24 ก.ค. 2563 3,018 56

เปิดใจ DTAC ในความท้าทายใหม่ ลุยขยายสัญญาณต่อเนื่องเพื่อคนไทย พร้อมตอบคำถามหายสงสัยเรื่อง 5G

เปิดใจ DTAC ในความท้าทายใหม่ ลุยขยายสัญญาณต่อเนื่องเพื่อคนไทย พร้อมตอบคำถามหายสงสัยเรื่อง 5G

ดีแทคเปิดบ้าน เล่าเรื่องให้หายคาใจ กับหลากหลายข้อสงสัย ที่ผู้ใช้ออนไลน์สนใจ โดยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ดีแทคเอง ก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าด้วย

ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้รายได้ลดลง จึงต้องปรับการใช้จ่าย ดังนั้นก็เลยมีผลต่อการใช้จ่าย เพราะเศรษฐกิจก็ไม่ดี โดยดีแทคได้เล็งเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 4 ด้าน ได้แก่ อำนาจการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง การใช้งานช่องทางดิจิทัลที่มากขึ้น คลื่นแรงงานที่หลั่งไหลกลับภูมิลำเนา และการใช้งานดาต้าที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญ

และเมื่อเราใช้ช่องทางดิจิทัลกันมากขึ้น แน่นอนว่า เครือข่ายหรือสัญญาณมือถือ ก็ต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้งานด้วย ‘ผู้ใช้งานเปลี่ยน เน็ตเวิร์กเปลี่ยน’ ดีแทคพัฒนาประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณให้ดีขึ้น 3 เท่า ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น และตอนนี้เห็นได้ว่า ปริมาณการใช้งานดาต้าในพื้นที่ภูมิภาคนั้นเติบโตสูงกว่ากรุงเทพฯ

ดีแทคสื่อภาพแบรนด์ "ใจดี" ห่วงใยคนไทย ภายใต้ความกดดันจาก 

- เศรษฐกิจที่ชะลอตัว

- ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไป

- การใช้งานและสถานที่ลูกค้าไปใช้เปลี่ยนไป

จากที่ผ่านมา เมื่อดูจากสภาพเศษฐกิจแล้ว ตัว GDP ลดลง 8% การท่องเที่ยวและการจ้างงานที่ลดลงผล ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจในการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนใหม่ 36 เดือนต่อครั้ง

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือผู้ใช้งาน dtac ในช่วงโควิด-19 มีการใช้การใช้งานแอปของดีเทคเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จำนวนการเยี่ยมชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 68%  ยอดการใช้สิทธิ #savestreetfood ดีลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (food) เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการอาหารได้ดีที่สุด มีคนใช้งานมากถึง 100 เท่า โดยเฉพาะเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2563 และยังมีแคมเปญช่วยเหลือลูกค้า เช่น ประกันสุขภาพ และคูปองส่วนลดสำหรับร้านขายยา

ล่าสุดทาง dtac ได้ทำเว็บเบอร์สวย ใหม่ล่าสุด ที่เหมาะกับลูกค้าจริงๆ ทั้งผลรวมและวันเกิดมารวมกัน เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนของทาง dtac โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบหมายเลขตามความต้องการ และเจาะความหมายได้ลึกมากกว่าเดิม

น็ตไฮสปีดสำหรับทุกคน 

สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดในช่วงโควิด-19 คือ ประชาชนชาวไทยกลับภูมิลำเนาจากกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้น  ที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานในกรุงเทพเอง จะกระจุกตัวในพื้นที่สำนักงาน เมื่อเกิดโควิด-19 ผู้ใช้งาน data ในต่างจังหวัด เมื่อเทียบกับกรุงเทพ เพิ่มขึ้น 5 เท่า 

ทำให้ dtac ออกโปรโมชั่นเกี่ยวกับ Happy@Home เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ที่บ้าน โดยเฉพาะ Wi-Fi ด้วยเน็ตบ้านแบบใหม่ (dtac@home) นอกจากนี้ทาง dtac ได้ออกโปรโมชั่นที่มัดรวมกับประกัน COVID-19 เพื่อให้ลูกค้าสะดวกและเข้าถึงประกันในช่วงระยะเวลาที่ลำบาก ส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทาง dtac ได้ออกโปรโมชั่นเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน อีกด้วย เพื่อแบ่งเบาภาระ เมื่อต้องลดค่าใช้จ่ายลง ก็เลือกจ่ายแพ็กเกจที่จำเป็นได้

โดยปริมาณการใช้งานดาต้าเฉลี่ยในแต่ละเดือนนั้น เติบโตขึ้นกว่า 44  เปอร์เซ็นต์ (จากเดือนมกราคมถึงมิถุนายน) แอปยอดฮิตคือ Zoom และ MS Teams ยังไม่รวมบริการที่จำเป็นสำหรับระบบการเรียนออนไลน์ การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ต่างก็เติบโตพุ่งพรวดก้าวกระโดด

ตอบคำถามหายสงสัย เรื่องเครือข่าย และ 5G

เรื่องของ Network ทาง dtac ให้ความสำคัญอย่างมากในการขยายการให้บริการ เนื่องจากลูกค้า dtac ใช้งาน data เพิ่มมากขึ้น 44% จึงทำให้ต้องเพิ่ม Massive MIMO เพื่อสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตเร็วเพิ่มมากขึ้น 3 เท่า  ทาง dtac ได้เร่งการขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ตไปในต่างจังหวัดอีกด้วย

สิ่งที่สำคัญ ลูกค้าของ dtac สามารถจับสัญญาณ TDD คลื่น 2300 MHz ได้ถึง 76% ของการใช้งานโครงข่ายทั้งหมด ทำให้เราเพิ่มจำนวนเสา TDD ถึง 20,000 เสา (พูดง่ายๆ คือ คนใช้ดีแทค มีมือถือ แท็บเล็ต ที่รองรับคลื่น ระบบ 4G-TDD 76 เปอร์เซ็นต์)

การให้บริการคลื่นความถี่ต่ำอย่าง 26 GHz และ 700 MHz ทาง dtac จะเริ่มให้บริการ 5G  เพื่อให้การให้บริการเข้าถึงลูกค้ามากที่สุด  โดยเน้นการให้บริการ 5G ในเขตอุตสาหกรรมก่อน ซึ่งสามารถใช้งานได้ไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะ FIXED WIRELESS ACCESS เพื่อรองรับ IoT เป็นจำนวนมาก โดยจะขยาย TDD 20,000  เสา (คือตัวเลขการขยายภายในสิ้นปีนี้)

สำหรับประเด็น 5G ในช่วงคลื่น 2100 MHz ทาง dtac ได้ขออนุญาตทดสอบ จากทาง กสทช. โดย dtac ทดสอบการให้บริการ 5G จริง แต่ยังไม่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ซึ่งทาง dtac กำลังรอ กสทช. อนุมัติเพื่อให้เราสามารถเปิดให้บริการในอนาคต  ปัจจุบันการทดสอบ 5G สำหรับ 2100 MHz มีเป้าหมายที่กำลังศึกษาในเรื่องประสิทธิภาพของคลื่นทั้งการรองรับปริมาณการใช้งาน  สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือราคาเครื่อง 5G 2100MHz ราคาค่อนข้างสูง ทาง dtac ต้องให้ลูกค้าใช้งานอินเทอร์เน็ตบนความเร็วที่สูงและจับต้องได้ 

โดยการให้บริการ 5G dtac มีคลื่น 26 GHz จริงๆ เราต้องการ 4G LTE 2300 MHz เพื่อให้สามารถให้บริการ ให้ลูกค้าพึงพอใจ

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ทาง dtac เน้นความต้องการของลูกค้า คือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง มากกว่าการให้บริการ 5G โดยลูกค้าต้องซื้อเครื่องใหม่ราคาแพง แม้ว่าทางดีแทคจะลงทุนโครงข่ายแล้ว แต่ลูกค้าจริงๆ ใช้งานได้น้อยก็ไม่ควรทำ

ส่วนการให้บริการ 5G ในคลื่น 700 MHz ในไตรมาส 4 ซึ่งในเรื่องของความครอบคลุม ขอให้ติดตาม ทาง dtac จะประกาศให้ทราบต่อไป

อีกประเด็นสำคัญคือ การที่ dtac ไม่มีคลื่น 2600 MHz ทาง dtac มองว่า เรามุ่งหวังในการให้บริการ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยที่ลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องที่มีราคาสูง ทำให้ต้นทุนการใช้บริการแพงจนเกินไป การให้บริการ 5G หากมีความพร้อมของสิ่งแวดล้อมทางสังคมแล้ว ก็พร้อมลงทุนทันที ซึ่งการลงทุน ทาง dtac มองว่า การให้บริการปัจจุบันเป็นการเรื่องการตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่าที่จะลงทุนโครงข่ายแล้วแต่ลูกค้าจริงใช้งานได้น้อย กรณีเรื่อง 5G เป็นเรื่องที่ต้องมองกันยาวๆ ถือเป็นเรื่องการวิ่งมาราธอนทาง 5G พร้อมลงทุนหากสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศน์พร้อม

การให้บริการ 5G แบบ B2B ในวันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้รู้ถึงแนวทางในการใช้งาน การลงทุน 8,000 - 10,000 ล้านบาท แม้ว่าเป็นงบที่น้อยเมื่อเทียบกับหลายๆ ส่วน แต่เพียงพอในการให้บริการ โดยเฉพาะช่วงนี้ทาง dtac กำลังเปลี่ยนคลื่นสัญญาณ 850 MHz เป็น 900 MHz และเพิ่มการลงทุน MIMO ในการให้บริการ 4G-TDD หากมีความจำเป็นต้องใช้งบเพิ่ม ทาง dtac ก็พร้อมเพิ่มเติมงบได้

และอย่างที่เราทราบกันว่า COVID-19 ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจำนวนที่ลดลงของจำนวนผู้ใช้ในไตรมาสที่ผ่านมา เกิดจากจำนวน SIM นักท่องเที่ยวไม่สามารถจำหน่ายได้สูง เนื่องจากประเทศไทยได้ล็อกดาวน์ ลูกค้ากลุ่มนี้จึงลดลง 80% แต่ลูกค้าในประเทศไทยยังคงใช้งานได้ปกติ (แถมใช้งานหนักกว่าเดิมอีกด้วย)

หลักการทำงานแบบ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน (tight-loose-tight)’

มาถึงเรื่องการทำงานของชาวดีแทคกันบ้าง อย่างที่เรารู้กันว่าทุกคนอยู่บ้าน WFH โดยดีแทคได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานภายในองค์กรให้สอดรับกับยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน การนำระบบ automation หรือ ‘ระบบควบคุมอัตโนมัติ’ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่วยย่นระยะเวลาให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดภาระงานของมนุษย์ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่

ปัจจุบัน ออฟฟิศทุกแห่งของดีแทค อนุญาตให้พนักงานกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ทำงานแบบยืดหยุ่น โดยพนักงานจะสลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์หรือในวันที่จำเป็นเท่านั้น

รูปแบบการทำงานแบบ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน (tight-loose-tight)’ เราชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ เราเชื่อว่าพนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน” ชารัดกล่าว

นำระบบออโตชันมาใช้ในส่วนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบปฏิบัติการโครงข่าย และในฟังก์ชันธุรกิจต่างๆ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า พนักงานจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน ‘BOTATHON’ ซึ่งทีมที่ชนะจะมีโอกาสสร้าง ‘หุ่นยนต์ผู้ช่วย’ ของตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อย่นระยะเวลาการทำงาน ป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และช่วยย่นระยะเวลาให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

“การให้บริการเชื่อมต่อในราคาที่จับต้องได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายนั้น เราต้องยึดประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจ ผู้ให้บริการเครือข่ายมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม และการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพ และการส่งมอบบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้ายิ่งขึ้นนั้น จะเป็นเป้าหมายสำคัญที่ดีแทคมุ่งเน้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2563” ชารัด กล่าวในที่สุด

COMMENTS