29 ก.ค. 2562 10,281 194

เจาะความคืบหน้า Digital ID ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเราต้องก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว

เจาะความคืบหน้า Digital ID ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเราต้องก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ที่ผ่านมา มีอาชญากรรม ที่เกิดจากการยืนยันตัวตนไม่รัดกุม เนื่องจาก มีคนทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วก็มีผู้ไม่ประสงค์ดีนำบัตรประชาชนของเจ้าตัว ไปยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชี แล้วนำไปฟอกเงินและหลอกลวงชาวบ้าน โดยมีผู้นำบัตรประชาชนไปเปิดบัญชี แต่สามารถเปิดบัญชีได้ตามปกติ

เหตุการณ์นี้เกิดจาก ต่างหน่วยงาน ต่างทำการยืนยันตัวตน โดยไม่มีระบบกลางที่ตรวจสอบการยืนยันตัวตน ทำให้เกิดเป็นข้อผิดพลาดที่คนอื่นสามารถอ้างว่าเป็นตัวตนของเราได้ ดังนั้นจึงต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่ชัดเจน จึงมีการนำเอาการตรวจสอบตัวตน โดยนำดิจิตัลเข้ามาช่วย นั่นคือ Digital ID ระบบพิสูจน์ตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ มีการตรวจสอบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน โดยมีบริษัท National Digital ID (NDID) เป็นระบบพิสูจน์ตัวตนอิเล็กทรอนิกส์

ตามหลักแล้ว ถ้าระบบพร้อมสมบูรณ์ เราสามารถใช้ Digital ID ในการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมได้ อย่างเช่น เราสามารถเปิดบัญชีธนาคารได้โดยไม่ต้องไปที่สาขาธนาคาร ปกติเรามักจะมองว่าขั้นตอนยืนยันตัวตนตรงนี้ ยุ่งยาก แต่เพื่อการยืนยันตัวตน ก็เลยต้องมีการเซนต์สำเนาถูกต้อง มีการถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ทีนี้ พอไปธนาคารอื่น ก็ต้องไปยื่นเอกสารหลายแผ่น เหมือนธนาคารแรก แต่ถ้ามีการระบุตัวตนหรือลงทะเบียน Digital ID กับธนาคารแห่งหนึ่งไว้แล้ว การติดต่อธนาคารอื่นๆ ก็จะไม่ต้องใช้เอกสารเป็นกระดาษแล้ว ธนาคารเช็คกันเองได้เลย มีข้อมูลกลางในการตรวจสอบร่วมกันได้

เมื่อปี 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ ให้บริการยืนยันตัวตนของลูกค้า หรือการให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล อ้างอิง

ล่าสุดในงาน “Bangkok FinTech Fair 2019” มีการเปิดตัว “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” โดย บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) เป็นบริษัทตัวกลางเชื่อมระบบการยืนยันตัวตนดิจิทัลข้ามหน่วยงาน โดยความร่วมมือของสถาบันการเงินเอกชน และภาครัฐ  ทำให้ต่อไปนี้ ธนาคารสามารถให้บริการดิจิทัล เปิดบัญชีเงินฝาก ขอสินเชื่อ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปสาขา เพราะยืนยันตัวตนผ่านดิจิตัลได้แล้วนั่นเอง


ทีมงาน ADSLThailand
ได้สัมภาษณ์ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เราเห็นภาพว่า เริ่มต้น มีการนำมาใช้กับสถาบันการเงิน ธนาคาร และมีการนำระบบ e-KYC (electronic know your customer) เพื่อทำความรู้จักลูกค้า ซึ่งหลังจากภาคการเงินทำสำเร็จแล้ว ต่อไปก็ต่อยอดไปที่ประกันภัย สาธารณสุข โทรคมนาคม และการศึกษา

ดร.ศักดิ์ บอกว่า Digital ID มีการยืนยันตัวตน ตามนโยบายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขณะนี้มีธนาคารแห่งประเทศไทยที่เริ่มทดลองใช้ และขั้นตอนต่อไปคือ ธนาคารเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลร่วมกัน ซึ่ง Digital ID จะเริ่มใช้กับบริการเปิดบัญชีเงินฝาก ที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนลูกค้าข้ามธนาคาร ตรงนี้รอให้ธนาคารพัฒนาในการเชื่อมกันด้วย สำหรับข้อมูลการยืนยันตัวตน จัดเก็บข้อมูลลูกค้าด้วยระบบ blockchain โดย บริษัท NDID ภายใต้ควบคุมของรัฐ ตอนนี้กฎหมายกำลังจะผ่าน อดใจรอ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่ใช่กฎหมายที่บังคับใช้ได้ รอกฎหมายให้ครอบคลุมก่อน ราวสิ้นปี ถ้าได้ใช้คือต้นปีหน้า (พ.ศ. 2563) อีกเรื่องที่น่าจะต้องเข้มงวดคือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวประชาชน และเทคนิคด้านไอที บนระบบ Face ID และวิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวตน

ส่วนกรณีข่าว เงินสกุล Libra ของ Facebook นั้น เนื่องจากมีการใช้ Facebook ในการยืนยันตัวตนเป็น Digital ID ในไทยคงต้องรอเรื่องความชัดเจนในการยืนยันตัวตนด้วยบัญชี Facebook ก่อน แต่ขณะนี้ยังไม่ถือเป็นข้อตกลงหรือยอมรับในการนำมาใช้

อาจารย์ศักดิ์ ให้ความเห็นบน Facebook ว่า เรื่อง ID นั้น ถ้าใช้กันเยอะ จะทำให้ Facebook ID กลายเป็น Digital ID ของคนทั้งโลกโดยปริยายหรือเปล่า

เอาเป็นว่า ในไทย กำลังพัฒนา จะได้ใช้กันเร็วๆ นี้ รอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ มาดูความพร้อมในต่างประเทศกันบ้าง และปิดท้ายด้วยตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศต่างๆ ว่าเขาเอาไปช่วยเรื่องอะไรบ้าง

ความพร้อมในต่างประเทศ


Digital iD™ จาก Australia Post

บริการ Digital iD ของ Australia Post ได้รับการรับรองจาก TDIF โดยเป็นการรับรองว่าเป็นผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัวที่เชื่อถือได้ ภายใต้ Trusted Digital Identity Framework (TDIF) ของรัฐบาลออสเตรเลีย

ซึ่งเรื่องที่สำคัญที่สุดของการยืนยันตัวตนก็คือเรื่องความปลอดภัยและน่าเชื่อถือนี่แหล่ะครับ โดย TDIF กำหนดกฎเกณฑ์และข้อกำหนดสำหรับผู้ที่เข้าร่วมระบบ Digital Identity และรู้ดีว่าทุกคนคาดหวังด้านความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และซีเรียสที่สุดกับการฉ้อโกงของผู้ใช้ ระบบถูกออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการยืนยันพิสูจน์ตัวตนสอดคล้องกัน และมีความปลอดภัยสูงสุด

จุดที่สำคัญที่สุดคือ มอบทางเลือกให้ชาวออสเตรเลีย ในการเลือกและควบคุมว่าใครเป็นผู้แบ่งปันข้อมูลระบุตัวตน ตามคำแนะนำของสถาบันการเงินที่กังวลเรื่องความปลอดภัย

รายละเอียด

Cayman (หมู่เกาะเคย์แมน หนึ่งในดินแดนเครือจักรภพ) เตรียมเปิดให้บริการระบบยืนยันตัวตนผ่าน National ID ในปี 2020

รัฐบาลอนุมัติระบบยืนยันตัวตน National Identification System โดย Joey Hew รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Infrastructure and Commerce ระบุว่าอาจจะได้ใช้ช่วงกลางปี 2020 โดยแผนของเขามองว่า อยากให้ Cayman มีระบบ ID card เพียงระบบเดียว

โดยข้อมูลในบัตรที่มีอยู่ ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ จะถูกจัดระเบียบข้อมูลให้มีเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ National ID เท่านั้น โดยไม่ต้องออกบัตรใหม่ ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้่งกำลังพิจารณาว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ กฎหมายต้องรองรับว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบ ID Card เพื่อใช้ในการโหวต

อ้างอิง

ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้า ประชาชน 105 ล้านคน จะได้รับการจัดระเบียบบัตรประจำตัวประชาชนในระบบ National ID

เรื่องชาวต่างด้าวนี่เป็นเรื่องยากในการยืนยันตัวตน แต่ระบบการยืนยันตัวตน จะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ สามารถยืนยันตัวตนได้ โดยรัฐบาลกำลังเตรียมการสำหรับเทคโนโลยีระบบ Philippine Identification System (PhilSys)

TIMELINE:

6 สิงหาคม 2018: ประธานาธิบดี Duterte ลงนามอนุญาตให้กฎหมายรองรับระบบ National ID เพื่อให้ชาวฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ สามารถลงทะเบียนได้ที่สถานฑูต หรือสำนักงานกงศุล

มกราคม ถึง ธันวาคม 2019 (Phase 1): จัดซื้อ ทดสอบ โครงสร้างเทคโนโลยี พัฒนาองค์กร PhilSys Registry Office

มกราคม ถึง มิถุนายน 2020 (Phase 2): พัฒนาและเริ่มดำเนินงานเต็มรูปแบบ ในแกนหลักของเทคโนโลยี และพัฒนาเพื่อรองรับการลงทะเบียนจำนวนมาก

กรกฎาคม 2020 ถึงมิถุนายน 2022 (Phase 3): ระบบลงทะเบียนแบบ Mass registration หมายถึง รองรับการลงทะเบียนในปริมาณมหาศาล 105,000,000 ราย รวมไปถึงคนต่างด้าว และ OFW

โดย National ID ประกอบไปด้วย:

- Biometrics (ลายนิ้วมือ ม่านตา และสแกนใบหน้า), ชื่อ - นามสกุลจริง, เพศ, วันเกิด, สถานที่เกิด, กรุ๊ปเลือด และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน

- ใน ID ระบุว่าผู้ถือบัตร เป็นชาวฟิลิปปินส์ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือคนต่างด้าว

อ้างอิง

การประยุกต์และการนำไปใช้

เครือข่ายมือถือนำมาใช้จัดระเบียบซิมการ์ดของผู้ใช้

เครือข่ายมือถือ SK Telecom และ Deutsche Telekom ได้สร้างแพล็ตฟอร์มการยืนยันตัวตนผ่าน Blockchain Identity Platform โดยวิธีการของ SKT ก็คือใช้การพิสูจน์ตัวตนดิจิตัลผ่าน blockchain-based digital identification เพื่อบ่งชี้การยืนยันความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้ยืนยันการล็อกอินทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเน้นใช้กับการลงทะเบียนยืนยันซิมการ์ดมือถือ Mobile Blockchain Identification

แต่การลงทะเบียนยืนยันตัวตนของคนในบ้านตัวเองนั้น ไม่ยากเท่ากับการยืนยันตัวตนของนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ดังนั้นจึงมีการนำมาใช้ในการลงทะเบียนการโรมมิ่งซิมกับโครงข่ายต่างประเทศของนักท่องเที่ยวด้วย โดยเชื่อมโยงกับพาสสปอร์ต ซึ่งเชื่อว่า สามารถระบุตัวตนและยืนยันพิสูจน์ตัวตนนักท่องเที่ยวโดยใช้ระบบนี้ได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยี blockchain มาเชื่อมกับระบบ  digital ID เพื่อใช้รับรองความถูกต้องในการทำธุรกรรมต่างๆ

แพล็ตฟอร์มนี้จะช่วยให้สามารถจัดเก็บ ID ทั้งหมดรวมศูนย์ในที่เดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกและยืนยันความปลอดภัยสำหรับ e-commerce การทำธุรกรรม และการให้บริการของเอกชน ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล

การที่ผู้ให้บริการนำ blockchain ID มาใช้ในการยืนยันตัวตนนี้ ช่วยให้การตรวจสอบนักท่องเที่ยวในเกาหลีใต้และเยอรมันมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น การให้บริการดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการให้บริการผ่านระบบ 5G ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมระบบการรักษาความปลอดภัยกับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ

Microsoft เตรียมพัฒนาระบบ  Digital ID โดยใช้เทคโนโลยี Bitcoin-based ID verification system

ไมโครซอฟต์ซุ่มพัฒนา โดยเลือกใช้เทคโนโลยี Bitcoin ซึ่งอยู่ในแพล็ตฟอร์มของ blockchain โดยใช้การยืนยันตัวตนแบบ Decentralized IDentification (DID) ทำให้ผู้ใช้ปลอดภัยในการใช้งานออนไลน์ โดยข้อมูลส่วนบุคคลจะจัดเก็บโดยการเข้ารหัสในฐานข้อมูล


ลองจินตนาการดูว่า เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบพนักงานใหม่ได้จากการกดปุ่ม single virtual button เพียงปุ่มเดียว หรือพนักงานธนาคารสามารถยืนยันตัวตนผู้กู้เงินได้โดยไม่ต้องขอเอกสารยืนยันตัวตน การยืนยันตัวตนต้องไม่ทำให้ผู้ถูกพิสูจน์ตัวตนรู้สึกอึดอัดและไม่ปลอดภัย หรือรุกล้ำความเป็นส่วนตัว ควรจะแฝงเข้าไปในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้เลย เพราะพวกเขาทำกิจกรรมต่างๆ บนโลกดิจิตัลอยู่แล้ว

ระบบ blockchain-based ID system อ้างอิงบนพื้นฐานของ Digital Wallet ที่มีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงิน ถ้าตามหลักการของ Bitcoin โดยปกติแล้ว Digital Wallet นั้นถูกจัดเก็บผ่านสกุลเงิน bitcoin)

มีหลายเวนเดอร์ที่พัฒนาและทดสอบ DID โดยไมโครซอฟต์ พัฒนาโครงการ ION (Identity Overlay Network) เป็น open-source ที่รันบน Layer 2 ส่วนบนสุดของ Bitcoin blockchain

เช่นเดียวกับทาง Facebook  ที่เชื่อว่าระบบ  digital ID ที่ดีนั้น  ผู้ใช้งานควรจะเป็นผู้เก็บข้อมูลต่างๆ เอาไว้เอง โดยที่ผู้ใช้งาน Facebook สามารถเลือกได้ว่าจะให้อุปกรณ์ตัวใดเปิดหรือตัวใดปิด หรืออนุญาตให้เข้าถึงได้ลึกเท่าใด โดยที่ไม่ผ่านคนกลางอีกต่อไป

Ott Vatter ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโครงการ e-Residency ของเอสโตเนีย

พอผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่ง เขามีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้จาก e-residency ให้กับผู้อยู่อาศัยในเอสโตเนีย โดยเขามองว่า จำนวนผู้อยู่อาศัยนั้นไม่สำคัญเท่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งในโครงการ e-Residency programme มีการแบ่งปันการอยู่ร่วมกันและผลประโยชน์ที่พึ่งพาอาศัยกันของผู้อยู่อาศัย โดยมองที่เศรษฐกิจโดยรวม ซึ่ง e-residents ของเอสโตเนีย มีจำนวนกว่า 6,000 ธุรกิจ ช่วงสิ้นปี 2018 ทำกำไรให้กับเอสโตเนียมากถึง 10 ล้านยูโร

Ott Vatter เชื่อว่า ระบบ  Digital ID ช่วยลดปัญหาการฟอกเงินได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเอกสารทุกชิ้นที่เป็นการยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิตอลทั้งหมด โดยเอกสารทุกชิ้นต้องได้รับการเข้ารหัสทั้งหมด โดยเฉพาะการซื้อขายผ่าน digital ID เช่น การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือการซื้อขายเงินตรา ซึ่งต้องทำตามกฎ KYC และ AML  

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ AI ในด้านการธนาคาร และผลกระทบ ย่อมเกิดขึ้นกับทุกประเทศที่เริ่มต้นใช้งานจริง ทั้งนี้ ขึ้นกับนโยบายและการควบคุมกำกับของภาครัฐเองตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำคัญคือระบบไอทีจำเป็นต้องแม่นยำในการตรวจสอบและปกป้องข้อมูลแล้ว ด้านกฎหมายเพื่อกำกับการใช้งานยังมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเป็นปัจจัยหลักเช่นเดียวกัน

 

ประโยชน์ของการประยุกตร์ใช้ AI ในด้านการธนาคาร และผลกระทบ


ธนาคารเอา AI ไปใช้เรื่องอะไรมากที่สุด

6G จะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Mobile AI Application และการใช้ AI ในการควบคุมเครือข่าย 6G ด้วย รายละเอียด

อ้างอิง เพิ่มเติม

Facebook Sak Segkhoonthod

money2know
digitalid.or.th
techsauce.co
techsauce.co
youtube
brandinside.asia
etda.or.th
digitalid.or.th
prachachat
mhs.gov.au
blocktribune
cointelegraph
computerworld

news.err.ee

COMMENTS