16 ก.ค. 2562 2,163 97

เช็คกำไรนอกประเทศ dtac ส่งกำไร 6เดือนปี 2562 ให้ Telenor ทั้งสิ้น 39,389 ล้านบาท ระบบเติมเงินฟื้นรอบ 4ปี

เช็คกำไรนอกประเทศ dtac ส่งกำไร 6เดือนปี 2562 ให้ Telenor ทั้งสิ้น 39,389 ล้านบาท ระบบเติมเงินฟื้นรอบ 4ปี

นอกจากนี้ dtac ของประเทศไทย และประเทศพม่า ถือว่าเป็นฐานรายได้ในอนาคต ส่วนในประเทศบังคลาเทศมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านราย

ส่วนการลงทุนโดยการเข้าไปถือครองหุ้นใน Axiata ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของเอเชีย ได้ผ่านการอนุญาตจากภาครัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2562

- สิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย
สำหรับยุทธศาสตร์ของทาง dtac คือการสร้างความแข็งแกร่งทางด้านโครงข่ายและการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้บริการ ซึ่งเริ่มเห็นผลแล้ว ทั้งรายได้จากการผู้ใช้บริการและรายได้ที่เกิดจากปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น มากกว่า 2 % เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และที่สำคัญเริ่มเห็นรายได้จากการให้บริการระบบเติมเงิน ( prepaid ) มีอัตราที่เติบโตขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา

แต่รายได้จากการให้บริการลดลง 4% เปรียบเทียบรายได้จากไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือ Opex เพิ่มขึ้น 4% เนื่องการค่าดำเนินการการต่างๆและค่าพลังงาน (เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน) มีอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังต้นทุนเรื่องค่าเช่าโครงข่ายจาก cat หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มูลค่า 99 ล้าน NOK ลดลง 13%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเช่าใช้ความจุโครงข่าย 2300 MHz ซึ่งปัจจุบันติดตั้ง 4G ไปแล้วเป็นจำนวน 16,000 แห่ง ล่าสุดเดือนมิถุนายน 2562 ทาง dtac ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 2x10 MHz เพื่อให้บริการ 5G ในอนาคต และปรับปรุงโครงข่ายให้กว้างขวางขึ้น

การลงทุนส่วนใหญ่ทั้ง 3G และ 4G เพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มีความหนาแน่น

สรุปรายได้ dtac ที่ส่งให้ทาง telenor

dtac ทำรายได้ในกลุ่ม Telenor ปี 2562 ในไตรมาส 2 ของกลุ่มด้วยรายได้รวม 5.541 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 20,045 ล้านบาท

- EBITDA อยู่ที่ 1.797 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 6,500 ล้านบาท

- เงินลงทุนระบบ dtac อยู่ที่ 637 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 2,304 ล้านบาท

หากรวมรายได้จากทั้งไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2562

dtac ทำรายได้ในกลุ่ม Telenor ปี 2562 ในไตรมาส 2 ของกลุ่มด้วยรายได้รวม 10888 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 39,389 ล้านบาท

- EBITDA อยู่ที่ 3474 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 12,567 ล้านบาท

- เงินลงทุนระบบ dtac อยู่ที่ 1820 พันล้านโครนนอร์เวย์ (NOK) หรือเทียบเป็นค่าเงินประเทศไทย 6,584 ล้านบาท

( เทียบค่าเงิน NOK ในวันที่ 16/7/2562 เวลา 14.00 น. )

สรุปทั้งปี dtac หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้รายงานผลประกอบการกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2/2562 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จากไตรมาสก่อน

ณ สิ้นไตรมาส 2/2562 จำนวนผู้ใช้บริการรวมเท่ากับ 20.6 ล้านเลขหมาย โดยมีจำนวนลูกค้าลดลงเพียงประมาณ 94,000 เลขหมายในไตรมาสนี้ ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2559 ดีแทคยังติดตั้งสถานีฐานบนเครือข่าย 2300 MHz เพิ่มเติมอีกจำนวนประมาณ 600 สถานี เพิ่มจำนวนสถานีรวมบนเครือข่าย 2300 MHz เป็นประมาณ 16,000 สถานี นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งสถานีฐานบนเครือข่าย 2100 MHz เพิ่มอีกจำนวน 348 สถานี เพื่อขยายความครอบคลุมของสัญญาณในพื้นที่การใช้งานปัจจุบัน

รายได้จากการให้บริการไม่รวม IC สำหรับไตรมาส 2/2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อน สาเหตุหลักมาจากการยกเลิกแพ็กเกจระบบเติมเงินที่ให้บริการข้อมูลแบบไม่จำกัด และการออกแพ็กเกจที่ให้บริการข้อมูลแบบจำกัดและมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย รวมถึงกระแสรายได้ที่แข็งแกร่ง และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของบริการรายเดือน สำหรับ EBITDA ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการ ต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ลดลง และการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ดี สำหรับ EBITDA margin (คำนวณโดยหักรายได้จาก CAT ภายใต้สัญญาเช่าสินทรัพย์สัมปทาน และรายได้ค่าเช่าเครือข่ายจาก TOT จากตัวหาร) อยู่ที่ร้อยละ 36.9 เพิ่มขึ้น 2.2 จุด จากไตรมาสก่อน ส่วน CAPEX ลดลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.3 ของรายได้จากการให้บริการ

กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2/2562 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จากไตรมาสก่อน เนื่องมาจาก EBITDA ที่ดีขึ้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (EBITDA – CAPEX) สำหรับไตรมาส 2/2562 เป็นบวกอยู่ที่ 4.2 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 1.8 เท่า เนื่องมาจากการชำระค่าตอบแทนเพื่อการระงับข้อพิพาทให้แก่ CAT และการลงทุนในเครือข่ายเป็นหลัก

ที่มา telenor

COMMENTS