13 ธ.ค. 2562 3,882 265

AIS โชว์ทดสอบ 5G บนคลื่น 2600 MHz ชี้คลื่นเดิม 700 MHz ร่วมให้บริการได้ พร้อมดึง Bambam GOT7 ทดสอบ 5 ภาค

AIS โชว์ทดสอบ 5G บนคลื่น 2600 MHz ชี้คลื่นเดิม 700 MHz ร่วมให้บริการได้ พร้อมดึง Bambam GOT7 ทดสอบ 5 ภาค


Adslthailand ได้พูดคุยรายละเอียดกับ วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส ระบุว่า การทดสอบ 5G ภายในงานและทุกจุด 5 จังหวัดที่มาแสดงนั้นเป็นการทดสอบ 5G บนคลื่น 2600 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่ กสทช. อนุญาตให้ทาง AIS ได้ทดสอบในพื้นที่ๆกำหนด โดยคลื่น 2600 ที่ AIS ได้ทำการทดลองเป็นคลื่นที่ กสทช. จะทำการประมูลในอนาคต มีจำนวน 190 MHz

โดยการทดสอบ 5G ในครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการทำให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงประโยชน์ ของการเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วและแรงขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขีดความสามารถการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT และเครือข่ายที่ตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียร

ทั้งนี้ คลื่น 2600 เป็นคลื่นที่มีความกว้างของสัญญาณสูงแต่มีระยะสั้นกว่าคลื่นอื่นๆ ทาง AIS จึงมุ่งเน้นกับกลุ่มธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่

จากมุมมอง AIS จำนวนคลื่น 5G ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ เนื่องจากคลื่นอื่นๆ ที่มีในมือ AIS ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาให้บริการ 5G ได้ เช่นคลื่น 700 MHz ให้ความกว้างของสัญญาณ แต่ความกว้างของคลื่นที่ประมูลมาน้อย การทำให้ความเร็วย่อมน้อยลง ที่สำคัญการหาพันธมิตร 5G ร่วมกับ AIS ก่อนการประมูลถือเป็นจุดสำคัญของธุรกิจและส่งผลดีต่อภาคสังคม

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า “5G คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกโฉมสังคมไทย และยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไปอีกขั้น พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารให้กับผู้ใช้บริการโดยทั่วไป จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขีดความสามารถการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT และเครือข่ายที่ตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียร

AIS 5G ยกระดับประเทศสู่ Thailand 4.0 เริ่มจัดแสดงแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2562 – 3 มกราคม 2563 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ลานกิจกรรม Semi outdoor ชั้น G เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเครือข่าย คอยสาธิตและให้คำแนะนำตลอดทั้งงาน โดยมีมุมต่างๆ ด้านนวัตกรรม 5G ที่จัดแสดงในงาน “AIS 5G ที่ 1 ตัวจริง ทดสอบแล้วทั่วไทย” ประกอบด้วย

1) 5G Hologram 3 มิติ

ครั้งแรกของไทยกับการนำเทคโนโลยี 3D Hologram การสื่อสารระยะไกลแห่งอนาคต ที่สามารถถ่ายทอดภาพ 3 มิติ ได้แบบ 360 องศา มีความเสมือนจริงและเรียลไทม์ มาจัดแสดงให้ประชาชนได้สัมผัส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการประชุมธุรกิจ, การศึกษาทางไกล, การแพทย์, การเกษตร และงานด้านแฟชั่นและบันเทิง ตลอดจนการนำไปใช้พัฒนาเกม, แอนิเมชั่น 3 มิติ, AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality) และ MR (Mixed Reality) ที่ผู้ใช้อาจจะอยู่คนละพื้นที่ให้สามารถแชร์ไอเดียและพัฒนางานร่วมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเห็นภาพยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


2) 5G VDO Call

การทดลองใช้งานโทร 5G VDO Call ข้ามภูมิภาคแบบครบทุก 5 ภาคทั่วไทย ผ่านเครือข่าย 5G ด้วยสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะของเทคโนโลยี 5G ที่มีค่าความหน่วงต่ำ ทำให้มีการตอบสนองแบบเรียลไทม์ คมชัดและไม่สะดุด ซึ่งภาพจะมีความละเอียดสูงระดับ Full HD – 4K และสัญญาณเสียงที่คมชัดระดับ Ultra HD voice


3) 5G Remote Control Vehicle

สาธิตเทคโนโลยีการบังคับรถยนต์ไร้คนขับทางไกล ผ่านเครือข่าย 5G บริเวณลานหน้าสามย่านมิตรทาวน์ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเอไอเอส โดยเป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G ที่มีความเร็วสูง, ความหน่วงต่ำ และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ควบคุมรถไม่จำเป็นต้องอยู่ในตัวรถ แต่สามารถบังคับรถให้เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ตามต้องการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรม และการสัญจรในอนาคต

4) 5G Connected Drones

การสาธิตบังคับโดรนระยะไกล ระหว่างกรุงเทพฯ และเมืองโคราช จ.นครราชสีมา ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตผ่านเครือข่าย 5G บน Live Network แสดงแนวคิดการใช้งานโดรนในยุค 5G ที่ความเร็วสูงและความหน่วงต่ำ ซึ่งคนควบคุมไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับโดรน แต่สามารถควบคุมโดรนระยะทางไกลได้ผ่านเครือข่ายมือถือ และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ใช้งานได้ทันที ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย ทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติกส์, การเกษตร, ความปลอดภัยสาธารณะ, การกู้ภัย รวมถึงการนำไปใช้ควบคุมโดรนภายในเมืองอัจฉริยะ เพื่อใช้ในการเข้าไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ

5) 5G The Robotics

จัดแสดงแนวคิดหุ่นยนต์ ผ่านเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วสูงและความหน่วงต่ำ โดยประกอบไปด้วย 2 Use Cases คือ

5.1) 5G The Robotic, the future of store เป็นการแสดงแนวคิด ซูเปอร์มาร์เก็ตในอนาคต ที่ทำงานโดยหุ่นยนต์ ผ่านเทคโนโลยี 5G ทำให้หุ่นยนต์ประมวลผลได้แบบเรียลไทม์และมีความแม่นยำสูง จึงสามารถหยิบสินค้าได้ตรงตามออเดอร์ที่ลูกค้าต้องการสั่งซื้อ

5.2) 5G Smart Little Robot Companion หุ่นยนต์อัจฉริยะทำงานผ่าน 5G สามารถพูดคุยและตอบคำถามแก่ผู้มาใช้งาน ผ่านเทคโนโลยี 5G ช่วยให้จดจำการสั่งการ Smart Connected Devices และ การตอบสนองของหุ่นยนต์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดย Bannee และ Bookky เป็นหุ่นยนต์บรรณารักษ์ (Librarian-Bot) ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิบัติงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถสื่อสารกันเองและสื่อสารกับคนได้

นอกจากนี้ภายในงานทาง AIS ได้เชิญกันต์พิมุกต์ ภูวกุล หรือแบมแบม หนึ่งในสมาชิกวง GOT7 ร่วมการทดสอบการให้บริการ 5G กับแฟนคลับ 5G ภาค

COMMENTS