22 ก.ค. 2565 1,209 3

เหล่ามหาเศรษฐี พร้อมใจตีตั๋วเดินทางสู่อวกาศ กับราคาไม่ไกลเกินเอื้อม แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

เหล่ามหาเศรษฐี พร้อมใจตีตั๋วเดินทางสู่อวกาศ กับราคาไม่ไกลเกินเอื้อม แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

ความนิยมในการท่องอวกาศของเหล่าบรรดามหาเศรษฐีนั้นแข่งขันกันสูง โดยมีบริษัทพาท่องอวกาศมากมาย คล้ายกับเรานั่งเครื่องบินหรู โดยเลือกจรวด หรือยานพาหนะที่ชื่นชอบได้เลย อย่างเช่น Falcon 9 โดย SpaceX ของ Elon Musk, VSS Unity ของ Richard Branson และ New Shepard ของ Jeff Bezos

ราคาไม่ไกลเกินเอื้อม ไม่ใช่แค่เศรษฐี เพราะการท่องเที่ยวในอวกาศ กำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และมีการแข่งขันกันสูง คนไม่ได้รวยก็อยากเก็บเงินเที่ยวอวกาศสักครั้งในชีวิต โดยกำเงินประมาณ 16.5 ล้านบาท เราเรียกว่า Space tourism คือเป็นการท่องเที่ยวอวกาศ มีการเติบโตของการท่องเที่ยวเหมือนเครื่องบินเลย คือมีเที่ยวบินเยอะขึ้น ถี่ขึ้น แถมต้นทุนถูกลง ทำให้โอกาสในการท่องอวกาศของทุกคนไม่ไกลเกินฝันจริงๆ

ถ้ามองว่า เงิน 15 ล้าน ซื้อรถ 1 คัน แต่ถ้าได้ไปท่องอวกาศ ก็คงได้ประสบการณ์ที่ชีวิตนึงเราได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ หรือถ้ามีงบ 4.5 ล้าน นั่งบอลลูนหรูท่องอวกาศ วิว 360 องศา มี Wi-Fi และมี bar ให้ดื่มด่ำกับสุดยอดประสบการณ์


Space Perspective เป็นบริษัทสตาร์ทอัพท่องอวกาศ (space tourism startup) จัด "space lounge" หรือห้องรับรองพิเศษชมอวกาศ จะบินออกจากโลกในปี 2024

บริการ Wi-Fi บนบอลลูนหรู ทำให้ผู้ใช้สามารถ livestream ถ่ายทอดสดบรรยากาศแบบสดๆ ให้เพื่อนๆ หรือผู้ติดตามได้สัมผัสแบบเรียลไทม์ 

แต่ด้วยราคาที่ต่างกัน การท่องอวกาศด้วยบอลลูน ไม่ได้สูงเท่าจรวด ยังไม่ไปถึงชั้นบรรยากาศ เอาแค่วิว เพราะบอลลูนสูงเพียง 100,000 ฟุต หรือ 30,480 เมตรจากพื้นดิน ยังไม่ได้บินสูงเท่า orbit ที่เป็นจรวดท่องเที่ยว หรือ SpaceX ของ Starlink ที่เป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโครจรสูง 340 กิโลเมตร  

ในขณะที่การบริการ Wi-Fi บนอวกาศในวงโครจร ทาง Solstar Space Company ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนอวกาศ โดยมีการพัฒนาจากเทคโนโลยีที่ NASA เคยให้บริการอินเทอร์เน็ตในวงโคจรได้สำเร็จเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเคยมีข้อความทวิตแรกจากอวกาศ ในปี 2009 

แต่ในด้านสิ่งแวดล้อม จรวดก็ไม่ต่างจากยานพาหนะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ใช้น้ำมัน มีการเผาไหม้ ยิ่งปล่อยจรวดมากขึ้นเท่าไร เขม่าดำก็จะยิ่งถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเยอะมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เราต้องกลับมามองตรงนี้ด้วยว่า การทำลายสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมนี้ได้ทำลายชั้นบรรยากาศของโลกด้วย

เรื่องนี้ต้องเอาใจใส่มากขึ้น ดังนั้นการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอวกาศ จึงจำเป็นต้องเริ่มต้นตอนนี้ ถ้าเทียบกับรถยนต์ ไปทางเดียวกัน นั่งรถคันเดียวกัน จรวดก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้ ในปี 2020 ผู้ให้บริการท่องเที่ยวอวกาศ Virgin ได้บรรทุกนักท่องเที่ยวในอวกาศเพียงคนเดียว ส่วน SpaceX ได้บรรทุก 2 คน และ Blue Origin ได้บรรทุกผู้โดยสาร 5 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว

Virgin พยายามผลักดันการบรรทุกผู้โดยสาร ในขณะที่ Blue Origin กำลังค่อยๆ ปรับ ส่วน SpaceX กำลังมองหาช่องทางเพิ่มเติม และดูเหมือนจะมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น สำหรับราคาเที่ยวบินอวกาศ 450,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ Virgin พาไปท่องอวกาศ 12 นาที ส่วน Blue Origin ไม่ได้เปิดเผยค่าโดยสาร ในขณะที่ SpaceX ใช้จรวด Falcon 9 พาเจ้าหน้าที พนักงาน ดาวเทียม และนักบินอวกาศของ NASA ไปด้วย 

เรื่องสิ่งแวดล้อม จรวดทำให้เกิดความร้อนและมลพิษมากกว่าเครื่องบิน แต่ไม่ใช่ว่าผู้ให้บริการจรวดจะไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ แต่ถือเป็นความวิตกกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมที่พยายามผลักดันมากทีเดียว โดย Blue Origin ของ Bezos ใช้ ไฮโดรเจนเหลว และออกซิเจน เป็นเชื้อเพลิง เพื่อลดการเผาไหม้และทำลายชั้นบรรยากาศ ส่วน New Shepard ใช้ ออกซิเจนเหลว และไฮโดรเจน พยายามไม่ให้ปล่อยคาร์บอน และย้ำว่าความเสียหายของชั้นบรรยากาศถูกทำลายหนักมาก ฝั่งผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบต่อโลกด้วย

สิ่งที่น่าห่วงคือ ผลกระทบจากจรวดไม่ใช่แค่เรื่องการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งทั้ง Virgin และ Blue Origin นั่นไม่มีข้อครหา เนื่องจากจรวดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในขณะที่ SpaceX และตัวปล่อยวงโคจรอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อการทำลายโอโซน คิดเป็น 51%

ตอนนี้เหล่าบรรดามหาเศรษฐี ท่องอวกาศกันในราคาที่ถูกลง แต่ถ้าเอาจริงๆ ราคาไม่ได้ถูกลง แต่สิ่งแวดล้อมกลับมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากสิงแวดล้อมได้รับผลกระทบจึงทำให้เราไม่ได้จ่ายแค่ค่าโดยสารเท่านั้น แต่เราจ่ายค่าสิ่งแวดล้อมด้วย

ดังนั้น มหาเศรษฐี ท่องอวกาศได้ และทุกคนก็สามารถท่องอวกาศได้ ไม่ใช่แค่ความฝันอีกต่อไป ขอแค่เก็บเงินได้พอค่าตั๋วก็ได้ท่องอวกาศแล้ว และเราได้เห็นการแข่งขันทั้งการบิน ทัวร์อวกาศ และฝั่งบริการอินเทอร์เน็ตบนอวกาศก็คึกคักขึ้นด้วย ก่อนหน้านี้ อินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินก็มีการแข่งขันสูงมาก เพราะในวันนี้ ประสบการณ์อินเทอร์เน็ตบนที่สูง ไม่ได้แย่แบบที่เราเคยเจอบนเครื่องบินในสมัยก่อนแล้ว

time bangkokpost nasa.gov zdnet kratosdefense twitter broadbandnow