช่วง 10 ปี เตรียมรุกบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมรูปแบบ Distribution Services พร้อมดึง AIRBUS เสริมระบบ Space Supply Chain

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (mu Space Corp) ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม เผยแนวทางรุกธุรกิจช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าลงทุนสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งเป็นผู้นำรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใด้ สร้างเครือข่ายด้านวัสดุอุปกรณ์และสินค้าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจรดปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาวัสดุผลิตดาวเทียม การจัดหาชิ้นส่วนอวกาศ การสร้างอุปกรณ์ ไปจนถึงประกอบออกมาเป็นสินค้ายิ่งไปกว่านั้น ยังเตรียมรุกธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นหลายด้าน ทั้งนี้ ได้รับความสนใจทั้งจากสื่อมวลชน และองค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก



เจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ เปิดเผยว่า " มิว สเปซ ประสบความสำเร็งอย่างสูงในด้านการพัฒนาดาวเทียมและระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง (High Power System) โดยทำให้เล็งเห็นความสำคัญในลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่ Human Capital Knowledge (องค์ความรู้), Equipment & Machinery (เครื่องมือและเครื่องจักร) และ Raw Material (วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี) อีกทั้ง ยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก่อนให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ มิว สเปซ จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม Start Up รุ่นใหม่ ให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดี เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนนการขยายตลาดในอุตสาหกรรมอวกาศได้เติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



จากรายงานเศรษฐกิจเกี่ยวกับธุรกิจด้านอวกาศ ได้มีสื่อมวลชนรายใหญ่และกลุ่มนักวิเคราะห์ระดับชั้นนำ ประเมินมูลค่าอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลก มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2569 จะเดิบโตจากมูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มไปถึง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อันเป็นปัจจัยบวกทั้ง ด้านเศรษฐกิจ, ด้านการศึกษา, ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการสร้างอาชีพและการการจ้างงานอีกทั้ง ขยายผลลัพธ์เชิงบวกให้กระจายขยายเป็นวงกว้าง ครอบคลุมไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการแถลงข่าว "Thailand Space Supply Chain 10 ปี กับแผนเดินหน้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ" ที่จัดขึ้นครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างคีจากองค์กรระดับชั้นนำ ได้แก่ AIRBUS บริษัทผู้ผลิดชื้นส่วนการบินระดับโลก โดยยินดีสนับสนุนและมีบทบาทร่วมสร้าง Space Supply Chain ให้เกิดขึ้นในเอเชียคะวันออกเฉียงใด้



ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิชารสนเทศ หรือ GISTDA กล่าวว่า  "New Space Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิงจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศว่า ขณะนี้ บทบาทได้พลิกจากเดิมที่มีเพียง "ภาครัฐบาล" หรือ "ประเทศมหาอำนาจ" เป็นผู้ดำเนินการหลักเท่านั้น มาสู่กลุ่มภาคเอกชน ซึ่งเข้ามามีบทบาทมากยิ่ง ขึ้น โคยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยือวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอก. นับได้ว่าเป็นองค์กรหลักที่มีส่วนในการสนับสนุนและผลักดัน New Space Economy ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ พร้อมทั้งผลักกัดนโยบายรัฐบาลผ่าน (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) ซึ่งนำเสนอแนวทางในการสร้ง Thailand Space Supply Chain สู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ"



สำหรับ การสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรอย่างแท้งริง ปกติต้องใช้ระยะเวลากว่า 30 - 40 ปี ในขณะที่ มิว สเปซ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิงด้วยความมุ่งมั่นในจุดยืน ที่จะสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศอย่างจริงจัง ประกอบกับได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มนักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ นักลงทุนชั้นนำอย่างบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ - อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทย รวมถึงบริษัท Majuven Fund พร้อมกลุ่มนักธุรกิจเอกชนผู้บริหารจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) รวมทั้งนักลงทุนในภาคอุดสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกมากมายทั้งในและต่างประเทศ ส่งผล มิว สเปซ สามารถสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมค้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

Adslthailand สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณเจมส์ วรายุทธ CEO มิว สเปซ กล่าวต่อด้วยว่า "สำหรับเป้าหมายใน 10 ปีที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งการจัดส่งดาวเทียมของเราเรามุ่งเน้นพัฒนาดาวเทียมที่มีน้ำหนักอยู่ที่ 200 -  500 กิโลกรัม (Small Satellite) ซึ่งการเติบโตของกลุ่มดาวเทียมที่มีน้ำหนักดังกล่าวขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ยังไม่รวมการจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กซึ่งมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัมสำหรับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือนักวิจัยภาคเอกชนที่ต้องการใช้บริการและระบบพลังงานและแบตเตอรี่ มิว สเปซ ได้มุ่งเน้นแบตเตอรี่และระบบพลังงานที่เกี่ยวข้องกับระบบดาวเทียมและรถยนต์"



สำหรับแผนการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นอวกาศของมิวสเปซ ในปีนี้อยู่ที่ 10 ดวง ปีหน้า 2566 จำนวน 100 ดวง และภายใน 5 ปีนี้ จำนวน 500 ดวง และระบบแบตเตอรี่เราผลิตได้แล้วอยู่ที่ 10,000ต่อเซล และและภายใน 5 ปีนี้ จำนวน 1,000,000 ต่อเซล สำหรับตัวชิ้นส่วนที่ทาง มิวสเปซ ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ผ่านมาตรฐาน Technology Readiness Level 6 ที่เราเริ่มส่งออกและจัดจำหน่ายตั้งแต่เสาอากาศ (Antenna) หลังจากนั้นเราเริ่มพัฒนาวัสดุชิ้นส่วนต่างๆให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น และรวมไปถึงในเรื่องของระบบการจัดการพลังงาน (Power System)


ซึ่งได้ผ่าน Technology Readiness Level 6 ทั้งหมด ในอนาคตเราจะมีไฟท์ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศทั้งดวงเร็วๆนี้ นั่นหมายความว่าบริษัทของเราได้ผ่านมาตรฐาน Technology Readiness Level 9 ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดเป็นที่เรียบร้อย ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราอยู่ทวีปยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา
ในการร่วมงานในครั้งนี้เราได้นำ AIRBUS มาร่วมด้วยถือเป็นพันธมิตรระยะยาว ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้เป็นรูปแบบ Supply Chain  เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งความพิเศษของ AIRBUS คือระบบ  Supply Chain ที่มีความแข็งแรงเป็นระบบที่เชื่อมต่อทั่วโลก ซึ่งเราเองสามารถที่จัดส่งออกชิ้นส่วนดาวเทียมผ่านทาง AIRBUS ได้ในระยะยาว ในวันนี้เราได้ร่วมมือในการส่งออกชิ้นส่วนดาวเทียมและแบตเตอรี่ ในอนาคตเราก็จะร่วมมือกับกองทัพอากาศของประเทศไทย


"เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการก้าวไปสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ เตรียมให้บริการ Distribution Services โดยจะมีการประกาศออกมาภายในปีนี้ อย่างเร็วภายในเดือนตุลาคม 2565 ทำสัญญาเพื่อเตรียมรองรับการให้บริการตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้บริการในประเทศไทยทางเรามองว่าคนไทยจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำกลางปี 2566 เป็นต้นไป มิว สเปซ พร้อมสนับสนุนในด้าน Service และมีการพูดคุยเกี่ยวกับการรับสัญญาณดาวเทียมวงโคจรต่ำบางส่วน ในการพัฒนา Generation ขั้นถัดไป ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ง่ายขึ้น โดยในระหว่างนี้กำลังเร่งพัฒนาพร้อมกับเรามองว่าการรับสัญญาณดังกล่าวมีต้นทุนในการผลิตที่ค่อนข้างสูงนับเป็นโครงการที่ใหญ่อีกโครงการหนึ่ง"


ความร่วมมือในส่วนของภาครัฐที่มีกับมิว สเปซ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอก. ทำโรงงานเพื่อใช้ประกอบอุปกรณ์ดาวเทียมแห่งชาติ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ มิวสเปซได้ประสานงานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ซึ่งจะมีการช่วยเหลือกันในอนาคต

สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอวกาศในอนาคต เชื่อว่าประเทศไทยพร้อมออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องมารองรับให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินงานเพื่อความสะดวก เพื่อให้ประเทศไทยภาครัฐและภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศให้สามารถ เติบโตในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน mu Space ได้จัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศโดยมีราคาการขนส่งอยู่ที่ 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม


เป้าหมายต่อไปในอนาคต มิวสเปซ คาดหวังทำให้ราคาการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศลดลงถึง 10 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ซึ่งคู่แข่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะลดน้ำหนักการขนส่งขึ้นสู่อวกาศ ไม่ว่าจะเป็นการเทคโนโลยี Printing ที่มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ ได้เตรียมพัฒนารองรับดาวเทียมอินเทอร์เน็ตวงโคจรต่ำด้วยระบบไฟฟ้า High Power ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินกับอวกาศได้อย่างไม่สะดุด

สำหรับการขยายการผลิตทั้งหมดนั้น เตรียมการสร้างโรงงานแห่งที่ 4 มีขนาดมากถึง 20,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับการผลิตดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศขั้นต่ำ 500 ดวง และพร้อมผลิตแบตเตอรี่มากถึง 8,640,000 ต่อเซล  โดยคาดว่าจะหาพื้นที่ที่ใกล้กับการขนส่งได้ง่ายทั้งบริเวณสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ หรือสนามบินอู่ตะเภา ขณะนี้กำลังเร่งหาพื้นที่เพื่อความเหมาะสมในขั้นตอนถัดไป