19 พ.ย. 2562 4,829 6

ครั้งแรกของโลก ดาวเทียม Kepler เน็ตความเร็วเกิน 120 Mbps บนความสูงระดับ LEO เร็วกว่าแบบเดิม 35,000 กิโลเมตร

ครั้งแรกของโลก ดาวเทียม Kepler เน็ตความเร็วเกิน 120 Mbps บนความสูงระดับ LEO เร็วกว่าแบบเดิม 35,000 กิโลเมตร


Kepler Communications ยืนยันว่า ตนเองเป็นผู้ให้บริการรายแรกของแถบอาร์กติกที่ประสบความสำเร็จในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยความเร็วที่มากกว่า 120 Mbps ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากต่อนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำการสำรวจและวิจัยในบริเวณนั้น

ตัวอย่างในการให้บริการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ณ บนเรือตัดน้ำแข็งของเยอรมัน Polarstern โดยที่ผ่านมา Download ความเร็วในการให้บริการ 38 Mbps และ Upload ความเร็วในการให้บริการ 120 Mbps ซึ่งเครื่องรับ-ส่งสัญญาณขนาดเล็ก Ku-band ขนาด 2.4 เมตร โดยคนในเรือลำดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นับร้อยชีวิต ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ มากถึง 19 ประเทศ ส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนี้ 12 เดือน

การเปิดให้บริการดาวเทียมที่มีแบนด์วิดท์สูงจากวงโคจรต่ำของโลก (LEO) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ส่งผลดีทำให้ทีมแบ่งปันไฟล์ข้อมูลการวิจัยขนาดใหญ่ระหว่างบนเรือกับสำนักงานที่อยู่บนฝั่ง

ซึ่งดาวเทียม Kepler อยู่ห่างจากพื้นโลกเพียง 575 กม. ซึ่งมีความเร็วแฝงที่ต่ำกว่าการใช้งานดาวเทียมอินเทอร์เน็ตทั่วไป เช่น ดาวเทียมเดิมที่เคยใช้งาน geostationary (GEO) อยู่ห่างจากพื้นโลกอยู่ที่ 35,000 กิโลเมตร

Mina Mitry ซีอีโอของ Kepler กล่าวว่า การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคนิคนี้ ช่วยให้ผู้ใช้บริการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลดข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลลงไปใน MOSAiC หลังจากนั้นก็จะทำการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้โดยในดาวเทียมที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ LEO

หากบริษัทประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมมากกว่า 2 ดวงขึ้นไปก็จะทำให้มีผู้ใช้งานสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า 100 เท่า ในบริเวณองศาที่ 85° N

สิ่งที่น่าสนใจของดาวเทียมดวงนี้ เป็นดาวเทียมที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานโทรคมนาคมอย่าง FCC ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2561 โดยเป็นกลุ่มดาวเทียม 140 NGSO satellites ใช้คลื่นความถี่ 10.7-12.7 GHz และ 14-14.5 GHz ใช้คลื่นความถี่ในระบบสื่อสาร Ku-band ในการสื่อสารข้อมูล

ดาวเทียมนี้ยังมีความสามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในอนาคต ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบดาวเทียมได้ในอนาคต

ข้อมูล  smartmaritimenetwork  dailymail  techcrunch  globenewswire

COMMENTS