30 มิ.ย. 2565 958 25

Ericsson Mobility Report เผยข้อมูลไทยใช้ 5G SA ล้ำหน้าในภูมิภาค แนะ กสทช. ปลอดล็อคความถี่ 3500 MHz เพื่อออกกติกาให้ทดสอบระบบ 5G ได้ง่ายขึ้น

Ericsson Mobility Report เผยข้อมูลไทยใช้ 5G SA ล้ำหน้าในภูมิภาค แนะ กสทช. ปลอดล็อคความถี่ 3500 MHz เพื่อออกกติกาให้ทดสอบระบบ 5G ได้ง่ายขึ้น

ปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564  ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570

ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570

มร. อิกอร์ มอเรล  ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า
“ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”

“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย”

คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย

จากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 

รายงาน
Ericsson Mobility Report
ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา 

การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้

ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด

ในส่วนของ Internet of Thing  (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด

เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566 

จากการสอบถามเพิ่มเติม adslthailand พบว่า ขณะนี้มีผู้ใช้บริการ 5G มากกว่า 1พันล้านรายในสิ้นปีนี้ และมีการให้บริการ FWA เพิ่มขึ้นอีก 20% จากปริมาณการใช้งานบนโครงข่ายในการให้บริการ 5G แล้วต่อไปประเทศไทยก็น่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นตามอัตราการสื่อสารของชาวโลกที่สำคัญปัจจุบันมีปริมาณในการใช้บริการ 5G เพิ่มเป็น 2 เท่า สิ่งที่น่าสนใจอีกกรณีคือการเคลื่อนไหวของเทคโนโลยี IoT คือ 2G/3G

โดยเรายังเห็นว่ากระดูกสันหลังในกลุ่มหลักของโลกยังคงเป็น 4Gและยังมีอัตราในการเติบโตเพิ่มขึ้นแต่ความสำคัญของ 5G ก้าวกระโดดอย่างมีนัยยะสำคัญทำให้คนทั่วโลกสามารถที่จะสัมผัส 5G ในเบื้องต้นที่ 620 ล้านราย

ปัจจัยที่สำคัญในประเทศจีน มีการขยายโครงข่ายได้อย่างรวดเร็วทำให้อัตราการเติบโตของการวางโครงข่าย 5G มีปริมาณเพิ่มขึ้นปริมาณสมาชิกของการให้บริการ 5G ในปัจจุบัน ในกลุ่มอเมริกาเหนือมีการใช้ปริมาณ 5G ครอบคลุมประชากรถึง 20% และภ่ยในปี 2027 ก็จะเพิ่มขึ้นถึง 90%

สำหรับประเทศไทยนั้นอยู่ในกลุ่มของ South East Asia ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราในการเติบโตของผู้ใช้งาน 5G เร็วไม่น้อยหน้ากว่าประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในอนาคตในแถบภูมิภาคนี้จะมีการใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นถึง 46% อัตราดังกล่าวจะเติบโตขึ้นได้ก็เนื่องจากการขับเคลื่อนในประเทศของฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนิเซียที่จะทำให้ประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้น

การให้บริการ FWA คาดว่าจะมีผู้เชื่อมต่อโครงข่ายดังกล่าวมาถึง 100 ล้านรายและจะมีผู้เชื่อมต่อโครงข่ายดังกล่าวมาถึง 230 ล้านคนในอนาคต

ประเทศไทย ยังมีความพิเศษ เนื่องจากคนไทยมีพฤติกรรมที่ใช้บริการ 5G อย่างจริงจังทั้งเกม และคอนเทนท์ ซึ่งภายในปี 2025 มีปริมาณการใช้งานเกินครึ่งอย่างแน่นอน โดยเฉพาะวิธีโอคมชัดสูงเราจะเห็นได้ว่าการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 37%

จากปัจจุบันจะเห็นว่า ไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 19% ก็จะกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 69% ไปในปี 2027  เมื่อเทียบในภูมิภาคเดียวกันเราเติบโตกว่าในภาพสูงกว่าเพราะภูมิภาคมีอัตราเติบโตเพียงแค่ 30% เท่านั้น

โดย AIS มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้งาน 5G สูงสุดหากในอนาคต True และ Dtac มีการควบรวมกิจการกันเราก็จะเห็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งที่จะขับเคลื่อน 5G ให้เจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นนั่นคือการได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้บริการ 5G ในอนาคต

ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นแน่นอนว่ารายได้ค่าบริการต่อเลขหมายก็จะเพิ่มขึ้นสูงถึง 85% ในปี 2027 ในอนาคตจะต้องมีระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ประเทศไทยมีประชาชนที่มีความสามารถที่ใช้ 5G ที่ดีมากและไทยมีธุรกิจที่มีความหลากหลายเราเป็นประเทศที่เป็นฮับทางด้านอินโนเวชั่นที่สำคัญระบบการศึกษาของเราก็เชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ต และเป็นประเทศตลาดหลักของเรา

สำหรับสถานการณ์ที่ค่าพลังงานสูงขึ้นทาง Ericsson ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเหลือโครงขายทำให้โครงข่ายในบางส่วนที่มีความหนาแน่นในการใช้งานน้อยในบางช่วงเวลาก็จะสามารถดับเครื่องได้ทันทีส่งผลทำให้ลดการใช้พลังงานได้เป็นจำนวนมากเรื่องการประหยัดพลังงานถือเป็นเรื่องซีเรียสที่ทางEricssonให้ความมุ่งมั่นตั้งใจในการให้บริการดังกล่าว

ประหยัดพลังงานไม่ได้มองที่ย่านความถี่สูงหรือย่านความถี่ต่ำเช่น 5G ย่าน 700MHz 2600 MHz 3500MHz แต่มองว่าเราจะบริหารจัดการอย่างไรให้โครงข่ายสามารถประสานการทำงานระหว่างการให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ Ericsson ยังได้ให้ความมั่นใจว่ากรณีหากเกิดสงครามยูเครนแล้วลามไปยังทั่วโลกการเติบโตของ 5G ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่สะดุดเพราะเรากระจายสินค้าอุปกรณ์ไปยังคลังต่างๆทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราสามารถที่จะนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาติดตั้งและช่วยเหลือในสภาวะสงครามได้อย่างทันทีหรือความต้องการของบางประเทศที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น