25 มิ.ย. 2563 2,436 49

AIS 5G - Forging Thailand’s Recovery ย้ำสร้าง 5G ใน 77 จังหวัด สู่ Digital Infrastructure ใหม่ของประเทศ

AIS 5G - Forging Thailand’s Recovery ย้ำสร้าง 5G ใน 77 จังหวัด สู่ Digital Infrastructure ใหม่ของประเทศ

AIS เผยวิสัยทัศน์เครือข่าย AIS 5G - Forging Thailand’s Recovery สร้าง 5G ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศให้เป็น Digital Infrastructure ใหม่ของประเทศ รวมถึงสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor – EEC) พร้อมผนึกผู้นำอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา วิกฤตโควิด-19 นำมาซึ่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลกยิ่งกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่เคยมีมา และก่อให้เกิด “ชีวิตวิถีใหม่” ที่ไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิมแบบทันทีทันใดในทุกระดับ



โดยจะเห็นปรากฏการณ์เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงตกต่ำจากวิกฤต หรือ FALL ต่อมาคือ ช่วงแห่งการต่อสู้เพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตไปให้ได้ หรือ FIGHT และช่วงสร้างอนาคตอย่างยั่งยืน หรือ FUTURE ซึ่งในทุกช่วงเวลาล้วนแล้วแต่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งเพื่อช่วยประคับประคองและเสริมขีดความสามารถทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด อย่าง AIS 5G ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ดิจิทัลเส้นใหม่ ที่ได้เริ่มนำมาใช้ช่วยเหลือ เพื่อหล่อเลี้ยงประเทศจากวันนี้เป็นต้นไป”

“ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เอไอเอสได้ลงทุนมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท โดยในปีนี้ได้เตรียมงบลงทุนไว้ที่ 35,000-45,000 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง

CEO AIS : ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เอไอเอสได้ลงทุนมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท และได้เตรียมงบลงทุนปีนี้ไว้ที่ 35,000-45,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด ครอบคลุมที่สุดในอุตสาหกรรม

CEO AIS : เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี Infrastructure ที่เป็นดิจิทัล เพราะดิจิทัลเป็นอย่างเดียวที่ทำให้รายเล็กชนะรายใหญ่ได้ เราไม่ใช่ประเทศใหญ่ แต่ 5G เป็นโอกาสมหาศาลของประเทศเล็กๆ อย่างเรา

พุทธิพงษ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส): 5G ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ สามารถผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า ดึงดูดทั้งนักลงทุน นักท่องเที่ยว เข้าสู่ประเทศ มาท่องเที่ยว มาใช้ชีวิต สร้างอนาคตประเทศไทยที่สดใส ด้วย 5G ที่เราสามารถใช้ได้จริงเป็นประเทศแรกๆ ใน SEA

พุทธิพงษ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส): 5G ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ สามารถผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า ดึงดูดทั้งนักลงทุน นักท่องเที่ยว เข้าสู่ประเทศ มาท่องเที่ยว มาใช้ชีวิต สร้างอนาคตประเทศไทยที่สดใส ด้วย 5G ที่เราสามารถใช้ได้จริงเป็นประเทศแรกๆ ใน SEA

ล่าสุดเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด คือ LOW BAND (700-900 MHz) 50 MHz, MID BAND (1800-2600 MHz) 170 MHz และ HIGH BAND (26 GHz) 1200 MHz และเปิดให้บริการ AIS 5G เป็นรายแรกของประเทศตั้งแต่วันที่  21 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมขยายเครือข่ายไปครบทั้ง 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาที่ผ่านมา”

CEO AIS : ทุกคนคงทราบดีว่าในยุค 3G เราช้ากว่าประเทศอื่นๆ ประมาณ 10 ปี แต่ในยุค 4G เรายังช้ากว่า นานาประเทศ ประมาณ 5 ปี แต่สำหรับในยุค 5G ประเทศไทยไม่ช้าไปกว่าใคร เรามีความรุดหน้าด้านเทคโนโลยีเทียบชั้นเครือข่าย 5G ระดับ World Class เท่าเทียมกับประเทศชั้นนำ อย่างประเทศจีนและเกาหลี และ AIS 5G จะเป็น Infrastructure ใหม่ของประเทศไทย

นวัฒกรรม AIS 5G ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกของโลกที่นำมาใช้งานจริงประกอบไปด้วย

  • 5G Dual Mode SA/NSA

 
ประเทศไทย เป็นกลุ่มแรกของโลกที่ใช้ เทคโนโลยี SA - Stand Alone และ NSA – None Stand Alone  Dual Mode ที่สามารถผสมผสานระหว่าง เครือข่าย 5G โดยเฉพาะ และเครือข่าย 5G ที่ทำงานร่วมกับ 4G พร้อมรับอนาคตในการใช้งาน 5G ในหลากหลายประโยชน์ในรูปแบบ Massive IoT และ Mission Critical

  • 5G Network Slicing

ครั้งแรกของเมืองไทย กับเทคโนโลยี 5G Network Slicing  ที่เสมือนมีหลากหลายเครือข่ายอยู่ในเครือข่ายเดียว (Multi Network In One Network) ทำให้เราสามารถออกแบบเครือข่ายแต่ละชั้นได้อย่างสอดคล้องและยืดหยุ่นกับลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบ แต่ละพื้นที่ ได้อย่างคล่องตัว เต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำธุรกิจของแต่ละองค์กรได้อย่างเต็มที่

AIS 5G Network Slicing เสมือนมีหลากหลายเครือข่ายอยู่ในเครือข่ายเดียว (Multi Network In One Network) ทำให้สามารถออกแบบเครือข่ายแต่ละชั้นได้อย่างยืดหยุ่นและสอดคล้องกับการใช้งานเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม แต่ละพื้นที่ได้เลย และเทคโนโลยี NSA/SA Dual Mode ที่สามารถผสาน 5G และ 4G ได้อย่างแนบเนียน มอบประสบการณ์ใช้งานดาต้าที่เหนือระดับและแตกต่าง ตลอดจน ได้วางเครือข่าย 5G ครอบคลุมเต็มทุกพื้นที่นิยมอุตสาหกรรมใน EEC ทั้งภาคพื้นดิน ทะเล และอากาศ พร้อมสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้าการลงทุนอย่างเต็มกำลัง

จากขีดความสามารถของเครือข่าย AIS 5G เมื่อผสมผสานเข้ากับคุณสมบัติของ 5G คือ  ความเร็ว แรง เสถียร, สนับสนุนและยกระดับการใช้งาน Multi Media Content สู่ VR หรือ AR, รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoTได้ในจำนวนมหาศาล และมีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็วจากความหน่วงต่ำ จึงยิ่งทำให้ 5G เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเสริมขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมหลักทั้งหมด ที่จะเป็นกลไกในการฟื้นฟูประเทศนั่นเอง ในแต่และภาคส่วนดังต่อไปนี้

(1) ภาคสาธารณสุข

AIS 5G ทำงานร่วมกับ Robot และ AI เข้าไปสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการ คัดกรองคนไข้ (Robot for Care), Telemedicine, AI Assisted CT SCAN และ Mobile Stroke Unit ตลอดช่วงระยะของการแพร่ระบาดรุนแรง จนถึงการผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตร (Strategic Partner) เพื่อพัฒนา Telemedicine อย่างต่อเนื่อง

(2) ภาคอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor -  EEC)

5G ในฐานะ ICT Infrastructure เพื่อเสริมขีดความสามารถในการบริหารจัดการในทุกๆส่วนงาน ประกอบด้วย

- ภาคพื้นดิน : กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อมตะ คอร์ปอเรชัน, สหพัฒนา อินเตอร์โฮลดิ้ง, กลุ่ม WHA ที่เริ่มทดลองสอบ 5G Smart City แล้ว

วิกรม อมตะ: ประเทศไทยต้องการ Engine ที่จะมาขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าหมาย ซึ่ง 5G คือคำตอบที่จะเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ และเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยให้ก้าวทันประเทศชั้นนำด้วยนวัตกรรม การที่เราร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่เมืองอมตะในอนาคต

วิชัย สหพัฒนาฯ : สหพัฒน์มีเป้าหมายในการผลิตสินค้าในราคาที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพ ลดต้นทุน และจัดการสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ ดังนั้นการมาของ 5G จะเป็นการติดจรวดให้กับธุรกิจให้เดินหน้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศด้วยให้มาลงทุนที่ไทยในราคาต้นทุนที่ต่ำลง

 
- ภาคทางอากาศ : บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น ในนาม กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ผู้ชนะการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่เริ่มทดลองทดสอบ 5G Smart Airport แล้ว

- ภาคทางทะเล : การท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่เริ่มทดลองทดสอบ 5G แล้ว ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง

เรืองศักดิ์ การท่าเรือฯ : การมีเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเครือข่ายความเร็วสูง จะช่วยสนับสนุนการทำงานของท่าเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ ตั้งแต่เรือเทียบท่าจนถึงส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า การที่การท่าเรือและเอไอเอส ร่วมประยุกต์ใช้ 5G ด้วยกัน จะทำให้ท่าเทียบเรือตู้สินค้าของไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(3) ภาคการค้าปลีก

AIS 5G อยู่ระหว่างการพัฒนา 5G Smart Retail ร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล ในฐานะหัวหอกสำคัญของภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของการใช้ชีวิตของคน ในฐานะการกระจายรายได้ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ รวมถึงมีอัตราการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของประเทศ

ญนน์ โภคทรัพย์ เซ็นทรัล รีเทล : ธุรกิจค้าปลีกและการให้บริการเป็นธุรกิจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เป็นแหล่งจ้างงานมากกว่า 2 ใน 3 ของการจ้างงานทั้งประเทศ โดยเซ็นทรัล รีเทล ก็ถือเป็นสัดส่วนหลักที่มีการจ้างงานในกลุ่มนี้ การที่เราร่วมกับเอไอเอส จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะการมาของ 5G จะก่อให้เกิดประสบการณ์ใหม่ และจะทำให้เซ็นทรัล รีเทล เป็นแพลตฟอร์มที่ Anywhere และ Real-time อย่างแท้จริง

กวิน บีทีเอส : เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งยกระดับสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย ใช้เวลาในสนามบินน้อยลง ซึ่งเทคโนโลยี 5G จากเอไอเอสจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นได้ รวมถึงบีทีเอสก็สามารถใช้เวลา maintenance น้อยลง เพราะระบบตรวจโดยเทคโนโลยีได้

(4) Multimedia ใหม่สร้าง Immersive Experience

5G Immersive Experience กับเทคโนโลยี AR/VR พร้อมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สร้างประสบการณ์ใหม่ของ Unseen Thailand ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึง คอนเทนต์ด้านการศึกษา และความบันเทิง พลิกโฉมการสร้างสรรค์คอนเทนท์ของ Creator สัญชาติไทย ด้วย Next Reality Studio - AR/VR Studio แห่งแรกของเมืองไทย

ฐาปนีย์ ททท. : เทคโนโลยี 5G จะช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ Virtual Reality ที่จะมีความสมจริงยิ่งขึ้น ดังนั้น ปีนี้การท่องเที่ยวและเอไอเอส จะนำต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของไทย ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี 5G VR พัฒนาเป็น Virtual Reality เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศจริงที่เมืองไทย

(5) Sustainability Development

5G กับการพัฒนา สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยผนึกพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้าง SDG Lab ในพื้นที่ 100 ไร่ ใน อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หรือสวนป๋วย ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต้นแบบการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมที่สุดแห่งหนึ่ง”

อ.ปริญญา มธ. : ธรรมศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการตั้ง SDG Lab ก็เพื่อจะทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่แห่งการทดลอง ทั้งเรื่องการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่ต้องดีขึ้น ผ่านการใช้พลังงานสะอาด อาหารปลอดภัย การที่มีเทคโนโลยี 5G จากเอไอเอส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยี นี่คือ SDG Lab ที่ธรรมศาสตร์ร่วมกับเอไอเอส

รวมทั้งประกาศแพลทฟอร์มการเรียนรู้ LearnDi จาก AIS Academy for Thais ขยายการสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาบุคลากรสู่แต่ละองค์กรทั่วประเทศ

 
สมชัย กล่าวในตอนท้ายว่า “ชาวเอไอเอส พร้อมอย่างยิ่งที่จะนำ AIS 5G ที่ดีที่สุด เข้ามาเป็นเส้นเลือดใหญ่ดิจิทัลหลักของประเทศไทยจากวันนี้เป็นต้นไป เพราะวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นบทเรียนสำคัญของคนไทยและทั่วโลกว่า ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะฉกฉวยโอกาสนั้นอย่างไร  โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น ถือว่ามีจุดแข็งซึ่งได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนว่า มีระบบสาธารณสุขที่เป็นเลิศ,มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม, เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นเมื่อนำดิจิทัลอย่าง 5G เข้าไปผสมผสานในกระบวนการที่เกี่ยวข้องของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น ย่อมทำให้เป็นพลังช่วยพลิกฟื้นประเทศไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตได้อย่างดีที่สุด ดังนั้นนอกจากการปรับตัวให้พร้อมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ผมยังอยากเชิญชวนทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมในภารกิจฟื้นฟูประเทศ ขานรับกับนโยบาย “รวมไทยสร้างชาติ” ของรัฐบาลไปด้วยกันอีกด้วย

COMMENTS