5 ก.ค. 2565 382 0

ผลการศึกษาของอะโดบี ชี้ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกกว่า 66% จะเลิกซื้อสินค้า หรือบริการจากแบรนด์ที่ทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ผลการศึกษาของอะโดบี ชี้ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกกว่า 66% จะเลิกซื้อสินค้า หรือบริการจากแบรนด์ที่ทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

อะโดบีเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกกว่า 5,000 คน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในภาคธุรกิจกว่า 900 คนที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่าง “ความน่าเชื่อถือของแบรนด์” และ “พฤติกรรมผู้บริโภค” โดยผู้บริโภคใน APAC ราว 66% ระบุว่าตนเองจะเลิกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่ทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ขณะที่ส่วนใหญ่มีแผนที่จะใช้จ่ายเงินอย่างน้อย 700 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือกว่า 17,000 บาทต่อปีเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่ไว้ใจ และ 40% มีแผนที่จะใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 1,400 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือกว่า 34,000 บาทต่อปี 

เมื่อสอบถามผู้บริโภคว่าประสบการณ์แบบดิจิทัล หรือประสบการณ์แบบพบเจอกันโดยตรงหรือประสบการณ์หน้าร้าน (
In-person Experience) อย่างไหนมีความสำคัญมากกว่ากันในการเสริมสร้างความเชื่อมั่น ปรากฏว่ากว่าหนึ่งในสามของผู้บริโภคใน APAC (35%) มองว่าประสบการณ์แบบดิจิทัลมีความสำคัญมากกว่า ขณะที่ 23% ระบุว่าประสบการณ์แบบพบเจอกันโดยตรงมีความสำคัญมากกว่าในแง่ของการสร้างความเชื่อมั่น และ 43% ระบุว่าทั้งสองอย่างมีความสำคัญพอๆ กัน

ไซม่อน เทต ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของอะโดบี
 กล่าวว่า ความสำคัญของประสบการณ์ดิจิทัลต่อการสร้างความไว้ใจของผู้บริโภคเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น และมีเดิมพันที่สูงมาก ถ้าแบรนด์สามารถนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ผู้บริโภคจำนวนมากก็จะรู้สึกภักดีและใช้จ่ายเงินมากขึ้นให้กับแบรนด์นั้นๆ ในทางตรงข้าม ถ้าความเชื่อมั่นถูกทำลาย ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็จะเดินจากไปแบบไม่หวนกลับมา

แม้ว่าการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจให้กับผู้บริโภคจะมีความสำคัญ แต่ผู้บริหารระดับสูงในภาคธุรกิจชี้ว่า ทุกวันนี้มีความยุ่งยากมากขึ้นในการสร้างความเชื่อมั่น โดยเกือบเก้าในสิบ 
(87%) ระบุว่าการดำเนินการดังกล่าวกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาด

ประสบการณ์ของผู้บริโภคใน APAC ในช่วงสองปีที่ผ่านมา และการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ความน่าเชื่อถือของแบรนด์เปลี่ยนแปลงไป โดยทุกวันนี้ ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับความสามารถของแบรนด์ในการสร้างผลลัพธ์เชิงบวก การใช้ข้อมูลอย่างมีความรับผิดชอบ และการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้า” เทตกล่าว

ลดปัญหาช่องว่างเรื่องความไว้วางใจในข้อมูล

การที่แบรนด์ต่างๆ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้บริโภคใน 
APAC รู้สึกไม่ไว้ใจต่อแบรนด์  จากผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภค 85% มีความกังวลใจว่าข้อมูลของตนเองจะถูกนำไปใช้ในลักษณะใดบ้าง และเกือบครึ่งหนึ่งรู้สึก กังวลใจอย่างมาก’  ทั้งนี้ มีผู้บริโภคเพียง 38% เท่านั้นที่เชื่อว่าการให้ข้อมูลแก่บริษัทต่างๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

นอกจากนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองจะเลิกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ในทันที ถ้าหากพบว่าแบรนด์นั้นๆ มีปัญหาเรื่องการกำกับดูแลข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม และ
 68% จะเลิกซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทที่ใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่ 67% ก็จะเลิกซื้อสินค้าหรือบริการเช่นเดียวกันหากพบเจอปัญหาข้อมูลรั่วไหล

แม้ว่าผู้บริโภคจะส่งสัญญาณเตือนดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่ผู้บริหารใน
 APAC ราว 95% คิดว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้บริโภคอย่างปลอดภัยและใช้งานอย่างรับผิดชอบ และ 76% ระบุว่าการที่บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกค้าอย่างคุ้มค่ามากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

บทบาทของเทคโนโลยีในการสร้างความเชื่อมั่น

ผู้บริโภคใน 
APAC ระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้ความไว้วางใจต่อแบรนด์เพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมทั้งปรับปรุงประสบการณ์ดิจิทัล โดยเทคโนโลยีนับเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก  ผู้บริโภคเกือบสามในสี่ (72%) กล่าวว่าความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์จะเพิ่มขึ้นหากมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับแต่งประสบการณ์สำหรับลูกค้า ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 56%  อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (74%) กล่าวว่าการปรับแต่งประสบการณ์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำลายความเชื่อมั่น โดยตัวอย่างที่พบเจอมากที่สุดได้แก่ การติดต่อลูกค้าในลักษณะที่ไม่น่าไว้ใจ’ และการส่งโฆษณาหรือข้อเสนอที่ไม่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้า

สามารถดาวน์โหลดรายงาน 
Adobe Trust Report 2022: APAC ฉบับเต็มได้ที่นี่

เกี่ยวกับรายงานผลการศึกษา
รายงาน Adobe Trust Report 2022: APAC เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Trust Report ระดับโลก โดยเน้นย้ำถึงปัจจัย ผลกระทบ และคุณค่าของความเชื่อมั่นระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ต่างๆ  รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคกว่า 5,000 คน และผู้บริหารระดับสูง 900 คนในเอเชีย-แปซิฟิก โดยโฟกัส 4 ภูมิภาคย่อย ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้